โปรดทราบ ด้วยความปรีดา “พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย ‘เพื่อไทย’ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นควร ‘รับหลักการ’ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ในวาระที่ ๑ โดยมีเหตุผลสำคัญที่เป็นแนวทางในการรับหลักการดังกล่าวนี้ ๖ ประการ” คือ
๑.เป็นไปเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ และทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยจะมีการแก้ไขยกเลิกหมวด ๑๖ เรื่องการปฏิรูปประเทศ รวมถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
๒.ปรับโครงสร้างระบบรัฐสภา จากระบบ ๒ สภา คือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ให้เหลือสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (ข้อนี้เดิมที ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เคยมีความเห็นว่าควรมีวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง)
๓.สร้างกลไกตรวจสอบ ยึดโยงอำนาจอธิปไตยกับประชาชนโดยตรง โดยให้มี ‘ผู้ตรวจการสภาผู้แทนราษฎร’ ได้แก่ “ผู้ตรวจการศาลทหาร ผู้ตรวจการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการองค์กรอิสระ”
๔.ปรับโครงสร้าง ที่มา อำนาจ และหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
๕. ‘ยกเลิก’ การคงอยู่และ ‘การสืบทอดอำนาจ’ ของผู้ทำการยึดอำนาจ ที่ยังคงสภาพบังคับใช้อยู่ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน จนถึง ‘อนาคต’ (คือต้องให้ สภาพอำนาจนั้น ‘สิ้นสุดลง’ อย่างสิ้นเชิง)
๖.สร้างกลไกการแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้เข้มข้นขึ้น โดยเพิ่มบทบัญญัติการตรวจสอบของ ‘สภาเดี่ยว’ ให้แกร่งกล้าแข็งขัน
เฟชบุ๊คพรรคเพื่อไทยแจ้งด้วยว่า “พรรคร่วมฝ่ายค้านยังมีความห่วงใยสถานการณ์บ้านเมือง ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย” (เรื่องการเรียกร้องปฏิรูป ว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ) ว่าจะนำไปสู่ ‘การปฏิบัติโดยมิชอบ’ เป็นเครื่องมือการเมือง”
“พรรคร่วมฝ่ายค้านห่วงใยการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม..ซึ่งเป็นเยาวชน จึงอยากให้ใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎรเป็นเวทีปลอดภัยหาทางพูดคุย โดยจะให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการ” ต่างๆ เช่น ปปช. และ พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษารายละเอียดอีกครั้ง
(https://www.facebook.com/pheuthaiparty/posts/4902854196414146)