Inside Myanmar’s Army: ‘They See Protesters as Criminals’
Four officers spoke about life in the feared Tatmadaw, which has turned its guns on civilians again. “The Tatmadaw is the only world” for most soldiers, one said.
Oradi Inkhong
March 28 at 10:30 PM ·
บทความของ The New York Times ชิ้นนี้ช่วยฉายภาพโลกของ Tatmadaw หรือกองทัพพม่าให้เราเห็นชัดเจนขึ้น ทำไมทหารพม่าจึงเข่นฆ่าประชาชนได้อย่างอำมหิตผิดมนุษย์ ทำไมทหารจึงยอมฆ่าทุกคนตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ไม่เว้นแม้แต่คนในครอบครัวของตัวเอง
.
ผู้เขียนได้สัมภาษณ์ทหาร 4 นาย มีทั้งทหารระดับผู้บังคับบัญชาที่ยังทำงานอยู่ในกองทัพ แพทย์ทหาร และทหารที่หลบหนีออกจากกองทัพหลังจากเกิดรัฐประหาร
.
เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เผยให้เห็นว่า ทหารถูกล้างสมองตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่ค่ายฝึก พวกเขาถูกกล่อมว่า “ทหารเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องประเทศและศาสนา” ทหารนายหนึ่งเล่าว่า ในค่ายฝึกทหารมีการเปิดวีดีโอภาพเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ในปี 1988 เป็นภาพที่ผู้ประท้วงทำร้ายทหารด้วยการหั่นหัวทหารออกเป็นชิ้นๆ แต่ไม่มีการฉายภาพที่ทหารปราบปรามประชาชนอย่างบ้าคลั่ง การฉายภาพที่ทหารเป็นฝ่ายถูกกระทำบ่มเพาะความรู้สึกเกลียดชังและแยกทหารออกจากประชาชน พวกเขายังถูกสอนให้วางตัวอยู่เหนือประชาชนและเจ้าหน้าที่พลเรือนด้วย
.
ใครก็ตามที่ต่อต้านกองทัพคือศัตรู ประชาชนที่ออกมาประท้วงต่อต้านขัดขวางทหารคืออาชญากร แม้ว่าจะเป็นคนในครอบครัวของทหารเอง หากคิดต่อต้านกองทัพก็มีคำสั่งให้ลงมือฆ่าได้ทันที
.
ศัตรูของกองทัพพม่าจึงเป็นได้ทั้งประชาชนชาวพม่าเอง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่คิดแยกออกไปเป็นรัฐอิสระ กลุ่มชาวมุสลิมซึ่งถูกกล่าวหาว่าพยายามทำลายศรัทธาชาวพุทธ รัฐบาลพลเรือนของนางซูจี ที่แม้ว่าบิดาของเธอจะเป็นผู้ก่อตั้งกองทัพพม่าขึ้นมาก็ตาม รวมถึงประเทศต่างๆ ที่กำลังให้การสนับสนุนประชาชนที่ออกมาประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ทหารคิดว่าการฆ่าประชาชนเป็นการป้องกันประเทศจากการแทรกแซงโดยต่างชาติ
.
ทหารยังเล่าว่า เมื่อเข้าสู่การเป็นทหาร โลกของพวกเขามีเพียงหนึ่งเดียวคือกองทัพ ทหารจะถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอก พวกเขาอาศัยอยู่ในเขตของกองทัพ แม้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในนั้น แต่ก็ถูกสอดส่องและตรวจสอบตลอดเวลาราวกับอยู่ในคุก นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารทหารไม่สามารถออกไปนอกเขตของกองทัพได้เกิน 15 นาที โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแม้แต่การตัดอินเตอร์เน็ตก็เป็นหนทางหนึ่งที่ตัดขาดทหารจากการรับรู้เสียงจากโลกภายนอก ซึ่งอาจจะทำให้ทหารบางคนเกิดการตั้งคำถามต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้
.
การควบคุมอย่างเข้มงวดและมาตรการลงโทษที่เด็ดขาด สร้างวัฒนธรรม “ความกลัว” ขึ้นมาในกองทัพ และมันถูกนำมาใช้กับประชาชน อย่างที่เราเห็นในข่าว ทหารสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยมด้วยอาวุธสงคราม บุกไปจับประชาชนที่บ้านในตอนกลางคืน และส่งศพที่มีสภาพถูกทารุณอย่างหนักกลับมาในตอนเช้า มีการเผาผู้ประท้วงทั้งเป็น และฆ่าแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ไม่ได้ออกไปประท้วงด้วยซ้ำ ทหารทำทุกทางเพื่อกดปราบให้ประชาชนกลัว
.
