วันศุกร์, ตุลาคม 22, 2564

ภาคีราษฎรไทยในอังกฤษ เสนอ “Red-Shirts of London” EP2 แนะนำให้รู้จักกับ “พี่ดา” (Nanthida Rakwong) เรื่องราวความเป็นมาของการเป็น “คนเสื้อแดง” ของพี่ดา


Thai Democracy Advocates, UK ภาคีราษฎรไทยในอังกฤษ 
10h ·

ภาคีราษฎรไทยในอังกฤษ ขอเสนอ “Red-Shirts of London” บทสัมภาษณ์ที่จะถ่ายทอด เรื่องราว ความทรงจำ ความหลัง และมุมมองสู่อนาคต ของคนเสื้อแดงพลัดถิ่นผู้อาศัย ณ กรุงลอนดอน
.
สำหรับ Ep.2 เราขอแนะนำให้รู้จักกับ “พี่ดา” (Nanthida Rakwong) ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งจาก Twitter @ThaiPolitica และผู้ขึ้นปราศรัยในงานประท้วงที่ลอนดอนเป็นภาษาอังกฤษอย่างฉะฉาน เรามาฟังเรื่องราวความเป็นมาของการเป็น “คนเสื้อแดง” ของพี่ดา เจาะลึกถึงทัศนะต่อการเมืองไทยในทศวรรษที่ผ่านมา บทบาทที่ได้ร่วมงานกับ Robert Amsterdam ในการเอาคดีการสังหารหมู่คนเสื้อแดงปี 53 ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) และมาฟังเรื่องแนวคิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน
.
#RedShirtsOfLondon #อยู่ukแต่ไม่ok
.
ติดตามบทสัมภาษณ์ ใต้ภาพ
https://www.facebook.com/THAIDAUK/posts/389493239325753


