เพนกวิน - พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak
Yesterday at 9:53 AM ·
ครบรอบ 3 สัปดาห์ แห่งการอดอาหาร
.
การอดอาหารประท้วงความยุติธรรมของผมล่วงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 แล้ว และเป็น 2 สัปดาห์ที่ผมไม่ดื่มอะไรเลยนอกจากน้ำและเกลือแร่ สุขภาพกายของผมก็เป็นไปตามสภาพของคนที่ไม่ได้กินอาหาร แขนและขาของผมร่วงโรยไม่อาจเดินระยะไกลๆ ได้เอง ต้องอาศัยคนพยุงและรถเข็น และต้องมีสายน้ำเกลือห้อยติดตามตัวมาเป็นเวลาเกือบ 10 วันแล้ว อย่างไรก็ตาม สุขภาพใจและความคิดของผมยังคงเข้มแข็ง และผมตั้งใจจะอดอาหารไปจนกว่าศาลจะตอบคำถามว่าด้วยตามยุติธรรม 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ศาลเคยกล่าวกับผมว่า “ศาลเป็นกลางและเป็นธรรม” หากศาลเป็นกลางและเป็นธรรมจริง เหตุใดท่านจึงปล่อยตัวแกนนำ กปปส. 8 คน ซึ่งถูกศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วว่ามีความผิด แต่กลับคุมขังพวกผมไว้ทั้งที่ยังไม่มีศาลใดพิพากษาว่าพวกผมมีความผิดใดๆ เลย
2. ศาลเคยกล่าวกับผมว่า “ศาลให้สิทธิพวกผมต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่” แต่พวกผมจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ได้อย่างไร ในเมื่อท่านชิงคุมขังผมไปก่อนแล้ว ผมก็ไม่สามารถไปหาพยานหลักฐานมาสู้คดีได้แล้ว จะปรึกษาทนายความก็ทำได้อย่างจำกัดและต้องพูดผ่านโทรศัพท์ซึ่งอาจถูกดักฟัง แม้กระทั่ง การจะพูดคุยกับเพื่อนที่ถูกฟ้องร้องด้วยกันก็ทำได้ลำบาก เช่นนี้หรือคือสิทธิการสู้คดีอย่างเต็มที่ดังที่ศาลกล่าว
3. ศาลเคยกล่าวกับผมว่า “ศาลไม่มีอคติและไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง” แล้วเหตุใดท่านจึงเขียนในคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผม ว่าผมเป็นผู้ที่เหยียบย่ำหัวใจของคนไทยผู้จงรักภักดีทั้งประเทศ และยังบอกด้วยว่าการปราศรัยของผมตามเวทีต่างๆ เป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก ทั้งที่ยังไม่มีศาลใดตัดสินว่าผมมีความผิดเลย ศาลได้ใช้อคติตัดสินโดยไม่ต้องไต่สวนไปแล้วว่าให้ผมมีความผิดใช่หรือไม่
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอดอาหารของผมจะส่งผลให้ศาลลุกขึ้นมาตอบคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่ต่อตัวผม แต่ต่อคนทั้งสังคมที่กำลังจับจ้องท่านอยู่
อนึ่ง ผมได้รับจดหมายจากพี่น้องหลายคนร้องขอให้ผมยุติการอดอาหาร ผมไม่อาจยุติการอดอาหารและใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่มีสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมได้ เพราะสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมนี้ไม่ได้ถูกปล้นไปจากเฉพาะตัวผม แต่จากคนทั้งชาติ ผมขอขอบคุณทุกความเป็นห่วงที่มีให้ผม และขอให้ทุกท่านที่เป็นห่วงและเข้าใจเจตนารมณ์การต่อสู้ของผม ร่วมกันถามคำถามทั้ง 3 ข้อนี้ต่อศาล ไม่ว่าจะยืนอยู่หน้าศาล การเขียนจดหมาย การโทรถามหรือวิธีการอื่นใด เพื่อให้ศาลได้ตระหนักคิดว่าพวกเขาไม่ใช่เจ้านายประชาชน แต่เป็นผู้รับใช้ประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
เพนกวิ้น-พริษฐ์ ชิวารักษ์
วันที่ 5 เมษายน 64 ณ สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี
.....
