นักเรียนไทยโพ้นทะเล - Thai Students Overseas
18h ·
โทรเลขเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 วันที่ 19 ตุลาคม 2519
ดิน บัวแดง แปล, วณิ(ชช)พก เรียบเรียง เอกสารต้นฉบับจากแฟ้ม 221INVA/2565 ของหอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส (Archives diplomatiques de la Courneuve)
"การสนทนาครั้งนี้ พระองค์จงใจให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเป็นหลัก พระองค์ทรงสาธยายที่มาของการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการเล่าสถานการณ์ของประเทศอันมีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน กล่าวคือ พวกคอมมิวนิสต์ใช้ประโยชน์จากการสมรู้ร่วมคิดของคนพวกหนึ่ง ความเพิกเฉยและความไร้ความสามารถของคนอีกพวกหนึ่ง แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่ง พวกเขาปลุกปั่นให้รัฐแตกสลายเพื่อที่จะยึดอำนาจรัฐ"
"การเคลื่อนไหวของเหล่านักศึกษาเป็นเรื่องที่มีนัยยะสำคัญยิ่ง เมื่อสามปีที่แล้วพวกเขาเคลื่อนไหวด้วยความมุ่งหวังที่จะทำเพื่อส่วนรวม บทบาทของพวกเขาสำคัญ อีกทั้งผลลัพธ์จากบทบาทนั้นก็เป็นที่ยอมรับ แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็ถูกกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายครอบงำและชักใย คนพวกนี้ฉกฉวยประโยชน์จากความไร้ประสบการณ์และความไม่ประสาของนักศึกษา และผลักดันพวกเขาอย่างต่อเนื่องโดยไม่เห็นอกเห็นใจ นักศึกษาจึงต้องกระทำกิจที่ไม่สามารถทำและไม่มีวันที่นักศึกษาเองจะมีความสามารถที่จะทำได้"
"การปฏิบัติภารกิจของทหารนั้นเป็นไปอย่างไม่เสียเลือดเนื้อ แม้ว่าจะต้องมีการจับกุมก็ตาม หากนี่เป็นประเทศอื่น จะต้องมีการประหัตประหารชีวิตคนจำนวนมากจึงจะสถาปนาและรักษาอำนาจไว้ได้ การแสดงออกของต่างประเทศแสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจผิด อารมณ์ความรู้สึกมากมายที่เกิดจากเหตุการณ์อันน่าสลดในวันที่ 6 ตุลาคมนั้นมักบดบังความเป็นจริง กษัตริย์ทรงหวังว่าต่างประเทศจะติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ด้วยความเป็นกลางและตัดสินทุกการกระทำด้วยความเห็นอกเห็นใจ"
"ตลอดการสนทนาเป็นภาษาฝรั่งเศสเกือบหนึ่งชั่วโมง กษัตริย์ดูจะมีใจจดจ่อที่จะเน้นย้ำเรื่องความชอบธรรมของการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้นสู่อำนาจ นอกจากนี้ พระองค์ทรงคาดการณ์ด้วยว่าทัศนะของต่างประเทศซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไม่เห็นด้วยนั้น จะเป็นผลเสียต่อประเทศไทย พระองค์ทรงเชื่อในจุดยืนนี้ที่ตรัสถึงจริงๆ และพยายามจะโน้มน้าวให้ผมเชื่อด้วย"
https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/.../french.../
โทรเลขเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 วันที่ 19 ตุลาคม 2519
Posted on November 9, 2021
Thai Students Overseas
กรุงเทพ, วันที่ 21 ตุลาคม 1976
ได้รับวันที่ 22 ตุลาคม เวลา 10.48 น.
