วันพุธ, กรกฎาคม 13, 2565

ในโรงเรียน ระบบอำนาจนิยมเกิดจากคน 2 กลุ่ม คือคุณครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ซึ่งมีอำนาจมากกว่า


We’re all voters: เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง
19h

"ในโรงเรียน ระบบอำนาจนิยมเกิดจากคน 2 กลุ่ม คือคุณครู บุคลากรในโรงเรียนที่มีอำนาจมากกว่า และกลุ่มนักเรียนที่มีอำนาจน้อยกว่าค่ะ อำนาจนิยมทำให้เกิดการกดขี่ต่างๆ จนนำไปสู่การริดรอนสิทธิ"
.
โลกโซเชียลรู้จัก 'คุณสุพิชฌาย์ ชัยลอม' หรือ 'เมนู' หนึ่งในกลุ่มเยาวชนผู้เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกปลายเดือนสิงหาคม 2562 จากการปราศรัยบนเวที #มอชองัดข้อเผด็จการ
.
“หนูคือสิ่งที่ระบบการศึกษาเรียกว่าความผิดพลาด!” เธอประกาศ
.
หลังจากนั้น คุณเมนูปราฏตัวบ่อยหนในหน้าสื่อและบนเวทีการชุมนุมหลายแห่ง และประมาณบ่าย 3 ของวันที่ 28 เมษายน 2565 เธอไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊คว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาพบถึงที่พัก
.
จากสิ่งที่เธอประกาศบนเวทีในวันวานว่าเป็นสิ่งผิดพลาดของระบบการศึกษา วันนี้เราคุยกับคุณเมนูว่า อะไรกันแน่ที่พลาดผิด
.
𝐐: ได้ยินบ่อยเรื่องอำนาจนิยมในโรงเรียน มันคืออะไรครับ
.
𝐀: อำนาจนิยมคือระบบที่ทำให้คนบางกลุ่มสามารถควบคุม บังคับ โน้มน้าวคนอีกกลุ่มได้แม้ว่าคนกลุ่มนั้นจะพอใจหรือไม่พอใจค่ะ ซึ่งระบบนี้เกิดจากหลายๆ ปัจจัย ทั้ง อายุ อาชีพ เพศ ตำแหน่ง หน้าตา และเป็นระบบที่มีอยู่ในทุกๆ สังคม
.
ในโรงเรียน ระบบอำนาจนิยมเกิดจากคน 2 กลุ่ม คือคุณครู บุคลากรในโรงเรียนที่มีอำนาจมากกว่า และ กลุ่มนักเรียนที่มีอำนาจน้อยกว่าค่ะ อำนาจนิยมทำให้เกิดการกดขี่ต่างๆ จนนำไปสู่การริดรอนสิทธิ
.
เช่น การบังคับเรียนวิชาต่างๆ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพราะไม่มีการประเมินหลักสูตรที่ถูกต้อง กฎระเบียบการแต่งกายที่ไม่จำเป็นทำให้เกิดการริดรอนสิทธิในร่างกายนักเรียน หรือการทำโทษโดยทำร้ายร่างกายและจิตใจ เป็นต้น
.
𝐐: ครูเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่ 2 ชุดความคิดเเบบนี้ มีปัญหาอย่างไร รวมถึงบางคนมองว่า เด็กสมัยใหม่จะตีตนเสมอผู้ใหญ่ อยากอธิบายอย่างไรครับ
.
𝐀: ชุดความคิดนี้มีปัญหาอยู่ที่ 'สถาบันครอบครัว' และวัฒนธรรมทางความคิดเกี่ยวกับครอบครัวมาตั้งแต่ต้น สังคมไทยมักมีค่านิยมหรือชุดความคิดเกี่ยวกับครอบครัวที่ริดรอนสิทธิของคนเป็นลูก เช่น ลูกคือสมบัติของพ่อแม่ พ่อแม่ต้องถูกเสมอ ลูกต้องรู้จักกตัญญู
.
ชุดความคิดนี้ทำให้ขาดพื้นที่แห่งการรับฟังซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความห่างเหินในครอบครัว พ่อแม่มักวาดอนาคตและกำหนดเส้นทางชีวิตให้ลูก ทำให้ความต้องการของคนเป็นลูกจริงๆ ไม่ถูกรับฟัง และถูกปฏิบัติเหมือนสมบัติชิ้นหนึ่ง
.
นอกจากนี้ยังทำให้พ่อแม่ขาดพื้นที่ในการทำผิดพลาดด้วย ซึ่งพ่อแม่ก็คือคนคนหนึ่งที่สามารถทำผิดพลาดในการอบรมสั่งสอนหรือผิดพลาดในการใช้ชีวิตได้เหมือนกัน
.
จึงนำไปสู่อีโก้และการไม่รับฟังลูก เพราะถูกปลูกฝังมาว่าพ่อแม่ถูกต้องเสมอ หรือผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน ชุดความคิดพวกนี้คืออีกหนึ่งอำนาจนิยมในครอบครัว
.