โลกของทหารที่มีเพียงกองทัพยังรวมไปถึงการควบคุมชีวิตส่วนตัวด้วย ทหารมักแต่งงานกับเครือข่ายทหารด้วยกันเอง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เอื้อผลประโยชน์ด้านอำนาจทางการเมืองหรือทางธุรกิจ เพื่อรักษาผลประโยชน์มหาศาลและสิทธิพิเศษอันมาจากธุรกิจของกองทัพ ภรรยาของทหารที่เสียชีวิตในสนามรบอาจถูกจับให้แต่งงานใหม่กับทหารที่ยังไม่ได้แต่งงาน โดยที่พวกเธอไม่มีสิทธิ์เลือก
.
ทหารต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและรุ่นพี่ โดยห้ามตั้งคำถามว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด ทหารไม่เคยลิ้มรสประชาธิปไตย พวกเขาอยู่ในโลกที่มืดบอดมาทั้งชีวิต
.....
Naing Win
March 29 at 10:34 PM ·
That was a last kiss for his daughter.
Unfortunately he couldn't stay alive in the battle for her future.
I salute you as a father. RIP brother.
We MUST win this fight! There were many sacrifices we invested for this revolution. The victory must be ours!!!!!
#JusticeForMyanmar
#SaveMyammar
.....
Chainarong Setthachua
13h ·
ทำไมทหารพม่าฆ่าประชาชนเหมือนผักปลา?
ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองเมียนมาร่วมสมัย ให้สัมภาษณ์ “มติชน” ดังนี้
1.ทหารพม่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการสร้างรัฐผ่านยุทธศาสตร์สงคราม จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการใช้ความรุนแรง ผ่านประสบการณ์ทางการทหารอันโชกโชน
2.ทหารพม่า มีรากเหง้าของผู้นำทหารฝ่ายอนุรักษนิยมที่ไม่ได้มองประชาชนว่าเป็นพลเมือง มีสิทธิ มีศักดิ์มีศรีตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่มองว่าเมื่อใดก็ตามที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย ไร้ระเบียบ และประชาชนเป็นตัวเขย่ารัฐทำให้เกิดภาวะจลาจล จะเป็นอันตรายต่อสภาพและอธิปไตย เขาต้องจัดการให้สิ้นซาก ด้วยการใช้ความรุนแรง แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน
3.กองทัพพม่ามองประชาชน ไม่ต่างจากพวกไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน โยธาในสมัยโบราณ เขามองว่าไม่ใช่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเพียงแค่แรงงานอาสาตามประเพณี กองทัพเมียนมาปราบปรามประชาชน จึง 1.ไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิพลเมือง 2.เขาชินชาต่อวัฒนธรรมการใช้ความรุนแรง ไม่ได้สะทกสะท้านเท่าใดนัก เพราะเขาสร้างรัฐผ่านสงครามมากับมือ
ดังนั้น ต้นทุนของประชาชนเวลาถูกยิง รัฐไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องถูกมอนิเตอร์มาก เมื่อเทียบกับบางประเทศ ที่ต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าทำศพ ถูกตรวจสอบ ที่ผ่านมาเขาไม่เคยเจอสภาพพวกนี้จึงเป็นความชินของทหารพม่า
ภาพ Khine Zar Thwe พนักงานธนาคารอิรวะดีที่ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มีนาคม
Cr. ภาพประกอบ เมียนมา นาว
.....
อ.ดุลยภาค ให้ความเห็นต่อ เรื่องไทยกับพม่า
ทั้งนี้ ไทยได้เปิดความสัมพันธ์แบบเป็นทางการกับคณะรัฐประหารพม่าไปแล้ว ท่านดอน ปรมัตถ์วินัย ก็รับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของคณะรัฐบาล มิน อ่อง ลาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยอมรับ แม้ความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ของ มิน อ่อง ลาย จะยังไม่สะเด็ดน้ำก็ตาม เพราะยังมีการก่อหวอดประท้วงอยู่ หรือแม้แต่การที่ มิน อ่อง ลาย หรือตัวแทนสภาบริหารแห่งรัฐ ก็เข้าไปประชุมกับตัวแทนของรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งทาง video conference ทาง ZOOM ก็เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น การรับรองคณะรัฐประหารแบบความสัมพันธ์ทางการทูตแบบปกติ มีขึ้นแล้วในหลายประเทศ เพียงแต่ต้องระมัดระวัง อาจต้องมีการส่งสัญญาณเตือนไม่ให้ใช้ความรุนแรง หรือบางประเทศเรียกร้องการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ซึ่งขึ้นอยู่กับท่าทีทางการทูตของแต่ละประเทศ หลายประเทศในอาเซียน