Nithinand Yorsaengrat
Yesterday at 4:48 AM ·
เป็นห่วงเพนกวิ้นและทุกคนที่อดอาหารประท้วงอำนาจอยุติธรรมของรัฐ
อดอาหารอาจไม่ตายทันที แต่อดอาหารยาวนานย่อมเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ปล่อยตัวนักศึกษาประชาชนในคดีการเมืองที่ยังไม่ได้รับการตัดสินว่าผิด
ทุกคนมีสิทธิได้รับการประกันตัวตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักสิทธิมนุษยชน และหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ
รัฐไม่มีสิทธิ์และไม่มีหน้าที่ทำลายชีวิตประชาชน
.....
Ponchai Ponkul
March 28 at 7:30 AM ·
:การอดอาหาร การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย Starvation,Metabolic change
คนปกติที่นำ้หนักตัว70กกจะใช้พลังงานราว1800กิโลแคลอรี่/วัน
เขาต้องการพลังงานจากกลูโคสเพื่อการmetabolismในสมองในเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังต้องการพลังงานสำหรับกิจกรรมประจำวันเช่นการหายใจ การดูดซึมอาหารการย่อยอาหาร การเดินเหิน เขาต้องการกรดแอมมิโนเพื่อการสังเคราะห์โปรตีน ต้องการกรดไขมันเพื่อสังเคราะห์ไขมัน
-เมื่อเราเริ่มอดอาหาร เราไม่มีสารอาหารจากภายนอก ร่างกายจำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงาน(substrate) จากที่สะสมไว้ในร่างกาย
-ไกลโคเจน(glycogen)ราว75กรัมที่สะสมในตับจะถูกสลายให้กลายเป็นกลูโคสทันที แต่นั่นไม่พอเพียง ทันทีที่กลูโคสส่วนนี้ถูกใช้หมดไปจากการอดอาหาร ร่างกายจะปรับตัวโดยลดระดับกลูโคสในกระแสเลือดลง ซึ่งเกิดขึ้นในราว15ชั่วโมงแรก
-ต่อมาเพื่อที่จะให้ได้กลูโคส มาเป็นพลังงาน ตับจะมีการสร้างกลูโคส แต่ตับจะเอาสารตั้งต้น(precursor) มาจากไหน? สารตั้งต้นดังกล่าวคือแลคเตท(Lactate) ซึ่งมาจากสองส่วนคือ
ก.เมตาบอลิซึมของเม็ดเลือดแดง กล่าวคือเมื่อเม็ดเลือดแดงใช้กลูโคสเป็นพลังงานจะเกิดของเหลือคือ แลคเตทและไพรูเวท
ข.จากการสลายของglycogen ในกล้ามเนื้อ
-แลคเตทที่ได้จาก(ก),(ข) นี้จะถูกหมุนเวียนไปเป็นสารตั้งต้นเพื่อการสร้างกลูโคสในตับ จากนั้นกลูโคสที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานอีก แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่พอเพียงที่จะรักษาระดับกลูโคส ไม่พอเพียงสำหรับพลังงานทีต้องการในชีวิตประจำวัน
____________________________
ถ้าการอดอาหารยังดำเนินต่อไป จะทำอย่างไรจึงจะได้พลังงานและกลูโคสมามากพอ ถึงตอนนี้เป็นตอนสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า #การสลายโปรตีน (Protein lossหรือProtein degradation)
ร่างกายต้องมีการใช้พลังงานจากโปรตีน กล่าวคือต้องมีการสลายโปรตีนในร่างกายราว75กรัม/วันให้เป็นกรดแอมมิโน(โปรตีนประกอบด้วยกรดแอมมิโนที่มาเรียงกัน) จากนั้นนำกรดแอมมิโนนี้ไปสร้างเป็นกลูโคส โดยตับและไตเป็นอวัยวะสำคัญในขั้นตอนนี้ เรารู้ได้อย่างไรว่ามีการสลายโปรตีนมากถึง75กรัม/วัน เราพบว่าปริมาณไนโตรเจนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะเพิ่มจาก5-7กรัม/วันเป็น8-11กรัม/วันใน2-4วันแรกที่เริ่มอดอาหาร(ค่าไนโตรเจนแทนค่าของโปรตีน)
-โปรตีนที่ถูกสลายนี้จะมาจากส่วนต่างๆคือกล้ามเนื้อ ตับ ตับอ่อน ผนังลำไส้ ........โปรตีนมีหน้าที่สำคัญเช่นเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหาร เป็นระบบภูมิคุ้มกัน.......