ที่ 1332/1340
เรื่อง สนทนากับกษัตริย์
ผมได้เข้าเฝ้ากษัตริย์และราชินีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ถือเป็นการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ผมได้ทำเรื่องขอเข้าเฝ้าฯ ตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนักตั้งแต่เกือบสามเดือนก่อน แต่ไม่ได้รับอนุมัติเพราะองค์อธิปัตย์ทั้งสองเสด็จฯ ออกนอกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม
ก่อนหน้านี้ ผมเคยสนทนาแต่เรื่องทั่วไปกับพระองค์ แต่การสนทนาครั้งนี้ พระองค์จงใจให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเป็นหลัก พระองค์ทรงสาธยายที่มาของการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการเล่าสถานการณ์ของประเทศอันมีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน กล่าวคือ พวกคอมมิวนิสต์ใช้ประโยชน์จากการสมรู้ร่วมคิดของคนพวกหนึ่ง ความเพิกเฉยและความไร้ความสามารถของคนอีกพวกหนึ่ง แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่ง พวกเขาปลุกปั่นให้รัฐแตกสลายเพื่อที่จะยึดอำนาจรัฐ
การเคลื่อนไหวของเหล่านักศึกษาเป็นเรื่องที่มีนัยยะสำคัญยิ่ง เมื่อสามปีที่แล้วพวกเขาเคลื่อนไหวด้วยความมุ่งหวังที่จะทำเพื่อส่วนรวม บทบาทของพวกเขาสำคัญ อีกทั้งผลลัพธ์จากบทบาทนั้นก็เป็นที่ยอมรับ แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็ถูกกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายครอบงำและชักใย คนพวกนี้ฉกฉวยประโยชน์จากความไร้ประสบการณ์และความไม่ประสาของนักศึกษา และผลักดันพวกเขาอย่างต่อเนื่องโดยไม่เห็นอกเห็นใจ นักศึกษาจึงต้องกระทำกิจที่ไม่สามารถทำและไม่มีวันที่นักศึกษาเองจะมีความสามารถที่จะทำได้
พวกแอคติวิสต์เป็นเพียงส่วนน้อยในสังคม หลักฐานคือพวกเขาไม่มีผลงานในเชิงรูปธรรม ความเห็นของสาธารณะไม่ได้สนับสนุนพวกเขา อีกทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์นี้อย่างชัดเจน การปลุกปั่นทั้งหลายนั้นมิได้มีผลใดๆ แต่เป็นไปเพื่อสร้างความปั่นป่วนและยุยงให้เกิดการปะทะรุนแรงเท่านั้น
ภายในรัฐบาลเองก็มีบางพวกที่จงใจฉวยโอกาสจากสถานการณ์นี้เพื่อทำให้รัฐสั่นสะเทือนและทำให้การงานของสถาบันต่างๆ ที่ประชาชนชาวไทยผูกพันอย่างลึกซึ้งเป็นอัมพาต ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องยุติสถานการณ์ดังกล่าว การปฏิบัติภารกิจของทหารนั้นเป็นไปอย่างไม่เสียเลือดเนื้อ แม้ว่าจะต้องมีการจับกุมก็ตาม หากนี่เป็นประเทศอื่น จะต้องมีการประหัตประหารชีวิตคนจำนวนมากจึงจะสถาปนาและรักษาอำนาจไว้ได้ การแสดงออกของต่างประเทศแสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจผิด อารมณ์ความรู้สึกมากมายที่เกิดจากเหตุการณ์อันน่าสลดในวันที่ 6 ตุลาคมนั้นมักบดบังความเป็นจริง กษัตริย์ทรงหวังว่าต่างประเทศจะติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ด้วยความเป็นกลางและตัดสินทุกการกระทำด้วยความเห็นอกเห็นใจ
พระองค์ทรงเน้นย้ำหนักแน่นเรื่องคุณลักษณะทางสติปัญญาและศีลธรรมของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า “เป็นนักสังคมนิยมที่แท้และที่ดี” (un vrai, un bon socialiste) กษัตริย์ตรัสเช่นนี้ พระราชินีก็รับรอง (พระราชินีมีส่วนร่วมน้อยในการสนทนา) ในความนึกคิดขององค์อธิปัตย์ ถ้อยคำยกย่องคุณลักษณะที่กล่าวมานี้หมายความชัดเจนว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นบุคคลที่ใส่ใจกับประเด็นทางสังคมและปรารถนาจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เขาจะต่อสู้กับการโกงกินและความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจ พระองค์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่อง “พ่อค้า” อย่างจริงจังว่าเอาแต่จะทำนาบนหลังของกรรมกรและผู้ผลิต คนทั้งสองกลุ่มหลังนี้ควรได้รับการปกป้องและสนับสนุน เพราะพวกเขาคือร่างกายของชาติ เป็นผู้ทำให้ชาติเข้มแข็งและมีสมดุล คนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ยึดติดกับที่ดินทำกินของตนและสถาบันต่างๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติและถูกต้องที่อำนาจจะถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเหล่านี้
ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีแต่เจตนาที่เป็นมิตรและรักสันติ แต่ประเทศไทยจะไม่ทนต่อการที่ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน และจะไม่ยอมรับทัศนคติที่ก้าวร้าวหรือคุกคามของประเทศเพื่อนบ้าน พวกหลังนี้จะต้องรับผิดชอบต่อการผลิกผันของสถานการณ์
รายงานนี้มาจากบทสนทนา มีการถามคำถามและตอบคำถาม
ข้อคิดเห็นของผมมุ่งเน้นสองประเด็น
ประเด็นแรก ผมเน้นย้ำว่าความเคารพและความเห็นอกเห็นใจจากประเทศฝรั่งเศส และประเทศตะวันตกโดยรวมที่มีต่อรัฐบาลไทยนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญคือการปราบปรามที่พอเหมาะ ในเมื่อความสงบเรียบร้อยได้กลับมาและรักษาไว้ได้แล้ว พวกเราก็หวังว่าผู้มีอำนาจจะมีทัศนคติเอื้ออารี ด้วยเหตุผลทางการเมืองและศีลธรรม จะต้องไม่มีการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เกิดผู้เสียสละ (martyr) และเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสร้างฉันทามติของชาติ แทนที่จะเน้นย้ำชัยชนะของคนกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าชัยชนะนั้นจะเป็นของคนกลุ่มใหญ่เหนือคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ตาม
ประเด็นที่สอง ผมกล่าวว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยินดีที่จะตอบรับประกาศจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของไทยเรื่องนโยบายการต่างประเทศ และเรื่องความมุ่งหวังที่จะรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับทุกชาติ ไม่ว่าชาติเหล่านั้นจะปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ผมทบทวนความทรงจำว่าพวกเราถือว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเวียดนาม รวมถึงการเริ่มต้นสงบศึกระหว่างไทยกับลาวเป็นสิ่งที่ดีต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผมหวังว่าการอดทนอดกลั้นของทั้งสองฝ่ายจะช่วยหลีกเลี่ยงการแตกแยกและการปะทะกัน
กษัตริย์ไม่ได้โต้แย้งผม แต่พระองค์ค่อนข้างจะทรงสงสัยในเรื่องเจตนาของประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อประเทศของพระองค์ อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงสนใจจุดยืนของพวกเราในประเด็นที่ว่าการสงบศึกนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องละทิ้งความระมัดระวัง และละเลยการพัฒนาระบบป้องกันตนเองอย่างจริงจัง หากแต่ต้องเป็นไปในทางกลับกัน
ตลอดการสนทนาเป็นภาษาฝรั่งเศสเกือบหนึ่งชั่วโมง กษัตริย์ดูจะมีใจจดจ่อที่จะเน้นย้ำเรื่องความชอบธรรมของการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้นสู่อำนาจ นอกจากนี้ พระองค์ทรงคาดการณ์ด้วยว่าทัศนะของต่างประเทศซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไม่เห็นด้วยนั้น จะเป็นผลเสียต่อประเทศไทย พระองค์ทรงเชื่อในจุดยืนนี้ที่ตรัสถึงจริงๆ และพยายามจะโน้มน้าวให้ผมเชื่อด้วย