อย่างไรก็ดี การห้ามปรามความรุนแรงควรมี แต่ต้องอยู่ในห้วงจังหวะที่เหมาะสม เพราะ ตอนนี้คณะรัฐประหารมิน อ่อง ลาย ใช่ว่าจะต้องติดต่อ หรือฟังประเทศไทยอย่างเดียว แม้เราจะเป็นรัฐเพื่อนบ้านกับพม่า แต่ก็ยังมีมหาอำนาจการเมืองโลกที่มีผลประโยชน์ และคอนเน็กชั่น เช่น จีน รัสเซีย หรือแม้แต่วันเดินสวนสนามของกองทัพเมียนมา ก็มีรัฐอื่นเข้ามาร่วม เช่น เวียดนาม ปากีสถาน มีอย่างน้อย 8-9 ประเทศ ที่พอจะจับกระแสได้ เห็นชัดเจนว่าคงความสัมพันธ์ ไม่กดดันกองทัพพม่าอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับตะวันตก
แต่สำหรับประเทศไทย มีลักษณะไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เราไม่สามารถประณามคณะรัฐประหารพม่าในระดับที่เข้มข้นได้ เพราะ 1.เรามีอาณาเขตพรมแดน ทางบก 2,401 กม. ติดกับพม่า เวลานี้แทบจะคุยกันเรื่องการรับผู้ลี้ภัย การรบ ไทยเริ่มทำงานหนัก ในการคัดกรอง ตรึงชายแดน เพราะสถานการณ์ในรัฐกะเหรี่ยงเวลานี้ เริ่มทะลักเข้ามาทาง อ.สบเมย อ.แม่สะเรียง สายกระทรวงมหาดไทยในบ้านเรา กองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 3 กองกำลังหน่วยรบต่างๆ ทั้งกองกำลังหน่วยรบนเรศวร กองกำลังสุรสีห์ ที่ตรึงแนว จ.ตาก กาญจนบุรี ก็ต้องเตรียมรับมือด้วยการพูดถึงแผนเผชิญเหตุเสียมากกว่า การจะรับผู้ลี้ภัยอย่างไร กำลังจะไปกระจุกอยู่ตรงนั้น
ส่วนเรื่องของนโยบายต่างประเทศ เชื่อว่า เวลานี้รัฐไทยก็ยังคงสงวนท่าทีอยู่ โดยใช้บรรทัดฐานอาเซียน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน อาเซียนบางประเทศที่พูดว่าต้องมีมาตรการกดดันไปไกลกว่าการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ต้องอย่าลืมว่าในประเพณีการทูต ดำเนินนโยบายต่างประเทศ มีหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การพัวพันหรือปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ (constructive engagement) ในจุดนี้ขนาด ท่านทักษิณ ชินวัตร ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก็ยังทำแบบนี้กับพม่าเช่นกัน หลักการคือ เน้นค้าขาย รักษาผลประโยชน์กับพม่าอย่างเดียว แต่ไม่ไปกดดันรัฐบาลทหาร เพราะจะเสียโอกาสทางธุรกิจ และแม้จะมีการเสนอแนวทางปฏิสัมพันธ์พัวพันแบบยืดหยุ่น กล่าวคือไม่แทรกแซงกิจการภายใน แต่หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ส่งผลต่อภูมิภาค น่าจะมีมาตรการกดดันกันได้ แทนที่จะละเลยเพิกเฉย แต่ที่ผ่านมา constructive engagement ก็ยังได้รับการสืบสานต่อเนื่องอยู่ จึงเชื่อว่า หลายประเทศคงไม่กระฉับกระเฉงที่จะไปแทรกแซง หรือกดดันพม่ามากในเวลานี้
บางทีเราอาจยกระดับการแทรกแซงได้ แต่จะเพิ่มได้อย่างไรต้องดูระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดในพม่าด้วย เพราะเวลานี้ ประชาคมโลกบอกรุนแรงมาก ตายหลายร้อย ในมุมของรัฐบาลทหารพม่า อาจมองว่านี่เป็นเพียงภาวะจลาจล ตายหลักร้อย ยังไม่ถึงขั้นสงครามกลางเมือง ที่ตายหลายพัน หลายหมื่นคน ทั้งยังมีเรื่องการชิงอำนาจในรัฐ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มาผสมปนเป หากเป็นเช่นนั้นหลายประเทศก็คงจะสับสน จนอาจเริ่มพูดถึงการแทรกแซงกิจการภายในบ้าง เพราะเป็นวิกฤตที่รุนแรง แม้ตอนนี้จะยัง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะวิวัฒน์ไปสู่ขั้นนั้นหรือไม่ สูญเสียเยอะเช่นนั้นหรือจะจบเกมเร็ว เราต้องรอดูอีกนิด