Thai Democracy Advocates, UK ภาคีราษฎรไทยในอังกฤษ
10h ·

> บทบาทการทำงานกับ Robert Amsterdam
.
เดือนมิถุนายนปี 2553 เขาบอกพี่ว่า เขาได้รับการว่าจ้างจากคุณทักษิณให้เอาคดี ปี 53 ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court or ICC) แต่ว่าการที่เราจะเอาคดีนี้ขึ้นสู่ ICC มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มันก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ไม่ได้ให้สัตยาบันต่อศาล แต่ว่ามันเป็นเรื่องความเข้าใจของคนต่างชาติที่มีต่อคนเสื้อแดงและคุณทักษิณ คนต่างชาติที่นีเค้ามองว่าคุณทักษิณเป็นคนโกงกินเค้าก็เลยไม่สนใจ ไม่ใช่ว่าเขาโอเคที่มีการสังหารหมู่ แต่เค้าไม่สนใจในตรงนี้ เราเคยโดนคนต่างชาติชี้หน้าด่า ว่าเราทำงานให้ทักษิณ เป็นพวกทำงานให้คนโกง
.
หน้าที่หลักของพี่ ก็จะเป็นการทำ campaign ว่าเราจะเล่าเรื่องคนเสื้อแดงอย่างไร เราจะเล่าเรื่องประเทศไทยอย่างไร การจะเล่าเรื่องว่าคนเสื้อแดงมาถึงจุดที่มันมีการสังหารหมู่อย่างไร เราก็ต้องเล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย การเมืองไทย พี่ก็จะให้คำแนะนำเขาในส่วนตรงนี้ ทั้งในเรื่องของสื่อต่างชาติ สื่อไทย การคุยกับคนในพรรคการเมือง การคุยกับคนใน movement ของคนเสื้อแดง การคุยกับ NGO กลุ่มต่างๆ เราจะโน้มน้าวให้เข้ามามีส่วนใน project การเอาคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่คนเสื้อแดงมาขึ้นสู่ ICC ท้ายที่สุดแล้ว พี่มองว่ามันต้องเป็น project ของคนไทย มันเป็นเรื่องจำเป็น การที่มีคนมาโดนฆ่ากลางกรุง มันก็ต้องมีคนมารับผิด และนี่เป็นโครงการของคนไทย Robert ควรแค่จะเป็นคนที่เข้ามาช่วยดูในเรื่องของกฎหมาย เพราะฉะนั้นพี่ก็เลยช่วยเค้าในการพยายามโน้มน้าวกลุ่มต่างๆ ให้มาช่วยในเรื่องนี้
.
> คดีคนเสื้อแดงสู่ ICC
.
แกนนำ นปช ก็สนับสนุนนะ อาจารย์ธิดา หมอเหวง จตุพร ณัฐวุฒิ เค้าก็สนับสนุน แต่ว่าพรรคเพื่อไทยก็อีกแบบนึง มีคนสนับสนุนบ้าง ไม่สนับสนุนบ้าง มันก็จะมีการถามมาตลอดว่า ถ้ามันมีการทำ เรื่องจะถึงภูมิพลหรือไม่ ช่วงนั้นเราก็ยืนยันว่าไม่ถึง เพราะว่าหลักฐานไม่พอ แล้วเราก็ไม่ได้มีนโยบายตรงนั้น แต่เค้าก็จะมีความกังวล เพราะหลักฐานที่ได้มาตอนนั้นมันไม่พอ
.
ตอนนั้นคุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกแล้ว ซึ่งมันมีมาตรา 12 วงเล็บ 3 ที่ให้รัฐบาลยอมรับศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการชั่วคราว แล้วก็เชิญ ICC มาสอบสวน เราก็คุยกับทาง ICC คือผลค่อนข้างดีมากเหลือแค่มีการเซ็นของคุณยิ่งลักษณ์หรือคุณสุรพงษ์ซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ท้ายที่สุดมันก็ไม่มีการลงนาม จนกระทั่งมีการเอาเหมาเข่งจากทางพรรคเพื่อไทย มันทำให้การทำเรื่องต่อเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าถ้ารัฐบาลที่มาจากประชาชนเอาเหมาเข่ง ICC ก็มองว่า ทำไมเค้าต้องเข้าไปมีบทบาท ตอนนั้นมีคนในรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ เข้ามาคุยบอกว่าเรามาส่งฟ้องคดีจากที่อังกฤษได้ไหม เพราะว่าอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) เป็น citizen ของประเทศอังกฤษ เราก็บอกว่ามันก็อาจจะได้ แต่ว่าเรื่องมันไปถึง ICC แล้ว การไปฟ้องศาลที่อังกฤษจะทำให้มองว่าเราเอาศาลมาเล่นการเมือง มันก็ทำให้ชื่อเสียงเราและคนเสื้อแดงไม่ดีละ ยิ่งตอนนี้ก็น่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเรามีรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งก็ไม่น่าจะเซ็นตอบรับอยู่แล้ว แต่ในอนาคต หากเรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาธิปไตย เราสามารถให้เรียกร้อง ข้อหนึ่งคือ ให้เขาลงนามยอมรับอำนาจศาลชั่วคราวตามมาตรา 12(3) ของธรรมนูญกรุงโรมเพื่อให้ทำคดีได้ และข้อสองคือให้สัตยาบันเพื่อป้องกันการทำร้ายและสังหารประชาชนในอนาคต
.