ดังนั้นเมื่อมีการสลายโปรตีนจำนวนมากและยาวนานย่อมจะก่อให้เกิดความผิดปกติของการทำงานระบบต่างๆในร่างกาย คนปกตินำ้หนัก70กก แม้จะมีโปรตีนราว6000กรัม กระนั้นก็ตามก็ไม่อาจทนต่อการสลายโปรตีนราว 75กรัม/วันอย่างต่อเนื่องยาวนานได้..........จะต้องหยุดการสลายโปรตีนนี้ แต่จะหยุดการสลายโปรตีนก็ต้องหยุดหรือลดการใช้กลูโคส
-โชคดีมากที่เมื่อถึงวันที่5ของการอดอาหาร จำนวนโปรตีนที่ถูกสลายในกระบวนการข้างบนจะลดลงเหลือเพียง20กรัม/วัน ดูได้จากไนโตรเจนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะจะเหลือเพียง2-4กรัม/วัน(1กรัมของไนโตรเจนในปัสสาวะ=6.25กรัมของโปรตีน) 4กรัมต่อวัน=โปรตีน25กรัม=กล้ามเนื้อ100กรัม
การลดลงของการสลายโปรตีนเป็นกระบวนการปรับตัวของร่างกายเพื่อรักษาชีวิตไว้ มันเกิดขึ้นผ่านกลไกหลายประการ
1.การปรับตัวของสมองในการใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่กลูโคส
ปกติสมองใช้พลังงานจากกลูโคสเท่านั้น สมองสามารถใช้พลังงานจากคีโตนบอดี้(อธิบายข้างล่างข้อ2)ได้อย่างจำกัด แต่เมื่อมีการอดอาหารและไม่สามารถหาแหล่งของกลูโคสได้มากพอ จะมีกลไกการปรับตัวเพื่อขนส่งคีโตนบอดี้ไปใช้ที่สมองมากขึ้น ผลดังกล่าวทำให้สมองใช้กลูโคส(ที่แทบไม่มีอยู่แล้ว)น้อยลง ผลที่ตามมาคือการสลายโปรตีนลดลง ขบวนการนี้เรียก Ketoadaptation
2.มีการใช้พลังงานจากไขมัน(lipid)แทน โดยร่างกายเปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมันและคีโตนบอดี้ สารทั้งสองจะถูกส่งไปใช้เป็นพลังงานสำหรับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายเช่นหัวใจ ตับ ไต กล้ามเนื้อ....ในภาวะที่อดอาหารนี้ 90%ของแหล่งพลังงานมาจากไขมัน
การใช้กรดไขมันและการใช้คีโตนแทน จึงทำให้การใช้กลูโคส(ที่แทบไม่มีอยู่แล้ว)ในร่างกายลดลง เมื่อการใช้กลูโคสลดลง ก็เท่ากับลดการสลายโปรตีน
3.ขณะเดียวกันเมื่ออดอาหาร ร่างกายจะมีการลดการใช้พลังงานลง31% อันเนื่องจากหัวใจเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดลง การทำงานของระบบประสาทลดลง มีการเคลื่อนไหวลดลง activityของกล้ามเนื้อลดลง...........
ทั้งหมดนี้เมื่อรวมๆกันแล้ว Ketoadaptationของสมอง(1)+การเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากไขมันแทน(2)+การลดลงของการใช้พลังงานรวม(3) รวมๆแล้วทำให้มนุษย์สามารถรอดจากการอดอาหารได้ระยะยาวพอควร(หมายถึงดื่มนำ้อย่างเดียว) แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีขีดจำกัดหรือไม่มีการสูญเสียการทำงานของร่างกาย(body function impairment)เลย.... ถ้าการอดอาหารยังดำเนินต่อไปจนนำ้หนักตัวลดลงถึง30-40% โอกาสการเสียชีวิตมี
แต่ในชีวิตจริงนั้นแทบไม่มีการอดอาหารเเบบ complete starvationข้างบนเลย คนไข้หลังผ่าตัดแม้บางรายจะอดอาหารนานแต่ก็มีการให้นำ้เกลือที่ประกอบด้วยกลูโคสและเกลือแร่ ผู้ประท้วงอดอาหารก็มีการทานนมบ้างนำ้หวานบ้าง ตามกรณี
เราพบว่าการได้รับกลูโคสจำนวนเล็กน้อยเพียง100กรัม/วัน(เช่นจากทางนำ้เกลือบ้าง จากการทานนำ้หวานบ้าง) มีส่วนอย่างสำคัญในการลดการสูญเสียไนโตรเจน ลดการสลายโปรตีนลงได้ครึ่งหนึ่ง( Protein sparing effect)
ดังนั้นด้วยกลไกเหล่านี้ คนปกติที่ร่างกายแข็งแรงแต่เดิมจึงสามารถทนต่อการอดอาหารได้หลายเดือน แต่ก็คงทุกข์ทรมาน
___________________
-เขียนขึ้นเพราะกรณีการอดอาหารของน้องเพนกวิ้นและได้ข่าวว่าจะมีน้องๆคนอื่นร่วมอดอาหารตาม
-เขียนในแบบเวอร์ชั่นเพื่อความเข้าใจของคนทั่วไป โดยตัดเอาคำศัพท์ทางการแพทย์ และความซับซ้อนของเรื่องทางชีวเคมีออกไป แต่รักษาเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ไว้
#ขอยกย่องจิตใจที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยวและสันติวิธีของน้องๆทุกคน จะมีอะไรที่สันติวิธีกว่านี้อีก
#ขอให้ทุกคนปลอดภัยครับ
เก็บความจากหนังสือยอดนิยม Seymour I Schwart:Principles of Surgery,บทendocrine and metabolic response to injury,ส่วนmetabolic response consequence to starvation.