อาจเป็นข้อแนะนำที่ไม่ถูกใจใครหลายคน แต่ทั้งในมุมผลประโยชน์ของรัฐไทย รวมถึงความสัมพันธ์กับประเทศพม่า และการยืนอยู่บนหลักพื้นฐานสิทธิมนุษยธรรม ประเทศไทยอาจใช้นโยบายเฝ้าคอยและรอดูไปก่อน ติดตามสถานการณ์ ไม่ออกท่าที ไม่เลือกข้างอย่างรุนแรง โจ่งแจ้ง รวดเร็ว ฉับพลันจนเกินไป ไม่เลือกกระโจนไปอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาแล้วกดดันรัฐบาลพม่า หรือกระโจนไปสนับสนุนคณะรัฐประหารพม่า จนละเลยเรื่องสิทธิมนุษยธรรม เราควรยืนพื้น ณ จุดที่มองว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศพม่า ที่รัฐไทยก็เป็นห่วง เฝ้าดูและไม่อยากให้มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นมากไปกว่านี้
แต่หน้าที่ของรัฐไทยอาจมีอยู่ 2-3 ประการ คือ 1.รักษาความสงบตามแนวชายแดน มีผู้อพยพมาก็ช่วยเหลือพื้นฐานตามหลักมนุษยธรรม ขณะเดียวกัน 2.ไทยอาจเป็นช่องทางสำคัญในเวทีอาเซียน เป็นกาวใจ เป็นพื้นที่พูดคุยความคับข้องใจ ทั้งจากคณะรัฐประหารพม่า มีอะไรก็ติดต่อการทูตแบบเป็นทางการจากฝั่งไทยได้ ขณะเดียวกัน ภาคประชาสังคมที่เดือดร้อน ประเทศไทยก็ไม่ใช่ไปตัดช่องทางการติดต่อจากเขา ไทยมีสถานทูตที่คอยรับเรื่องติดต่อ และองค์กรสิทธิมนุษยชนของไทยก็มีบทบาทตรงนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องสวนทางกัน ว่าความสัมพันธ์แบบเป็นทางการ จะต้องติดต่อกับ มิน อ่อง ลาย อย่างเดียว ส่วนภาคประชาชนให้ไปติดต่อแบบแยกขั้ว
เราอาจใช้วิธีการอื่น เช่น รัฐไทยรับฟังเสียงของประชาชนพม่า และผู้นำพม่า ที่คุมอำนาจอย่างเป็นทางการ และหาช่องทางให้เขาได้ไกล่เกลี่ย เจรจา หากพม่าไม่ยินดีไม่เป็นไร แต่เราสามารถเป็นสะพาน เป็นเกตเวย์ เป็นแพลตฟอร์มให้ ก็เท่านั้น เบื้องต้นหากเป็นอย่างนี้ ก็น่าจะจบสวย
แต่เวลานี้ ผมมองว่าเกมการเมืองพม่าไปถึงเรื่องการเมืองมหาอำนาจโลกแล้ว รัฐบาลไทยอาจจะต้องดูนโยบายต่างประเทศ นโยบายขยายแสนยานุภาพทางการเมืองการทหารของสหรัฐ จีน รัสเซีย กองกําลังนาโต้และสหภาพยุโรป เพราะสถานการณ์ในพม่าเริ่มเห็นเค้าลางแบบนั้นแล้ว เราเห็นการเยือน มิน อ่อง ลาย โดยผู้นำระดับสูงของรัสเซีย เรารู้ว่า นี่ไม่ใช่วิกฤตภายในประเทศธรรมดา แต่โยงกับการเมืองระหว่างประเทศ การปรากฏตัวของรัสเซียก็น่ากลัว เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อน กองทัพพม่าตั้งกองพันนิวเคลียร์ขึ้นมา ซึ่งกองทัพที่มีระบบหน่วยวิจัยนิวเคลียร์เช่นนี้ คือ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย อีกทั้งทหารพม่าก็ถูกส่งไปมอสโก เพื่อไปเรียนรู้เรื่องวิทยาการทำนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ยุทธศาสตร์ ย้อนไปดูวันสวนสนามของกองทัพเมียนมา ก็ได้มีจรวด มีขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ ซึ่งหากตรวจสอบดู อาจจะมีวิสัยการยิง 800 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้น
ดังนั้น หากกองทัพพม่าถูกโดดเดี่ยว ถูกกดดันมากเข้า จะผลักให้เขาไปหารัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ ซึ่ง มิน อ่อง ลาย พยายามให้ประเทศพม่าเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เพื่อป้องกันการถูกรุกราน เพราะจะไปกันใหญ่ จะกลายเป็นการพัฒนาขีปนาวุธยุทธศาสตร์ กระทั่งเทคโนโลยีของอาวุธนิวเคลียร์ รัฐไทยต้องมองตรงนี้ให้ละเอียด
และมีข้อเตือนใจว่า เกมในพม่า เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างประเทศไปแล้ว
ที่มา มติชนออนไลน์
.....