วันอังคาร, เมษายน 06, 2564

สิ้นแล้วประเทศไทย : โรงไฟฟ้าขยะ กิจการอันตราย สร้างได้ทั่วประเทศแม้ในเขตชุมชนหนาแน่น ไม่ต้องสนใจกฎหมายผังเมือง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ร่วมทุน ฯลฯ “เมื่อโรงไฟฟ้าขยะถูกเสกเป็นธุรกิจเทวดา”



Southern Youth Monitoring Development
April 2 at 7:34 AM ·

เปิดเบื้องหลังกลุ่มทุนศักดินา มัจจุราชฆ่าผ่อนส่งประชาชนในพื้นที่อำเภอนาบอน
ผู้ชำนาญการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพฯ ได้อนุมัติให้ตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและขยะ อาร์ดีเอฟ จำนวน ๕๐ เมกกะวัตต์ในเขตพื้นที่ชุมชนหนาแน่น
ถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการมีอากาศบริสุทธิ์ไว้ใช้หายใจ การกระทำเช่นนี้ของ กระทรวงทรัพย์ฯ ถือเป็นการยื่นใบอนุญาตฆ่าผ่อนส่งประชาชนในอำเภอนาบอน
คำถามคือ เหตุใดกลุ่มบริษัทเหล่านี้ถึงสามารถเข้าไปดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าที่จะก่อมลพิษแก่ประชาชน ในเขตพื้นที่ชุมชนหนาแน่นได้!!!
คำตอบ คือ กลุ่มบริษัทและผู้ถือหุ้นหลักในกิจการทำลายชุมชนและละเมิดสิทธิประชาชน มีน้องชายองคมนตรี ตระกูลทรงเมตตา(อดีตรอง ผบ.ตร.ในยุคจักรทิพย์ ชัยจินดา) และบริษัท SCB ของคนที่คุณก็รู้ใคร!
เห็นหรือยังครับว่าการยึดกุมฐานทรัพยากรของประเทศนี้ ถูกผูกขาดไว้เฉพาะชนชั้นนำ และกลุ่มเครือข่ายศักดินาเท่านั้น ที่สำคัญคนเหล่านี้มีอภิสิทธิ์เหนือกฏเกณฑ์ใดๆทั้งปวง คว้านซื้อที่ดินได้ที่ไหน หรือมีพื้นที่ที่เอื้อต่อประโยชน์ทางธุรกิจ ก็สามารถจิ้มเอาได้ทุกตารางเมตรในประเทศนี้ ตามแต่ใจปรารถนา!
#Saveนาบอน #หยุดอาณาจักรทรงเมตตา


.....
Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
April 3 at 11:26 PM ·

โรงไฟฟ้าขยะ กิจการอันตราย สร้างได้ทั่วประเทศแม้ในเขตชุมชนหนาแน่น ไม่ต้องสนใจกฎหมายผังเมือง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ร่วมทุน ฯลฯ เพราะได้อานิสงส์จาก “การฉ้อฉลเชิงอำนาจ” ตั้งแต่ยุค คสช. ข้อพิพาทกับชุมชนจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
ชวนอ่านบทความ “เมื่อโรงไฟฟ้าขยะถูกเสกเป็นธุรกิจเทวดา” https://themomentum.co/citizen2-0-ipp-eia/
.....
‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ (8): เมื่อ ‘โรงไฟฟ้าขยะ’ ถูกเสกเป็นธุรกิจเทวดา

IN FOCUS

  • คำอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของ ส.ส. ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ จากพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ชี้ถึงความผิดปกติในการประกวดราคาจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย ส่อว่าจะมีการใช้กลไกทางกฎหมายวางแผนการทุจริตอย่างเป็นระบบและแยบยลมาตั้งแต่สมัย คสช. โดยเกี่ยวพันเชื่อมโยงทั้งผู้มีอำนาจใน คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้กำกับดูแลการบริหารราชการ กทม. ที่มี พ.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จาก คสช. ให้เป็นผู้ว่า กทม. ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมกรรมสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น ก็มีชื่อเกี่ยวกันกับการเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะฉาวครั้งนี้ด้วย
  • ส.ส. ประเดิมชัยประกาศว่าจะยื่นเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนต่อไป ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โครงการเตาเผาขยะ กทม. ตกเป็นข่าวอื้อฉาว ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ก่อนการเปิดประมูล โครงการสองโครงการนี้ของ กทม. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2562 ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าอาจมีการ ‘ล็อกสเปก’ เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางราย
  • ระหว่างที่ทุกคนรวมทั้งผู้เขียนยังรอคอยผลการสอบสวนกรณีนี้ของ ป.ป.ช. ป.ป.ท. และ สตง. ซึ่งผ่านมาเกือบสองปีแล้วยังไม่มีอะไรคืบหน้า ผู้เขียนอยากชี้ชวนให้ดูมิติของ ‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ ที่เกี่ยวข้อง เพราะการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาทำธุรกิจเตาเผาขยะมีการใช้อำนาจเผด็จการและแก้กฎหมาย ไม่ใช่เพียงครั้งเดียว แต่เปิด ‘ไฟเขียว’ ทางกฎหมายให้มากถึงห้าครั้ง
  • ถ้าดูทีละกรณีอาจไม่เห็นภาพใหญ่ แต่เมื่อพิจารณาต่อกันตามช่วงเวลา เปรียบเทียบกับความไม่ชอบมาพากลของโครงการเตาเผาขยะ กทม. ก็ชัดเจนว่าไฟเขียวทั้งหมดนี้เข้าข่าย ‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ ที่เปิดให้โครงการเตาเผาขยะ/โรงไฟฟ้าขยะทุกขนาดทั่วประเทศผ่านฉลุย ดำเนินการได้อย่างง่ายดายกว่าธุรกิจอื่นที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ราวกับเป็น ‘ธุรกิจเทวดา’ ก็ไม่ปาน
สองตอนก่อนหน้านี้ผู้เขียนเขียนถึงมหากาพย์รถไฟฟ้า กทม. และมหกรรมกินรวบโรงไฟฟ้า IPP ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ ‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ เพื่อเอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มทุนในยุครัฐบาลทหาร จุดร่วมของทั้งสองกรณีนี้ คือ การใช้คำสั่งหรือประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งทำให้ คสช. และเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานทุกระดับที่ทำตาม ไม่ต้องรับผิดใดๆ ทางกฎหมายทั้งสิ้น ทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย

อ่านต่อที่ https://themomentum.co/citizen2-0-ipp-eia/