Nithinand Yorsaengrat
Yesterday at 4:48 AM ·
เป็นห่วงเพนกวิ้นและทุกคนที่อดอาหารประท้วงอำนาจอยุติธรรมของรัฐ
อดอาหารอาจไม่ตายทันที แต่อดอาหารยาวนานย่อมเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ปล่อยตัวนักศึกษาประชาชนในคดีการเมืองที่ยังไม่ได้รับการตัดสินว่าผิด
ทุกคนมีสิทธิได้รับการประกันตัวตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักสิทธิมนุษยชน และหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ
รัฐไม่มีสิทธิ์และไม่มีหน้าที่ทำลายชีวิตประชาชน
.....
Ponchai Ponkul
March 28 at 7:30 AM ·
:การอดอาหาร การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย Starvation,Metabolic change
คนปกติที่นำ้หนักตัว70กกจะใช้พลังงานราว1800กิโลแคลอรี่/วัน
เขาต้องการพลังงานจากกลูโคสเพื่อการmetabolismในสมองในเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังต้องการพลังงานสำหรับกิจกรรมประจำวันเช่นการหายใจ การดูดซึมอาหารการย่อยอาหาร การเดินเหิน เขาต้องการกรดแอมมิโนเพื่อการสังเคราะห์โปรตีน ต้องการกรดไขมันเพื่อสังเคราะห์ไขมัน
-เมื่อเราเริ่มอดอาหาร เราไม่มีสารอาหารจากภายนอก ร่างกายจำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงาน(substrate) จากที่สะสมไว้ในร่างกาย
-ไกลโคเจน(glycogen)ราว75กรัมที่สะสมในตับจะถูกสลายให้กลายเป็นกลูโคสทันที แต่นั่นไม่พอเพียง ทันทีที่กลูโคสส่วนนี้ถูกใช้หมดไปจากการอดอาหาร ร่างกายจะปรับตัวโดยลดระดับกลูโคสในกระแสเลือดลง ซึ่งเกิดขึ้นในราว15ชั่วโมงแรก
-ต่อมาเพื่อที่จะให้ได้กลูโคส มาเป็นพลังงาน ตับจะมีการสร้างกลูโคส แต่ตับจะเอาสารตั้งต้น(precursor) มาจากไหน? สารตั้งต้นดังกล่าวคือแลคเตท(Lactate) ซึ่งมาจากสองส่วนคือ
ก.เมตาบอลิซึมของเม็ดเลือดแดง กล่าวคือเมื่อเม็ดเลือดแดงใช้กลูโคสเป็นพลังงานจะเกิดของเหลือคือ แลคเตทและไพรูเวท
ข.จากการสลายของglycogen ในกล้ามเนื้อ
-แลคเตทที่ได้จาก(ก),(ข) นี้จะถูกหมุนเวียนไปเป็นสารตั้งต้นเพื่อการสร้างกลูโคสในตับ จากนั้นกลูโคสที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานอีก แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่พอเพียงที่จะรักษาระดับกลูโคส ไม่พอเพียงสำหรับพลังงานทีต้องการในชีวิตประจำวัน
____________________________
ถ้าการอดอาหารยังดำเนินต่อไป จะทำอย่างไรจึงจะได้พลังงานและกลูโคสมามากพอ ถึงตอนนี้เป็นตอนสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า #การสลายโปรตีน (Protein lossหรือProtein degradation)
ร่างกายต้องมีการใช้พลังงานจากโปรตีน กล่าวคือต้องมีการสลายโปรตีนในร่างกายราว75กรัม/วันให้เป็นกรดแอมมิโน(โปรตีนประกอบด้วยกรดแอมมิโนที่มาเรียงกัน) จากนั้นนำกรดแอมมิโนนี้ไปสร้างเป็นกลูโคส โดยตับและไตเป็นอวัยวะสำคัญในขั้นตอนนี้ เรารู้ได้อย่างไรว่ามีการสลายโปรตีนมากถึง75กรัม/วัน เราพบว่าปริมาณไนโตรเจนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะเพิ่มจาก5-7กรัม/วันเป็น8-11กรัม/วันใน2-4วันแรกที่เริ่มอดอาหาร(ค่าไนโตรเจนแทนค่าของโปรตีน)
-โปรตีนที่ถูกสลายนี้จะมาจากส่วนต่างๆคือกล้ามเนื้อ ตับ ตับอ่อน ผนังลำไส้ ........โปรตีนมีหน้าที่สำคัญเช่นเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหาร เป็นระบบภูมิคุ้มกัน.......
