วันพุธ, กรกฎาคม 13, 2565

NASA เผยภาพสุดน่าทึ่งชุดแรก จาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ดวงตาจักรวาล


Environman
6h 

NASA เผยภาพสุดน่าทึ่งชุดแรก จาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ดวงตาจักรวาล
.
12 กรกฎาคม 2022 องค์การนาซา ร่วมกับองค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดา เผยแพร่ภาพถ่ายสีที่มีความละเอียดสูงสุดจากห้วงอวกาศ นับเป็นภาพแรกที่ได้จากการทำงานเต็มรูปแบบของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์
.
ดังนี้ (เรียงตามลำดับภาพที่แสดง)
1. Carina Nebula หรือเนบิวลากระดูกงูเรือ เป็นเนบิวลาที่มีความสว่างที่สุดเนบิวลาหนึ่งบนท้องฟ้า สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากประเทศไทยในพื้นที่ปราศจากแสงรบกวน Carina Nebula อยู่ห่างออกไป 7,600 ปีแสงในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือในซีกฟ้าใต้ และเป็นแหล่งอนุบาลดาวฤกษ์เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกหลายเท่า
2. Stephan’s Quintet กระจุกกาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไป 290 ล้านปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวเปกาซัส เป็น compact galaxy group แรกที่เคยมีการค้นพบ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 กาแล็กซีสี่กาแล็กซีในภาพนี้ถูกยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง และกำลังถูกเหวี่ยงไปรอบๆ ก่อนที่จะถูกแรงโน้มถ่วงดึงดูดให้ค่อยๆ รวมตัวกันกลายเป็นกาแล็กซีขนาดยักษ์ในอนาคต เผยให้เห็นถึงมวลสารระหว่างกาแล็กซีที่ชนกันเกิดเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยคลื่นอัดกระแทกขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ที่เกิดขึ้นจากการที่กาแล็กซีหนึ่งในหมู่กาแล็กซีนี้กำลังร่วงหล่นลงสู่ใจกลางของหมู่กาแล็กซีด้วยความเร็วอันมหาศาล จึงเปล่งแสงของไฮโดรเจนออกมา
3. Southern Ring Nebula เนบิวลาวงแหวนใต้นี้เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) หรือกลุ่มก้อนแก๊สที่กำลังขยายตัวอยู่รอบๆ ดาวฤกษ์ที่กำลังตายลง เนบิวลานี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางครึ่งปีแสง และห่างออกไปจากโลกถึง 2000 ปีแสง ช่วงคลื่นอินฟราเรด
4. กระจุกกาแล็กซี SMACS 0723 ที่อยู่ห่างจากโลกไปราว 4,600 ล้านปีแสง เป็นภาพสีความละเอียดสูงจากห้วงลึกอวกาศ
5. WASP-96 b ดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไป 1,150 ปีแสง มีมวลครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี โคจรรอบดาวฤกษ์ทุกๆ 3.4 วัน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2014 อย่างไรก็ตาม ภาพแรกที่บันทึกของดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่ใช่ภาพของดาวเคราะห์โดยตรง แต่จะเป็นภาพที่ได้จากอุปกรณ์ที่ทำการบันทึกสเปกตรัมของแสงที่มาจากดาวเคราะห์ ดังนั้นภาพที่เห็นนั้นจึงมีลักษณะคล้ายกับกราฟที่แสดงแถบดูดกลืนของแก๊สในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นี้
.
James Webb Space Telescope (JWST) ถือเป็นเรือธงลำใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศนาซา และเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 โดย ภารกิจหนึ่งของ JWST นั้นคือการค้นหากาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไป ยิ่งวัตถุอยู่ห่างออกไปจากผู้สังเกตเท่าใด แสงที่ออกมาจากวัตถุนั้นก็ยิ่งจะต้องใช้เวลาเดินทางนานมากขึ้นเท่านั้น การสังเกตกาแล็กซีที่ห่างไกลออกไปจึงเทียบได้กับการย้อนอดีตไปเพื่อหากาแล็กซีแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในเอกภพ เพื่อที่จะบอกเราได้ถึงการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซีในเอกภพของเรา ซึ่งวัตถุที่ห่างไกลไปนั้น มาพร้อมกับแสงอันริบหรี่ที่สังเกตได้ยาก