> นิรโทษกรรมเหมาเข่งและการเกิดขึ้นของ กปปส.
.
มันก็มีการมองว่าการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ก็ทำให้คนเสื้อแดงตัวเล็กตัวน้อยได้ออกมาจากคุก ซึ่งเรามองว่า การนิรโทษกรรมทำได้ไม่ต้องเหมาเข่ง นิรโทษกรรมแบบในระดับมวลชนของทั้งสองฝ่าย แกนนำก็บอกแล้วว่าเค้าไม่ต้องการนิรโทษกรรม แต่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่อภิสิทธิ์ ก็ต้องไม่ได้รับการนิรโทษกรรมเช่นกัน แต่รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เค้าก็ยืนยันว่าจะมีการเอาเหมาเข่ง ซึ่งพอมีการเอาเหมาเข่ง มันทำให้พลังของ กปปส. เพิ่มขึ้น คุณยิ่งลักษณ์ก็ถอย แต่ว่าถอยมันก็ไม่จบ มันก็เหมือนการคุยกับกำแพง เหมือนคุยกับสลิ่มทุกวันนี้ มันก็มีการยืนยันว่าจะล้มยิ่งลักษณ์ พูดถึงการคอรัปชัน จำนำข้าว อะไรพวกนี้
.
จริงๆ ตอนนั้นอะ กปปส. มีจำนวนน้อยมาก จนกระทั่งประยุทธ์ต้องออกมาทำรัฐประหาร ถ้า กปปส. ไม่ได้มีทหารหนุน ก็ไม่มีทางที่จะได้ชนะ เพราะว่า กปปส. เป็นคนส่วนน้อย เห็นได้ชัดจากการเลือกตั้ง พี่ว่าเสียงของคนชนชั้นกลางที่ไม่ได้อะไรกับทักษิณ ยิ่งลักษณ์ มันเริ่มเปลี่ยนตอนนั้น เพราะว่าเพื่อนพี่บางคนที่ไม่เคยพูดอะไรเรื่องการเมือง message มาหาพี่ บอกว่าต้องไปเลือกตั้งครั้งนี้ให้ได้ เขารู้สึกว่ามันเป็นการยืนยันสิทธิ์ ทำไม กปปส. ถึงได้ออกมาทำร้ายคน ไปปิดคูหาเลือกตั้ง
.
ในส่วนของเสื้อแดง เขาก็มีการชุมนุมอยู่เรื่อยๆ เขาไม่เอา กปปส คือเสื้อแดงก็ไม่ได้เอาเหมาเข่งด้วยซ้ำ แต่เขาก็รู้ว่าคนอย่างสุเทพไม่ต้องการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ส่วนรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ถ้าเราไม่เห็นด้วยกับเหมาเข่ง ก็ไปว่ากันในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะออกมาล้มรัฐบาลทำไม คนเสื้อแดงเขามองอย่างนี้
.
> บทเรียนจากเสื้อแดง
.
ข้อแรก พี่มองว่าการสื่อสารของคนเสื้อแดงมันไม่ได้เป็นการขยายแนวร่วม โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนชนบท คนใช้แรงงาน พี่ก็มีการแนะนำว่าแล้วว่า น่าจะมีการขยายกลุ่ม ขยายกิจกรรม ที่เข้าถึงคนชนชั้นกลาง รวมถึงควรจะมีการทำสื่อภาษาอังกฤษที่ดีกว่านี้ ในตอนนั้นคนต่างชาติเค้าไม่เข้าใจเลยว่ามาชุมนุมอะไรอย่างไร ประเด็นหลักๆ ก็คือเรื่องการสื่อสาร ในการขยายแนวร่วม ข้อสองพี่มองว่าโครงสร้างของ นปช. มันเป็นโครงสร้างที่ ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามา มันเป็นโครงสร้างที่เก่า ไม่มีการเลือกตั้ง แล้วก็มาออกนโยบายแต่มันไม่มีการถามมวลชน มันไม่มีการเอามวลชนเข้ามาร่วม คือมวลชนมันก็มีหลากหลาย แต่ว่าโครงสร้าง มันก็มีความเป็น exclusive (เฉพาะกลุ่ม) มันไม่มี foundation (พื้นฐาน) อะไรเลยที่จะขยายออกไปได้
.
> คนเสื้อแดงกับสถาบันกษัตริย์
.
พี่มองว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่ม นปช. เขามองว่ามันเกิดวิกฤต มันต้องเป็นเหมือนปี 35 คือถ้าแบบมันมีอะไรอย่างนี้ภูมิพลต้องออกมาพูด เขาไม่ได้มียุทธศาสตร์อะไรที่จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตรงๆ แล้วก็มีแบบการคิดว่า เขาจะเป็นพ่อใหญ่ใจดีจะมาเลือกเรา คนเสื้อแดงในระดับแกนนำ ไม่เคยคิดจะล้มเจ้าเลย ในส่วนคนเสื้อแดงระดับมวลชน มันก็มีไม่เอาเจ้าจำนวนนึงเหมือนกัน แต่ไม่ได้พูดตรงๆ เขาจะพูดว่า ไอ้เหี้ย ไอ้ห่า ป้าสมจิต ลุงสมชาย อะไรประมาณนี้ หลังจากปี 53 คนเสื้อแดงตาสว่างนะในระดับมวลชน ระดับแกนนำก็รู้แหละ ทุกคนก็รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่ว่ามันเป็นยุทธศาสตร์ของแกนนำที่ว่าเราล้มเขาไม่ได้หรอก เราก็พยายามให้เขามารักเรา แล้วก็ในช่วงนั้นมันเป็นช่วงที่ภูมิพลกำลังจะตาย เขาก็หวังว่าวชิราลงกรณ์จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่พี่มองว่ามันจะไปคาดหวังอะไรก็บคนที่ไม่มีการสนับสนุนประชาธิปไตยทั้งในส่วนตัวและในส่วนงาน


