วันเสาร์, มีนาคม 20, 2564

‘ครช. และเครือข่าย’ พร้อมแม่ ‘เพนกวิน-ไผ่-รุ้ง’ และนักกิจกรรมที่โดนคดี 112 เดินหน้ายื่นหนังสือองค์กรระหว่างประเทศ “สหภาพยุโรป-สหประชาชาติ” ขอช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อผู้แสดงความเห็นต่างทางการเมือง



The Reporters
8h ·

HUMANITY: ‘ครช. และเครือข่าย’ พร้อมแม่ ‘เพนกวิน-ไผ่-รุ้ง’ และนักกิจกรรมที่โดนคดี 112 เดินหน้ายื่นหนังสือองค์กรระหว่างประเทศ “สหภาพยุโรป-สหประชาชาติ” ขอช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อผู้แสดงความเห็นต่างทางการเมือง
วันนี้ (18 มี.ค. 64) เวลา 11.30 น. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ร่วมกับองค์กรเครือข่าย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ พาแม่แกนนำราษฎรที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ได้แก่ แม่เพนกวิน แม่ไผ่ แม่รุ้ง และนักกิจกรรมที่เป็นผู้ต้องหาคดี 112 ได้แก่ มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล และ ซัน-วัชรากร ไชยแก้ว เข้าพบ อุปทูตการเมืองสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยให้ช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่มีความคิดต่างทางการเมืองในประเทศไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ กล่าวว่า มาที่ EU เพราะเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และที่ผ่านมา ในกรณีของผู้ต้องหาคดีชุมนุมทางการเมือง เจ้าหน้าที่ EU ประเทศต่างๆ ก็ไปสังเกตการณ์ในชั้นศาล และยังมีมาตรการคว่ำบาตรผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยจากการเข้าพบ อุปทูตจะนำข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมในวันนี้ รายงานไปยังสำนักงานใหญ่ของ EU ที่มีอำนาจตัดสินใจ พร้อมยืนยันในหลักการของ EU ที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน จะหารือและดำเนินการ โดยข้อมูลที่ได้รับฟังจากทุกคนวันนี้ ทางอุปทูตเผยว่า บางอย่างไม่เคยได้ยินในชั้นศาลที่ไปสังเกตการณ์มาก่อน
ต่อมา เวลา 14.00 น. ทั้งหมดได้ เดินทางไปยังองค์การสหประชาชาติเพื่อเข้าพบเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพันธกิจโดยตรงในการส่งเสริมการปกป้องสิทธิมนุษยชน และมีกลไกดำเนินการ
รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ เปิดเผยว่า ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ UN ว่ากำลังมีการเขียนจดหมายไปยังหน่วยงานที่ยังไม่ขอเปิดเผย ให้คืนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับผู้ถูกคุมขัง โดยวันนี้ได้ร้องเรียนถึงสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว และหากจะประกันตัวไม่ได้ ก็ขอให้สร้างความปลอดภัยในเรือนจำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ UN จะไปประสานส่วนต่างๆ และส่วนกลาง UN ที่มีบทบาทด้านกลไกระหว่างประเทศ ให้กระตุ้นเรื่องการใช้กฎหมาย ม.112 ด้วย
นางพริ้ม บุญภัทรรักษา แม่ของไผ่ จตุภัทร์ กล่าวว่า วันนี้มาเรียกร้องสิทธิพื้นฐาน ในเมื่อทำตามกฎหมายแล้วแต่กฎหมายยังไม่เป็นสากล มีการเลือกปฏิบัติ จึงมาที่ UN เพื่อส่งเสียงให้ดังขึ้นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ แม่ของเพนกวิน พริษฐ์ กล่าวว่า จากการพูดคุย ได้รู้ว่าเจ้าหน้าที่ UN ได้รับข้อมูลจากรัฐไทย ไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง วันนี้จึงได้บอกเล่าความจริงและให้เขาได้หารือว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ส่วนสิ่งที่เรียกร้องก็ไม่ได้เกินความสามารถของรัฐบาลไทย
ขณะที่บรรยากาศด้านหน้าองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย ได้มีมวลชนจำนวนหนึ่งมาร่วมให้กำลังใจ และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการแต่งกายชุดนักโทษ พร้อมชูป้ายข้อความเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมืองที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #สหภาพยุโรป #องค์การสหประชาชาติ