คำว่า เด็กสมัยใหม่จะตีตนเสมอผู้ใหญ่ จึงเป็นประโยคที่สะท้อนความรู้สึก 'ถูกสั่นคลอนอำนาจ' ของผู้ใหญ่ และสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไม่เคยเปิดพื้นที่แห่งการรับฟัง ทุกๆเสียงที่ออกมาจากเด็กที่มีอำนาจน้อยกว่า จึงเปรียบเสมือนการเถียง การตีตนเสมอผู้ใหญ่
.
𝐐: การลงโทษเด็กที่ประพฤติตัวไม่ดี อย่างไหนเราถึงยอมรับได้ครับ แบบไหนรับไม่ได้เลย
.
𝐀: ในการลงโทษเยาวชนนั้น ควรมีความละเอียดอ่อนมากๆ เพราะการที่เยาวชนหรือเด็กคนหนึ่งจะกระทำความผิดนั้นๆ ได้ แปลว่าเด็กคนนั้นต้องเห็น หรือถูกสั่งสอน หรือพบเจอประสบการณ์ที่ทำให้เขาเลือกจำทำผิดแบบนั้น
.
หากจะลงโทษเด็กหรือเยาวชน เราต้องรับรู้และทำความเข้าใจถึงประสบการณ์ที่เด็กพบเจอหรือเรียนรู้มาให้ได้ และหาวิธีรับมือกับสิ่งนั้น เป็นการลงโทษด้วยความเข้าใจเด็ก ไม่ใช่การลงโทษด้วยอารมณ์ ความรุนแรง ปราศจากการรับฟัง นั่นคือสิ่งที่เรารับไม่ได้
.
𝐐: ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ สำคัญอย่างไรครับ
.
𝐀: ในระบบการศึกษามีหลายบทบาทมาก ซึ่ง ผู้เรียน เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญและได้รับประโยชน์จากสิ่งนั้น การมี ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบในระบบการศึกษา ได้ประโยชน์สูงสุดเท่าที่ตนเองควรมี เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในการเรียน สิทธิในการเรียกร้อง
.
𝐐: การกระจายอำนาจอยู่ในทุกประเด็น เพราะการเมืองอยู่ในทุกสิ่งในชีวิตเรา เรื่อง 'ทรงผม' - 'เครื่องแบบ' เองก็ตาม ถ้ามีการกระจายอำนาจจริง เป็นประชาธิปไตยจริง เราสามารถส่งเสียงเรียกร้องได้ ตรงนี้มองอย่างไรครับ
.
𝐀: ระบบอำนาจนิยมเปรียบเหมือนตราชั่งที่ไม่เท่ากันค่ะ เป็นคุณครูที่มีอำนาจมากกว่าเด็กที่มีอำนาจน้อยกว่า หากมีการกระจายอำนาจแล้ว เรื่องกฎระเบียบการแต่งกายรวมถึงทรงผมซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ต้องถูกรับฟังและปรับเปลี่ยน
.
นักเรียนต้องสามารถเรียกร้องยกเลิกกฎระเบียบทรงผมได้ และบุคลากรการศึกษาต้องนำเสียงของนักเรียนมารับฟังและปรับปรุงแก้ไข ความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายต้องถูกรับฟังอย่างเท่าเทียมกัน ถึงจะเรียกว่ามีการกระจายอำนาจค่ะ
.
𝐐: คิดอย่างไรกับการ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ
.
𝐀: เป็นอีกหนึ่งการกระจายอำนาจที่ช่วยเพิ่มบุคลากรในแต่ละพื้นที่ รวมถึงชนบทด้วย เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่นั้นตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่
.
จะดีมากๆ ถ้าผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดมาจากเสียงของประชาชนและรับฟังเสียงของประชาชนจริงๆ
.
#เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ
หากเห็นด้วย ชวนลงชื่อที่ Change.org/WeAllVoters
.
หลังยื่น กมธ.กระจายอำนาจฯ ให้ปฏิรูปโครงสร้างการปกครอง จนมีมติส่งเรื่องให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย เราจะเดินหน้ายื่นหนังสือและรายชื่อต่อพรรคการเมือง โปรดติดตามการเคลื่อนไหวสำคัญนี้ ในเพจเรา
.
* ขอบคุณภาพจากคุณเมนู
.....
Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
July 9

จาก ดร.โสภณ พรโชคชัย ซึ่งผมเห็นด้วย