.
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ JWST อาจจะเห็นกาแล็กซีได้ไกลออกไปถึงกว่า 13,600 ล้านปีแสง หรือแสงจากกาแล็กซีที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นขณะที่เอกภพมีอายุเพียง 1% ของอายุปัจจุบัน JWST จะสามารถสังเกตการณ์ทั้งภาพในอดีตอันไกลโพ้นของกาแล็กซีเก่าแก่ที่อยู่ห่างไกลออกไป และกาแล็กซีใกล้เคียงที่อยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของกาแล็กซี
.
นอกจากนี้ ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในกาแล็กซีนั้นก่อกำเนิดขึ้นท่ามกลางฝุ่นอันหนาทึบของเนบิวลาที่คอยบดบังแสงจากมันเอาไว้ การศึกษาวัตถุเหล่านี้จึงทำได้เพียงในช่วงคลื่นอินฟราเรดที่สามารถทะลุทะลวงกลุ่มฝุ่นอันหนาทึบออกมาได้ JWST จะสามารถส่องทะลุเนบิวลาก่อกำเนิดไปเห็นกระบวนการกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ที่เรายังไม่เคยเห็นมาก่อน JWST ยังอาจจะช่วยค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะด้วยอุปกรณ์ coronagraph ที่สามารถบดบังแสงจากดาวฤกษ์เพื่อเปิดเผยให้เห็นดาวเคราะห์อันริบหรี่ที่โคจรอยู่รอบๆ ได้ นอกจากนี้ โมเลกุลที่สำคัญต่อชีวิตหลายโมเลกุล เช่น ออกซิเจน และน้ำ นั้นจะมีแถบการดูดกลืนแสงที่เป็นเอกลักษณ์ในช่วงอินฟราเรด การสังเกตการณ์สเปกตรัมในช่วงคลื่นอินฟราเรดของ JWST จึงทำให้เราสามารถบอกได้ถึงองค์ประกอบของโลกต่างดาว และวันหนึ่งอาจจะนำไปสู่การค้นพบหลักฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลกก็เป็นได้
.
กาแล็กซีที่ห่างไกลออกไปเช่นนี้สังเกตเห็นได้ยากมาก เนื่องจากแสงอันริบหรี่ที่ต้องอาศัยพื้นที่รับแสงขนาดใหญ่ และแสงที่เลื่อนออกไปอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด เนื่องจากระยะห่างที่อยู่ไกลออกไปมาก เป้าหมายนี้จึงเป็นบททดสอบศักยภาพอันสำคัญของ JWST ซึ่งอาจจะช่วยเผยให้เห็นถึงกาแล็กซีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เคยมีใครพบมาก่อน รวมถึงกาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไปไกลเสียจนแสงที่ออกมานั้นอาจจะถูกปล่อยออกมาตั้งแต่ขณะที่เอกภพมีอายุเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของอายุเอกภพปัจจุบัน ภาพที่เห็นของวัตถุนี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีถึงศักยภาพที่ JWST จะสามารถบันทึกภาพ deep field ในอนาคตอันใกล้
.
ภาพเหล่านี้เป็นเพียงภาพ “เปิดตัว” ของศักราชใหม่แห่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ จากนี้ JWST จะเริ่มปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง เพื่อค้นคว้าและสังเกตการณ์เอกภพ ในรูปแบบที่ไม่เคยมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือชิ้นใดของโลกที่เคยทำได้มาก่อน
.
ติดตามภาพและข้อมูลที่เผยแพร่ได้ที่
https://www.nasa.gov/webbfirstimages
ที่มา NASA, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
https://www.facebook.com/100064816535612/posts/406486568188558/?d=n
https://www.facebook.com/1523107561151019/posts/4969684043160003/?d=n
https://www.facebook.com/NASAWebb/
https://www.nasa.gov/.../nasa-reveals-webb-telescope.../...