Voice TV was live.
16h ·

ครช.ยื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับนักกิจกรรม

LIVE! บรรยากาศ ครช.ร่วมกับองค์กรเครือข่าย ร่วมเป็นส่วนนึงในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเพื่อนนักกิจกรรมของเราของเราที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ
โดยกิจกรรมยื่นหนังสือต่อองค์กรนานาชาติ ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564
เวลา 10.00 น. เข้าพบและยื่นจดหมายต่ออุปทูต สถานทูตสหรัฐอเมริกา
11.30 น. เข้าพบและยื่นจดหมายต่อ Political Counsellor สหภาพยุโรป
14.00 น. เข้าพบและยื่นจดหมายต่อข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ และการแสดงเชิงสัญลักษณ์จากกลุ่มเพื่อนนักโทษทางการเมือง
เพื่อนเราเป็นนักสู้ ไม่ใช่นักโทษ
#ปล่อยเพื่อนเรา
.....


เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส.
16h ·

[English is below]
เนื้อหาจดหมายที่เครือข่ายนักวิชาการและประชาชนยื่นต่อสถานฑูตสหรัฐอเมริกาเรื่อง #การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง พร้อมด้วยจดหมายถึงอียู และ ยูเอ็น ในช่องคอมเม้นต์)
.
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ครช.ร่วมกับองค์กรเครือข่าย ยื่นหนังสือต่อองค์กรนานาชาติ เข้าพบและยื่นจดหมายต่ออุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
.
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
.
เรียน Mr. Michael Heath
อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
.
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะนอกจากเป็นการแปลงโฉมคณะรัฐประหารผ่านกติกาที่บิดเบี้ยวและวิธีการที่ฉ้อฉล ยังเป็นเงื่อนไขให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางผ่านทางหน่วยงานรัฐ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรณีการชุมนุมที่นำโดยนิสิตนักศึกษาในปี 2563 ที่ผ่านมาที่มีการขัดขวางและสลายการชุมนุมอย่างผิดหลักการและขั้นตอนสากล มีการใช้กำลังอย่างไม่ได้สัดส่วนกับการชุมนุม มีการขู่คุกคามผู้ชุมนุมทั้งในสถานศึกษาและที่พักอาศัย รวมถึงมีการตั้งข้อหาและดำเนินคดีแกนนำและผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากเว้นระยะการใช้มาประมาณ 2 ปี
.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงกลางเดือนมีนาคม 2564 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 อย่างน้อย 73 คน ใน 63 คดี โดยในจำนวนของผู้ถูกจับกุม 18 คน มีเพียง 6 คนที่ได้รับสิทธิประกันตัว ส่วนที่เหลืออีก 12 คนไม่ได้รับสิทธิประกันตัว แม้บางคนจะเป็นนักศึกษาและอยู่ระหว่างการศึกษาเล่าเรียน เช่น นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ไม่นับรวมผู้ต้องหาคนอื่นที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะหลบหนีหรือก่อความยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นนายอานนท์ นำภา นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข หรือนายภาณุพงศ์ จาดนอก นอกจากนี้ ยังมีการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การพาตัวผู้ต้องหาจากศาลไปยังเรือนจำก่อนที่ผู้ต้องหาจะลงนามรับทราบคำสั่งศาลในคำขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ขณะที่มีแนวโน้มว่านักศึกษาและประชาชนในส่วนที่เหลือจะถูกจับกุมตามหมายแล้วไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวในลักษณะเดียวกัน
.
การปฏิเสธคำขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาโดยอ้างเหตุผลว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันถือว่าขัดหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทั้งในระดับสากลและที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เพราะเป็นการตัดสินล่วงหน้าว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดทั้งที่กระบวนการไต่สวนพิจารณาคดียังไม่ได้เริ่ม ไม่นับรวมปัญหาของมาตรา 112 ทั้งในส่วนของเนื้อหา การตีความ และการบังคับใช้ ที่หลายส่วนในสังคมได้รณรงค์ให้มีการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง การฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ชุมนุมด้วยมาตรา 112 จึงเป็นส่วนหนึ่งของการอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการขจัดผู้เห็นต่างหรือศัตรูทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเข้มข้น ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยตกต่ำ และส่งผลให้ประเทศไทยถอยห่างออกจากความเป็นนิติรัฐ
.
เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน รวมถึงผู้ต้องหาและญาติ จึงเดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อให้ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผดุงไว้ซึ่งหลักนิติรัฐและนิติธรรม ได้ตระหนักในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และสื่อสารไปยังรัฐบาลไทยให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที
