เพิ่งเห็นถ่องแท้ในความเป็นนัก ‘บิดเบี้ยว’ วิชาการของ ไชยันต์ ไชยพร ก็ตอนนี้ละ พยายามที่จะบอกว่าการอภิปรายวิชา ‘แก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๐๑’ ให้ ส.ส.- สว.ฟังในสภาเมื่อวาน เป็นหลักการ ‘คณาธิปไตย’ แทรกในประชาธิปไตย
และ “ให้มีราชาธิปไตยเพียงแต่ในนาม” อันนี้ก็ถูกต้องแล้วไง ในเมื่อ ‘ราชา’ จักต้องอยู่ภายใต้ ‘รัฐธรรมนูญ’ ความเป็นประชาชนผู้มีอิสรภาพและความเสมอภาคโดยสมบูรณ์ จึงจะเกิดได้ ไชยันต์กำลังบิดเบือนระบบตัวแทนราษฎรโดยการเลือกตั้ง ให้เป็นคณาธิปไตย
เขาเขียนแซะฐานของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนซึ่งกำลังอยู่ในการพิจารณาของสภา ว่า “หลักการและเหตุผลของร่างฯ นี้ คือให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด” อ้าว ก็ใช่สิ หรือไชยันต์ได้ซึมซับไปแล้ว ว่าขณะนี้ประเทศเป็น ‘สมบูรณาญาสิทธิราช’
อ่านที่เขาเขียนแล้วงง แม่งเอาข้างไหนแน่ ที่ว่า “นายกรัฐมนตรีจึงยากที่จะแยกออกจากเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร” ก็นี่คือความฝันอันสูงส่งของการเป็นประชาธิปไตย ถ้าได้เสียงข้างมากแล้วไม่ได้เป็นนายกฯ แล้วจะไปแข่งเลือกตั้งหาพระแสงของ้าวอันใด
โชคดีที่เรียนจบก่อนไชยันต์สอนวิชารัฐศาสตร์นานมาก ไม่งั้นคงได้แต่ใบ้เบื้อ คิดไม่ออกว่าเขารู้จักหลักตรรกวิทยาและความสมเหตุสมผลหรือเปล่า อ้างถึง ‘ดีพีเอ็ม’ หรือ Democratic Parliamentary Monarchy ที่มีนักรัฐศาสตร์เสนอไว้ในกรอบ Constitutional Monarchy
“เพื่อทำให้ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ...มีความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจนมากขึ้น โดยจำกัดพระราชอำนาจหรือแทบจะไม่ให้มีพระราชอำนาจหลงเหลืออยู่” โดยให้ “พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้เกิดความชอบธรรมในฐานะประมุขของรัฐเท่านั้น”
ก็ใช่แล้วสิ ยังจะดันแถอีกว่า “ภาษาอังกฤษว่า Monarchy ซึ่งมาจาก mono+archy ความหมายตรงตัวคือ การปกครองโดยเอกบุคคล หาได้จำเป็นว่าจะต้องหมายถึงพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ยังสามารถหมายถึงประธานาธิิบดีได้ด้วย”
นี่ขืนพูดอีกก็ถูกอิฐ หรือโดนอัด เพราะความแตกต่างระหว่างกษัตริย์ กับประธานาธิบดีอยู่ที่ ประชาชนไม่มีโอกาสได้เลือกตัวกษัตริย์ เหมือนเลือกตัวประธานาธิบดีไง ปัดธ่อ