Thanapol Eawsakul
12h ·
เหตุเกิดที่ห้อง 802 ศาลแพ่ง รัชดา
.......
ภาพที่เห็นคืออาจารย์ Richard Mead นักวิชาการ จิตรกรชาวอังกฤษ สามีของอาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด กำลังเข็นรถเข็นให้กับอาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด (2489- ปัจจุบัน อายุ 75 ปี) อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ภายหลังจากศาลแพ่งพิจารณาคดี ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต หลานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ต่ออาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ในฐานะที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” ที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์เมื่อปี 2552
(เขียนไม่ผิดหรอกครับปี 2552 หรือ 12 ปีที่แล้ว ตั้งแต่อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ยังรับราชการอยู่ ร่วมกับจำเลยอีก 4 คน และ 1 นิติบุคคล)
ในที่นี้ต้องยันทึกไว้ด้วยว่าวิทยานิพนธ์ดังกล่าวบัณฑิตวิทยาลัย ของจุฬาเองได้ยกย่องว่าเป็น "วิทยานิพนธ์ดีมาก"
ไม่เพีบงแต่โดน ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านในเดือนมีนาคม 2564 เท่านั้น ก่อนหน้าในเดือนมกราคม 2564 ศิษย์เก่าจุฬาฯ นำโดย นันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ผู้บริหารจุฬาฯ ตั้งกรรมการสอบสวน จนทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ลงนามใน "คำสั่งลับ" แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีวิทยานิพนธ์ของณัฐพล
แน่นอนวาในฐานะทีปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ก็ต้องโดนสอบสวนด้วยเช่นกัน
กระบวนการฟ้องร้อง และตั้งกรรมการสอบสวนนั้น มีไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ร่วมคณะของอาจารย์กุลลดา อยู่เบื้องหลังดังปรากฎในคำฟ้องของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต และคำสัมภาษณ์ของไชยันต์ ไชยพร เอง
ดู
จุฬาฯ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง “วิทยานิพนธ์ที่ถูกปกปิด” หลัง ไชยันต์ ไชยพร ตรวจพบความคลาดเคลื่อนที่เชิงอรรถ
https://www.bbc.com/thai/thailand-56252675
กระบวนการสอบสวนของจุฬานั้นมีความสำคัญมากเพราะถ้าตัดสินว่า "ผิด" ก็จะนำไปสู่การลงโทษในคดีที่ถูกฟ้องร้องในศาลต่อไป ซึ่งเป็นเกมที่ไชยันต์ ไชยพร ได้วางเอาไว้แล้ว
สรุปคืออาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ในวัย 75 ปี ต้องมี 2 คดีต่อเนื่องกันคือ
1. ตดีที่เป็นจำเลยร่วม ที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 50 ล้าน
2. คดีที่จุฬาตั้งกรรมการสอบจากการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2552
สำหรับผู้ที่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลก็จะทราบดีว่ามันเสียทั้งเงินทอง เวลา พลังงาน และสุขภาพจิตเพียงใด
คำถามคือคณะผู้บริหารจุฬาที่มี ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ปล่อยให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขั้นได้อย่างไร
หรือคุณคือผู้สมรู้ร่วมคิดให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น
แถลงการณ์สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
— สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ (@Smopolscicu) November 9, 2021
กรณี รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ถูกสั่งฟ้องร่วมในกรณีวิทยานิพนธ์ของ ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง
ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
-----------------#จุฬาฯต้องปกป้องเสรีภาพและมาตรฐานทางวิชาการ pic.twitter.com/UhWPcJOAzc
อาจารย์ Richard Mead นักวิชาการ จิตกรชื่อดังชาวอังกฤษ มาให้กำลังใจภรรยาของท่าน--อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ซึ่งขึ้นศาลเช้านี้
— Sa-nguan Khumrungroj (劉振廷) (@ZhentingLiu) November 9, 2021
(ภาพ:สงวน คุ้มรุ่งโรจน์) pic.twitter.com/QChYP9lkoB
สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ สื่อมวลชนเผยแพร่ภาพ รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ระหว่างขึ้นศาล เธอเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของ ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง
— Wasinee P. l workpointTODAY (@WPabuprapap) November 9, 2021
ถูกฟ้องว่าเป็นตัวการร่วมกระทำละเมิดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ในวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อมากลายเป็นหนังสือ ‘ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรีย์’ pic.twitter.com/a9RBllmGRb
......เช้านี้ รศ.ดร.กุลลดา ร่อนคำแถลง ระบุคดีที่เธอถูกกล่าวหานับเป็นคดีที่ “ท้าทายต่อหลักการของเสรีภาพในการแสดงออก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพทางวิชาการ”
— Wasinee P. l workpointTODAY (@WPabuprapap) November 9, 2021
เรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับรองหลักการดังกล่าวและก้าวมามีบทบาทในการปกป้องเธอซึ่งทำหน้าที่อันชอบธรรมตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย pic.twitter.com/IUGEh1XC4H
ฟ้าเดียวกัน
20h ·
คำแถลง
รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
จำเลยคนที่ 2
—
แถลงการณ์จาก
อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ดิฉันมีความเสียใจที่ต้องตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของ ณัฐพล ใจจริง
คดีนี้แยกเป็นสองส่วน
คือส่วนแรกที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ ซึ่งดิฉันมีบทบาทเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
และส่วนที่สองคือ หนังสืออันเป็นผลผลิตของวิทยานิพนธ์ ซึ่งดิฉันไม่มีบทบาทใดๆ ทั้งสิ้น
การดำเนินคดีในส่วนแรก เป็นความท้าทายต่อหลักการของเสรีภาพทางวิชาการ การฟ้องดำเนินคดีดิฉันซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นการละเมิดหลักการทั้งสองและย่อมมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวงการวิชาการในอนาคตด้วย
คดีนี้ จึงเป็นการต่อสู้เพื่อรักษาหลักการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งมีหลักการเป็นสากลว่า ผลผลิตของวิทยานิพนธ์ย่อมเป็นความรับผิดชอบของผู้ทำวิทยานิพนธ์นั้น
คณะกรรมการผู้ทรงวุฒิได้ใช้เวลาตรวจสอบวิทยานิพนธ์แล้ว และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วิทยานิพนธ์สอบผ่าน และวิทยานิพนธ์ดีมาก ซึ่งเป็นงานวิชาการที่เปิดให้มีการโต้เถียงได้โดยเสรี
หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นสถาบันวิชาการในระดับสากล ก็ควรต้องรับรองหลักการดังกล่าวอันเกิดขึ้นภายในสถาบันของตนด้วย และควรต้องมีบทบาทในการปกป้องดิฉันซึ่งทำหน้าที่อันชอบธรรมตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย
แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้ยอมรับหรือกระทำตามหลักการที่มีความเป็นสากลนี้ และไม่ได้ดำเนินการปกป้องดิฉันในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งทำหน้าที่ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยอย่างที่ควร แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนบทบาทของดิฉันในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาดังกล่าว
และในทางตรงกันข้าม ดิฉันกลับได้รับการสนับสนุน กำลังใจ ไมตรีจิต และความช่วยเหลือจากอาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทน
ซึ่งดิฉันของขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วย"
9 พฤศจิกายน 2564