ดังนั้นเมื่อมีการสลายโปรตีนจำนวนมากและยาวนานย่อมจะก่อให้เกิดความผิดปกติของการทำงานระบบต่างๆในร่างกาย คนปกตินำ้หนัก70กก แม้จะมีโปรตีนราว6000กรัม กระนั้นก็ตามก็ไม่อาจทนต่อการสลายโปรตีนราว 75กรัม/วันอย่างต่อเนื่องยาวนานได้..........จะต้องหยุดการสลายโปรตีนนี้ แต่จะหยุดการสลายโปรตีนก็ต้องหยุดหรือลดการใช้กลูโคส
-โชคดีมากที่เมื่อถึงวันที่5ของการอดอาหาร จำนวนโปรตีนที่ถูกสลายในกระบวนการข้างบนจะลดลงเหลือเพียง20กรัม/วัน ดูได้จากไนโตรเจนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะจะเหลือเพียง2-4กรัม/วัน(1กรัมของไนโตรเจนในปัสสาวะ=6.25กรัมของโปรตีน) 4กรัมต่อวัน=โปรตีน25กรัม=กล้ามเนื้อ100กรัม
การลดลงของการสลายโปรตีนเป็นกระบวนการปรับตัวของร่างกายเพื่อรักษาชีวิตไว้ มันเกิดขึ้นผ่านกลไกหลายประการ
1.การปรับตัวของสมองในการใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่กลูโคส
ปกติสมองใช้พลังงานจากกลูโคสเท่านั้น สมองสามารถใช้พลังงานจากคีโตนบอดี้(อธิบายข้างล่างข้อ2)ได้อย่างจำกัด แต่เมื่อมีการอดอาหารและไม่สามารถหาแหล่งของกลูโคสได้มากพอ จะมีกลไกการปรับตัวเพื่อขนส่งคีโตนบอดี้ไปใช้ที่สมองมากขึ้น ผลดังกล่าวทำให้สมองใช้กลูโคส(ที่แทบไม่มีอยู่แล้ว)น้อยลง ผลที่ตามมาคือการสลายโปรตีนลดลง ขบวนการนี้เรียก Ketoadaptation
2.มีการใช้พลังงานจากไขมัน(lipid)แทน โดยร่างกายเปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมันและคีโตนบอดี้ สารทั้งสองจะถูกส่งไปใช้เป็นพลังงานสำหรับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายเช่นหัวใจ ตับ ไต กล้ามเนื้อ....ในภาวะที่อดอาหารนี้ 90%ของแหล่งพลังงานมาจากไขมัน
การใช้กรดไขมันและการใช้คีโตนแทน จึงทำให้การใช้กลูโคส(ที่แทบไม่มีอยู่แล้ว)ในร่างกายลดลง เมื่อการใช้กลูโคสลดลง ก็เท่ากับลดการสลายโปรตีน
3.ขณะเดียวกันเมื่ออดอาหาร ร่างกายจะมีการลดการใช้พลังงานลง31% อันเนื่องจากหัวใจเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดลง การทำงานของระบบประสาทลดลง มีการเคลื่อนไหวลดลง activityของกล้ามเนื้อลดลง...........