.
ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา และประชาชน
19 มีนาคม 2564
.
Human Rights Violations in Thailand
.
Mr. Michael Heath
Charge d’ Affaires
US Embassy in Thailand
.
Dear Charge d’ Affaires Michael Heath,
.
Situations regarding human rights violations in Thailand continue to deteriorate since the military coup on May 22, 2014. The “elected” government has not rectified them. This is essentially a result of the whitewash of the junta government through the 2019 election, which was plagued with distorted election rules and questionable electoral processes. Worse yet, the election has created conditions in which violations of human rights widely occurred through state mechanisms, laws, and the justice process. The case in point is the student-led anti-government protests in 2020, which were faced with harsh obstructive and suppressive measures which were against internationally accepted crowd dispersal protocols. There have been disproportionate uses of force against the protesters, harassments of the protesters on campuses and at their residences, legal charges and prosecutions of protest leaders with serious offenses involving the Emergency Decree, Article 116, and the draconian Article 112, which has not been exploited for 2 years.
.
The Thai Lawyers for Human Rights Center has reported that between the end of November 2020 and early March 2021, at least 73 individuals in 63 cases have been charged with Article 112 for expressing their political rights and participating in protests. Of those 18 detained, only 6 have been granted bail. The remaining 12 individuals have been repeatedly denied bail. Some of these are university students whose school is still in session. Mr. Parit Chiwarak, Miss Panusaya Sithijirawattanakul, and Mr. Jatupat Boonpattararaksa are some of these students. This is not to mention other suspects who show no motive to flee or tamper with evidence including Mr. Anon Nampa, Mr. Somyot Pruksakasemsuk, and Mr. Panupong Chadnok. In addition to this, mandatory legal procedures have been blatantly ignored. For instance, suspects were taken to the prison even before they signed their names on the court order regarding their temporary release requests. It is very likely that the remaining protesters, be they students or non-students, will be arrested and faced the same treatment given this questionable denial of their temporary release.
.
Such denial, which claims that the suspect will likely commit a similar offense, is against the basic legal and judicial assumption endorsed in both the international practice and the current Thai Constitution. That is, suspects or defendants are presumed innocent before proven guilty by the court’s final decision. Such denial is based on a misguided assumption that the suspects are guilty before the trial process even starts. This is not to mention problems regarding the exploitation of Article 112 in terms of its content, interpretation, and enforcement; these problems have consistently been widely addressed and discussed by different concerned sectors in the Thai society. The use of Article 112 is on the rise. It is part of a larger scheme in exploiting laws to destroy political opponents or dissidents. As a result, the Thai justice system will continue to lose the public’s trust, which in turn will cause Thailand to slip further away from its status as a legal state.
.
Our network of academics, students, citizens, suspects and their family members are here today at the Embassy of the United States of America to urge the United States, as a country advocating democracy, the protection of people’s rights and freedoms, and the upholding of the principle of the legal state and the rule of law, to consider the violations of human rights in Thailand, particularly those occurring in the legal and judicial systems, and send a message to the Thai government that it needs to end them immediately.
.
.
With our strong faith in the people’s rights and freedoms in a democratic system.
.
Network of Academics, Students, and Citizens
March 19, 2021