กษัตริย์ทรงสนทนาลักษณะเดียวกันกับเอกอัครราชทูตสวีเดนและออสเตรียซึ่งเข้าเฝ้าในวันเดียวกันนี้ จึงชัดเจนว่าการเข้าเฝ้า “ตามธรรมเนียม” นี้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์ทางการเมือง กล่าวคือ เป็นการชี้แจงสารแก่รัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะถ่ายทอดสารที่ว่านี้แก่พันธมิตรของพวกเขาอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ทรงขอร้องให้ผมช่วย “ทำให้พวกเขาเข้าใจสิ่งเหล่านี้” โดยให้ผมไปบอกกับผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป 9 ประเทศ (Les Neuf)
นอกจากนี้ การสนทนาครั้งนี้มีการเผยแพร่ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ ผู้ชมคงไม่คาดคิดว่าจะได้ชมการสนทนานี้ (พวกเราเองได้รับแจ้งเพียงแค่ 24 ชั่วโมงก่อนหน้า) ในด้านหนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการเน้นย้ำการใช้อำนาจในฐานะประมุขของรัฐเพื่อมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ และในอีกด้านหนึ่ง การถ่ายทอดการสนทนานี้ก็เป็นการดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยภายใต้ระบอบใหม่
พรุ่งนี้หัวหน้าคณะทูตทั้งหลายได้รับเชิญไปฟังบรรยายสถานการณ์จากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งก็คงจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย
อองเดร (Gérard André)
ดิน บัวแดง แปล, วณิ(ชช)พก เรียบเรียง
ข้อบกพร่องด้านสำนวนภาษาและความผิดพลาดด้านการแปลเป็นของผู้แปลแต่เพียงผู้เดียว
.....
กรุงเทพ, วันที่ 21 ตุลาคม 1976
ได้รับวันที่ 22 ตุลาคม เวลา 10.48 น.
ที่ 1332/1340
เรื่อง สนทนากับกษัตริย์
ผมได้เข้าเฝ้ากษัตริย์และราชินีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ถือเป็นการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ผมได้ทำเรื่องขอเข้าเฝ้าฯ ตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนักตั้งแต่เกือบสามเดือนก่อน แต่ไม่ได้รับอนุมัติเพราะองค์อธิปัตย์ทั้งสองเสด็จฯ ออกนอกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม
ก่อนหน้านี้ ผมเคยสนทนาแต่เรื่องทั่วไปกับพระองค์ แต่การสนทนาครั้งนี้ พระองค์จงใจให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเป็นหลัก พระองค์ทรงสาธยายที่มาของการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการเล่าสถานการณ์ของประเทศอันมีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน กล่าวคือ พวกคอมมิวนิสต์ใช้ประโยชน์จากการสมรู้ร่วมคิดของคนพวกหนึ่ง ความเพิกเฉยและความไร้ความสามารถของคนอีกพวกหนึ่ง แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่ง พวกเขาปลุกปั่นให้รัฐแตกสลายเพื่อที่จะยึดอำนาจรัฐ
การเคลื่อนไหวของเหล่านักศึกษาเป็นเรื่องที่มีนัยยะสำคัญยิ่ง เมื่อสามปีที่แล้วพวกเขาเคลื่อนไหวด้วยความมุ่งหวังที่จะทำเพื่อส่วนรวม บทบาทของพวกเขาสำคัญ อีกทั้งผลลัพธ์จากบทบาทนั้นก็เป็นที่ยอมรับ แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็ถูกกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายครอบงำและชักใย คนพวกนี้ฉกฉวยประโยชน์จากความไร้ประสบการณ์และความไม่ประสาของนักศึกษา และผลักดันพวกเขาอย่างต่อเนื่องโดยไม่เห็นอกเห็นใจ นักศึกษาจึงต้องกระทำกิจที่ไม่สามารถทำและไม่มีวันที่นักศึกษาเองจะมีความสามารถที่จะทำได้
พวกแอคติวิสต์เป็นเพียงส่วนน้อยในสังคม หลักฐานคือพวกเขาไม่มีผลงานในเชิงรูปธรรม ความเห็นของสาธารณะไม่ได้สนับสนุนพวกเขา อีกทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์นี้อย่างชัดเจน การปลุกปั่นทั้งหลายนั้นมิได้มีผลใดๆ แต่เป็นไปเพื่อสร้างความปั่นป่วนและยุยงให้เกิดการปะทะรุนแรงเท่านั้น