Carina Nebula

Panjit Pakdeesujarit
1. Carina Nebula หรือเนบิวลากระดูกงูเรือ เป็นเนบิวลาที่มีความสว่างที่สุดเนบิวลาหนึ่งบนท้องฟ้า สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากประเทศไทยในพื้นที่ปราศจากแสงรบกวน Carina Nebula อยู่ห่างออกไป 7,600 ปีแสงในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือในซีกฟ้าใต้ และเป็นแหล่งอนุบาลดาวฤกษ์เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกหลายเท่า


Stephan's Quintet

Panjit Pakdeesujarit
2. Stephan’s Quintet กระจุกกาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไป 290 ล้านปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวเปกาซัส เป็น compact galaxy group แรกที่เคยมีการค้นพบ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 กาแล็กซีสี่กาแล็กซีในภาพนี้ถูกยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง และกำลังถูกเหวี่ยงไปรอบๆ ก่อนที่จะถูกแรงโน้มถ่วงดึงดูดให้ค่อยๆ รวมตัวกันกลายเป็นกาแล็กซีขนาดยักษ์ในอนาคต เผยให้เห็นถึงมวลสารระหว่างกาแล็กซีที่ชนกันเกิดเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยคลื่นอัดกระแทกขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ที่เกิดขึ้นจากการที่กาแล็กซีหนึ่งในหมู่กาแล็กซีนี้กำลังร่วงหล่นลงสู่ใจกลางของหมู่กาแล็กซีด้วยความเร็วอันมหาศาล จึงเปล่งแสงของไฮโดรเจนออกมา


Southern Ring Nebula

Panjit Pakdeesujarit
3. Southern Ring Nebula เนบิวลาวงแหวนใต้นี้เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) หรือกลุ่มก้อนแก๊สที่กำลังขยายตัวอยู่รอบๆ ดาวฤกษ์ที่กำลังตายลง เนบิวลานี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางครึ่งปีแสง และห่างออกไปจากโลกถึง 2000 ปีแสง ช่วงคลื่นอินฟราเรด


SMACS 0723

Panjit Pakdeesujarit
4. กระจุกกาแล็กซี SMACS 0723 ที่อยู่ห่างจากโลกไปราว 4,600 ล้านปีแสง เป็นภาพสีความละเอียดสูงจากห้วงลึกอวกาศ


WASP-96 b

Panjit Pakdeesujarit
5. WASP-96 b ดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไป 1,150 ปีแสง มีมวลครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี โคจรรอบดาวฤกษ์ทุกๆ 3.4 วัน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2014 อย่างไรก็ตาม ภาพแรกที่บันทึกของดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่ใช่ภาพของดาวเคราะห์โดยตรง แต่จะเป็นภาพที่ได้จากอุปกรณ์ที่ทำการบันทึกสเปกตรัมของแสงที่มาจากดาวเคราะห์ ดังนั้นภาพที่เห็นนั้นจึงมีลักษณะคล้ายกับกราฟที่แสดงแถบดูดกลืนของแก๊สในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นี้


James Webb Space Telescope

Panjit Pakdeesujarit
James Webb Space Telescope (JWST) ถือเป็นเรือธงลำใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศนาซา และเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 โดย ภารกิจหนึ่งของ JWST นั้นคือการค้นหากาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไป ยิ่งวัตถุอยู่ห่างออกไปจากผู้สังเกตเท่าใด แสงที่ออกมาจากวัตถุนั้นก็ยิ่งจะต้องใช้เวลาเดินทางนานมากขึ้นเท่านั้น การสังเกตกาแล็กซีที่ห่างไกลออกไปจึงเทียบได้กับการย้อนอดีตไปเพื่อหากาแล็กซีแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในเอกภพ เพื่อที่จะบอกเราได้ถึงการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซีในเอกภพของเรา ซึ่งวัตถุที่ห่างไกลไปนั้น มาพร้อมกับแสงอันริบหรี่ที่สังเกตได้ยาก
.
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ JWST อาจจะเห็นกาแล็กซีได้ไกลออกไปถึงกว่า 13,600 ล้านปีแสง หรือแสงจากกาแล็กซีที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นขณะที่เอกภพมีอายุเพียง 1% ของอายุปัจจุบัน JWST จะสามารถสังเกตการณ์ทั้งภาพในอดีตอันไกลโพ้นของกาแล็กซีเก่าแก่ที่อยู่ห่างไกลออกไป และกาแล็กซีใกล้เคียงที่อยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของกาแล็กซี

Environman
อ่านข้อมูลแต่ละภาพแบบละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/100064816535612/posts/408996321270916/?d=n