ทั้งหมดนี้เมื่อรวมๆกันแล้ว Ketoadaptationของสมอง(1)+การเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากไขมันแทน(2)+การลดลงของการใช้พลังงานรวม(3) รวมๆแล้วทำให้มนุษย์สามารถรอดจากการอดอาหารได้ระยะยาวพอควร(หมายถึงดื่มนำ้อย่างเดียว) แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีขีดจำกัดหรือไม่มีการสูญเสียการทำงานของร่างกาย(body function impairment)เลย.... ถ้าการอดอาหารยังดำเนินต่อไปจนนำ้หนักตัวลดลงถึง30-40% โอกาสการเสียชีวิตมี
แต่ในชีวิตจริงนั้นแทบไม่มีการอดอาหารเเบบ complete starvationข้างบนเลย คนไข้หลังผ่าตัดแม้บางรายจะอดอาหารนานแต่ก็มีการให้นำ้เกลือที่ประกอบด้วยกลูโคสและเกลือแร่ ผู้ประท้วงอดอาหารก็มีการทานนมบ้างนำ้หวานบ้าง ตามกรณี
เราพบว่าการได้รับกลูโคสจำนวนเล็กน้อยเพียง100กรัม/วัน(เช่นจากทางนำ้เกลือบ้าง จากการทานนำ้หวานบ้าง) มีส่วนอย่างสำคัญในการลดการสูญเสียไนโตรเจน ลดการสลายโปรตีนลงได้ครึ่งหนึ่ง( Protein sparing effect)
ดังนั้นด้วยกลไกเหล่านี้ คนปกติที่ร่างกายแข็งแรงแต่เดิมจึงสามารถทนต่อการอดอาหารได้หลายเดือน แต่ก็คงทุกข์ทรมาน
___________________
-เขียนขึ้นเพราะกรณีการอดอาหารของน้องเพนกวิ้นและได้ข่าวว่าจะมีน้องๆคนอื่นร่วมอดอาหารตาม
-เขียนในแบบเวอร์ชั่นเพื่อความเข้าใจของคนทั่วไป โดยตัดเอาคำศัพท์ทางการแพทย์ และความซับซ้อนของเรื่องทางชีวเคมีออกไป แต่รักษาเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ไว้
#ขอยกย่องจิตใจที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยวและสันติวิธีของน้องๆทุกคน จะมีอะไรที่สันติวิธีกว่านี้อีก
#ขอให้ทุกคนปลอดภัยครับ
เก็บความจากหนังสือยอดนิยม Seymour I Schwart:Principles of Surgery,บทendocrine and metabolic response to injury,ส่วนmetabolic response consequence to starvation.
สุชาติ สวัสดิ์ศรี
Yesterday at 12:26 AM ·
บทอาศิรวาทถวายแด่ประชาชนผู้สร้างชาติ
ในโอกาสวันจักรี
วันที่ 6 เมษายน 2564
.
กรุงเทพเทพเสกได้ เองฤา
ล้วนแต่ตีนแต่มือ ไพร่สร้าง
เวียงวังวัดสะพรั่งคือ ใครก่อ ขึ้นนา
ใยเทพฉวยชื่ออ้าง ว่าตั้ง กรุงเอง
ปราสาททองอร่ามเรื้อง เรืองสมัย
ทองรีบเร้นจนใคร ขื่นกล้ำ
โอ้ว่าทิพยาลัย สรวงสถิตย์
งามวิสิทธิ์วิเศษล้ำ ก็น้ำตาใคร
เหงื่อไพร่พรูพรั่งพื้น พสุธา
ข้าวจึงเหลืองเต็มนา ทั่วด้าว
ใช่โพสพเทวดา ใดเสก ประทานแฮ
ผองไพร่ไป่ปลูกข้าว ฤาเจ้า มีเสวย
เลือดใครไหลหลั่งป้อง ปฐพิน
เลือดแน่เลือดไพร่ริน พิภพกว้าง
เลือดดินย่อมย้อมดิน แดงเดือดค
ใช่เลือดบนหลังช้าง ที่ล้าง ธรณี
บุญแรงราษฎร์หล่อเลี้ยง โลกา
เป็นหลักค้ำผืนนภา แผ่นหล้า
เหลือยิ่งเอกบุญญา มหาราช ใดเลย
ขอนบคำนับอ้า ไพร่ฟ้า จงเจริญ
.
ประพันธ์โดย พริษฐ์ ชิวารักษ์
#วันจักรี