ภายในรัฐบาลเองก็มีบางพวกที่จงใจฉวยโอกาสจากสถานการณ์นี้เพื่อทำให้รัฐสั่นสะเทือนและทำให้การงานของสถาบันต่างๆ ที่ประชาชนชาวไทยผูกพันอย่างลึกซึ้งเป็นอัมพาต ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องยุติสถานการณ์ดังกล่าว การปฏิบัติภารกิจของทหารนั้นเป็นไปอย่างไม่เสียเลือดเนื้อ แม้ว่าจะต้องมีการจับกุมก็ตาม หากนี่เป็นประเทศอื่น จะต้องมีการประหัตประหารชีวิตคนจำนวนมากจึงจะสถาปนาและรักษาอำนาจไว้ได้ การแสดงออกของต่างประเทศแสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจผิด อารมณ์ความรู้สึกมากมายที่เกิดจากเหตุการณ์อันน่าสลดในวันที่ 6 ตุลาคมนั้นมักบดบังความเป็นจริง กษัตริย์ทรงหวังว่าต่างประเทศจะติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ด้วยความเป็นกลางและตัดสินทุกการกระทำด้วยความเห็นอกเห็นใจ
พระองค์ทรงเน้นย้ำหนักแน่นเรื่องคุณลักษณะทางสติปัญญาและศีลธรรมของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า “เป็นนักสังคมนิยมที่แท้และที่ดี” (un vrai, un bon socialiste) กษัตริย์ตรัสเช่นนี้ พระราชินีก็รับรอง (พระราชินีมีส่วนร่วมน้อยในการสนทนา) ในความนึกคิดขององค์อธิปัตย์ ถ้อยคำยกย่องคุณลักษณะที่กล่าวมานี้หมายความชัดเจนว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นบุคคลที่ใส่ใจกับประเด็นทางสังคมและปรารถนาจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เขาจะต่อสู้กับการโกงกินและความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจ พระองค์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่อง “พ่อค้า” อย่างจริงจังว่าเอาแต่จะทำนาบนหลังของกรรมกรและผู้ผลิต คนทั้งสองกลุ่มหลังนี้ควรได้รับการปกป้องและสนับสนุน เพราะพวกเขาคือร่างกายของชาติ เป็นผู้ทำให้ชาติเข้มแข็งและมีสมดุล คนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ยึดติดกับที่ดินทำกินของตนและสถาบันต่างๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติและถูกต้องที่อำนาจจะถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเหล่านี้
ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีแต่เจตนาที่เป็นมิตรและรักสันติ แต่ประเทศไทยจะไม่ทนต่อการที่ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน และจะไม่ยอมรับทัศนคติที่ก้าวร้าวหรือคุกคามของประเทศเพื่อนบ้าน พวกหลังนี้จะต้องรับผิดชอบต่อการผลิกผันของสถานการณ์
รายงานนี้มาจากบทสนทนา มีการถามคำถามและตอบคำถาม
ข้อคิดเห็นของผมมุ่งเน้นสองประเด็น
ประเด็นแรก ผมเน้นย้ำว่าความเคารพและความเห็นอกเห็นใจจากประเทศฝรั่งเศส และประเทศตะวันตกโดยรวมที่มีต่อรัฐบาลไทยนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญคือการปราบปรามที่พอเหมาะ ในเมื่อความสงบเรียบร้อยได้กลับมาและรักษาไว้ได้แล้ว พวกเราก็หวังว่าผู้มีอำนาจจะมีทัศนคติเอื้ออารี ด้วยเหตุผลทางการเมืองและศีลธรรม จะต้องไม่มีการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เกิดผู้เสียสละ (martyr) และเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสร้างฉันทามติของชาติ แทนที่จะเน้นย้ำชัยชนะของคนกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าชัยชนะนั้นจะเป็นของคนกลุ่มใหญ่เหนือคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ตาม
