วันจันทร์, มีนาคม 22, 2564

สถานภาพม็อบขณะนี้อยู่ในขั้นที่ ๕ “รับรู้ความล้มเหลว” นัยว่าความผิดฮ้าร์ดคอร์ทำให้ตำรวจเหี้ย_ม ละหรือ


ประเมินว่าสถานภาพม็อบ 
ไล่ตู่ แก้รัฐธรรมนูญ และปฏิรูปกษัตริย์’ ขณะนี้อยู่ในขั้นที่ ๕ ตามสูตร ๘ ขั้นของ บิล มอยเออร์ (ค.ศ.๑๙๘๗) ที่มีคนเอามาตีความเข้ากับสถานการณ์ในไทย นั่นคือ “รับรู้ความล้มเหลว” เพื่อจะรอขั้นต่อไป “ชนะใจคนส่วนใหญ่”

สืบเนื่องจากมีหลาย เซเล็บในฟาก รีซิสแต๊นซ์ออกมาบอกว่าเด็กเอ๋ย พอเถอะ หยุดก่อน ตอนนี้กระแสแผ่ว แล้วก็มี แนวร่วม ได้รับบาดเจ็บ ขณะพวกก่อเหตุขี่มอเตอร์ไซค์หนีเอาตัวรอดได้ แม้นจะพบว่าฮ้าร์ดคอร์บางตัว น่าสงสัย

เหมาเอาว่าเริ่มจากข้อสังเกตุของ ปุ๊ ฟ้าเดียวกัน “ทำไมเยาวชน ๑๗ ปีชื่อ 'ภูมิ' ไม่โดนจับ เห็นชอบไปยั่วยุ ตร. ในม็อบประจำ” นัยว่าเยาวชนคนนี้เป็นคนเดียวกับที่เป็นพยานให้ตำรวจในคดีฟ้อง ๑๑๒ แอมมี่ ว่าเผาซุ้มรูป ร.๑๐ และเป็นคนรื้อตู้คอนเทนเนอร์ครั้งล่าสุด

ตำรวจอ้างเหตุผู้ชุมนุมรุนแรง ในการงัดตู้คอนเทนเนอร์สนามหลวงล้มไปตู้หนึ่ง รวมทั้งขว้างปาขวด อิฐ และประทัดใส่แนวตำรวจ ทำให้หน่วยควบคุมฝูงชนยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง พร้อมทั้งลุยไล่ตีผู้ชุมนุมแถวโน้น ถนนข้าวสารและสะพานวันชาติ

Baramee Chaiyarat โพสต์ “เหนื่อยจากเหตุการณ์เมื่อคืน หลังจากต้องเดินยาวๆ หลายยก...เกือบโดนตี เกือบโดนยิงหลายรอบภายใต้การยั่วยุของทั้งสองฝ่าย...วัยรุ่นขี่มอเตอร์ไซค์ถือขวดขว้างเข้าใส่กลุ่มตำรวจแล้วขับหนีออกไป...

ผมรู้ว่าพวกคุณกล้า ผมรู้ว่าพวกคุณมีของ แต่พวกคุณมันไม่แน่จริง ลอบกัดเขาแล้วก็หนีไป ปล่อยให้เพื่อนร่วมชุมนุมของคุณทั้งเด็ก ผู้หญิงและคนแก่ที่เขาไม่มีของ ไม่มีรถเหมือนพวกคุณต้องรับชะตากรรม” แกนนำสมัชชาคนจนมีข้อแนะ

“ถึงพวกที่อยากใช้ความรุนแรงว่าทำไมพวกคุณไม่กล้าหาญที่จะตั้งกลุ่มของพวกคุณเอง ไปชุมนุมต่างหากคนละที่คนละทิศคนละทางกันเลย จะได้ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้พวกเราด้วย” เข้าเกณฑ์ข้อสี่ที่ ActLab Thailand สาธยาย

ว่าเป็น “หลุมพรางกับดัก คือการคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแนวคิดที่ไม่เป็นระบบ วิธีคิดแบบตัดสิน มีภาพลักษณ์หัวรุนแรง มองปัญหาแบบแยกส่วน” นำไปสู่การ “เห็นข้อจำกัดของการประท้วงที่ทำอยู่ เริ่มหมดหวัง”


ในเวลาเดียวกัน “การชุมนุมเรียกคนมาได้น้อยลง” แต่ Yingcheep Atchanont เชื่อว่า “ม็อบไม่ได้แผ่ว คนที่คิดได้แล้ว คนที่เคยรู้สึกแล้ว คนที่เคยมาลงถนนแล้ว ไม่เคยหายไปไหน ทุกคนยังอยู่ตรงนั้นที่เดิม รอการเรียก...