ประเด็นที่สอง ผมกล่าวว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยินดีที่จะตอบรับประกาศจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของไทยเรื่องนโยบายการต่างประเทศ และเรื่องความมุ่งหวังที่จะรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับทุกชาติ ไม่ว่าชาติเหล่านั้นจะปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ผมทบทวนความทรงจำว่าพวกเราถือว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเวียดนาม รวมถึงการเริ่มต้นสงบศึกระหว่างไทยกับลาวเป็นสิ่งที่ดีต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผมหวังว่าการอดทนอดกลั้นของทั้งสองฝ่ายจะช่วยหลีกเลี่ยงการแตกแยกและการปะทะกัน
กษัตริย์ไม่ได้โต้แย้งผม แต่พระองค์ค่อนข้างจะทรงสงสัยในเรื่องเจตนาของประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อประเทศของพระองค์ อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงสนใจจุดยืนของพวกเราในประเด็นที่ว่าการสงบศึกนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องละทิ้งความระมัดระวัง และละเลยการพัฒนาระบบป้องกันตนเองอย่างจริงจัง หากแต่ต้องเป็นไปในทางกลับกัน
ตลอดการสนทนาเป็นภาษาฝรั่งเศสเกือบหนึ่งชั่วโมง กษัตริย์ดูจะมีใจจดจ่อที่จะเน้นย้ำเรื่องความชอบธรรมของการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้นสู่อำนาจ นอกจากนี้ พระองค์ทรงคาดการณ์ด้วยว่าทัศนะของต่างประเทศซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไม่เห็นด้วยนั้น จะเป็นผลเสียต่อประเทศไทย พระองค์ทรงเชื่อในจุดยืนนี้ที่ตรัสถึงจริงๆ และพยายามจะโน้มน้าวให้ผมเชื่อด้วย
กษัตริย์ทรงสนทนาลักษณะเดียวกันกับเอกอัครราชทูตสวีเดนและออสเตรียซึ่งเข้าเฝ้าในวันเดียวกันนี้ จึงชัดเจนว่าการเข้าเฝ้า “ตามธรรมเนียม” นี้เกิดขึ้นเพื่อสนองจุดประสงค์ทางการเมือง กล่าวคือ เป็นการชี้แจงสารแก่รัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะถ่ายทอดสารที่ว่านี้แก่พันธมิตรของพวกเขาอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ทรงขอร้องให้ผมช่วย “ทำให้พวกเขาเข้าใจสิ่งเหล่านี้” โดยให้ผมไปบอกกับผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป 9 ประเทศ (Les Neuf)
นอกจากนี้ การสนทนาครั้งนี้มีการเผยแพร่ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ ผู้ชมคงไม่คาดคิดว่าจะได้ชมการสนทนานี้ (พวกเราเองได้รับแจ้งเพียงแค่ 24 ชั่วโมงก่อนหน้า) ในด้านหนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการเน้นย้ำการใช้อำนาจในฐานะประมุขของรัฐเพื่อมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ และในอีกด้านหนึ่ง การถ่ายทอดการสนทนานี้ก็เป็นการดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยภายใต้ระบอบใหม่
พรุ่งนี้หัวหน้าคณะทูตทั้งหลายได้รับเชิญไปฟังบรรยายสถานการณ์จากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งก็คงจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย
อองเดร (Gérard André)
ดิน บัวแดง แปล, วณิ(ชช)พก เรียบเรียง
ข้อบกพร่องด้านสำนวนภาษาและความผิดพลาดด้านการแปลเป็นของผู้แปลแต่เพียงผู้เดียว
.....
.....
🖊️เซ็นรัฐประหาร 1 ครั้ง
— รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง (@royalist_market) November 8, 2021
=
ประเทศถอยหลังไป 10 ปี
🖋️เซ็นรัฐประหาร 11 ครั้ง
=
ประเทศถอยหลังไป 110 ปี
จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเราถึงยังเป็น"ประเทศกำลังพัฒนา"แบบไม่ได้
ลืมตาอ้าปากเสียทีhttps://t.co/oi7r0DO1Am pic.twitter.com/RyRlB9jUl5