แทบจะเป็นที่รู้กันแล้วว่ามีความเสี่ยงรุนแรงทุกครั้ง คนที่ไม่พร้อมก็ไม่ไป...แต่ความตื่นตัวทางการเมืองยังเหมือนเดิม...สภาพสังคมการเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว คนที่ออกมาชุมนุมนั้นต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง

เขาไม่ได้มาเพราะชอบแกนนำ...เขามาเพราะเขา ทนไม่ได้ดังนั้น ถ้าคนที่เคยโดดเด่นจะไม่อยู่สักช่วงหนึ่ง โดยธรรมชาติก็จะเปิดพื้นที่ให้คนหน้าใหม่ๆ โดดเด่นขึ้นมาแทน ตอนนี้บรรยากาศก็กำลังเดินไปทางนั้น” ข้อสำคัญต้องรำลึกว่า

“การชุมนุมในบ้านเราไม่ได้ถูกปฏิบัติในฐานะเสรีภาพขั้นพื้นฐาน แต่เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้ให้ได้มา” ด้วยการคิดคำนึงถึงสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ที่ยังมีกลุ่มคนที่เห็นว่าอยู่กับเผด็จการได้ ตราบเท่าที่ไม่เอาตัวเราไปคัดง้างกับเขา ไม่นับพวกห้อยโหนเอาประโยชน์เข้าตัว

“ตำรวจ ทหาร และองคาพยพต่างๆ ของรัฐ มีกฎหมายจำนวนมากในมือพร้อมจะใช้กับผู้ชุมนุมไม่เลือกรูปแบบเพื่อหยุดการชุมนุมให้ได้ รัฐยังจ้องหาจังหวะที่จะใช้กำลัง ใช้ความรุนแรง ตี กระทืบ ยิงกระสุนยาง” นำร่องไปสู่กระสุนจริง

“แถมยังมี คนที่ทำตัวเหมือนประชาชนฝ่ายตรงข้ามมาดักตี ทำร้าย” ดัง Voice TV รายงาน “กลุ่มปกป้องสถาบันชกหน้า และสาดน้ำใส่หน้าชายคนหนึ่ง ซึ่งชูสามนิ้วที่หอศิลป์ฯ และเตะท้องหญิงอีกคน พร้อมถามว่า มึงอยากตายเหรอไอ้เหี้_’

โดยเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ทำให้ “ผู้ชุมนุมจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะโกรธแค้น เกลียดชัง และสิ้นหวัง ต้องการยกระดับไปสู่การเห็นผลที่เร็วขึ้น” ไม่ต่างจากสถานภาพเมื่อปี ๕๓ คนรุ่นนั้นจึงได้ออกมาเรียกร้องคนรุ่นนี้หยุดก่อน ถอย

อย่างไรก็ดี ยิ่งชีพ ไอลอว์ เสนอว่า “การชุมนุมแบบไม่มีการจัดการจึงไม่เหมาะสมกับเวลา...เรากำลังต้องการการชุมนุมที่มีการออกแบบอย่างดีที่สุด” มียุทธศาสตร์ มีแกนนำ “ซึ่งยังรอคอยจังหวะและโอกาสขึ้นมาทดแทนและทดลองกัน ในก้าวต่อๆ ไป

ใครทำไม่ไหวแบกรับไม่ไหวก็แค่พักไป...ยังไงความเปลี่ยนแปลงก็จะมาถึง ไม่รู้ว่าเมื่อไร เร็วช้าไม่สำคัญเท่าเมื่อเปลี่ยนแล้วจะกลายเป็นอะไร” หวังแต่ว่า ผ่านปี ๕๓ มาอย่างหนำกันแล้ว อย่าให้มันซ้ำรอยเดิมอีกในปี ๖๔

(https://www.facebook.com/pow.ilaw/posts/4022354121128550, https://www.facebook.com/ActLabThailand/posts/1781893185320366 และ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1089582154785436&id=100012009857983)