Thai Democracy Advocates, UK ภาคีราษฎรไทยในอังกฤษ
10h ·

> 10 ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันทะลุเพดาน
.
พี่ก็คิดว่าเป็นข้อเสนอที่กล้าหาญมาก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่พูดชื่อวชิราลงกรณ์ตรงๆ เรียกเจ้าตรงๆ บอกว่าต้องปฏิรูป ซึ่งพี่ถือว่า เป็นเรื่องที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก แต่ในความเห็นส่วนตัวพี่ พี่ไม่ได้มองว่า สถาบันอยากปฏิรูปอยู่แล้ว แต่แน่นอนมันเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว เราก็รู้สึกว่ามันก็ต้องมีการต่อสู้ทางความคิด มีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมวลชนได้ข้อสรุปเองว่า มันปฏิรูปได้จริงรึเปล่า ความเห็นส่วนตัวพี่คือ มันปฏิรูปไม่ได้ แต่มวลชนก็ต้องไป reach conclusion เอง
.
> เสื้อแดงกับคนรุ่นใหม่
.
พี่คิดว่ามันจะมาร่วมกันในลักษณะที่เป็น alliance (พันธมิตร) แล้วก็น่าจะมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกัน คนเสื้อแดงมีประสบการณ์บางอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ก็ไม่ต้องเชื่อรับ แต่สามารถเอาไปพิจารณาแล้วก็ปรับ พี่มองว่า อย่างคนเสื้อแดง นปช. มันก็มีลักษณะเป็นโครงสร้างที่มัน exclusive ไป ส่วนคนรุ่นใหม่ก็มีลักษณะเป็นโครงสร้างที่หลวมไป พี่มองว่าการที่เราจะทำอะไรโดยที่ไม่มีการจัดตั้งแล้วจะชนะมันเป็นไปได้ยาก แต่การจัดตั้งจะเป็นการจัดตั้งแบบไหน เราต้องมาคุยกัน เราไม่ต้องจัดตั้งแบบโครงสร้างแบบ exclusive แบบ นปช. แต่เป็นการจัดตั้งในลักษณะแบบเป็นประชาธิปไตย ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างที่อังกฤษการจะไปติดต่อ สส. ติดต่อกลุ่มต่างๆ ก็ต้องชัดเจนว่าเราคือใคร เราต้องการอะไร เมื่อมันไม่มีกลุ่มที่มีการจัดตั้งที่ชัดเจน เราจะไม่มีความชัดเจนว่า อะไรคือข้อเรียกร้อง อะไรคือ common goal อะไรคือ common enemy บางคนบอกว่าไม่เอาประยุทธ์ บางคนก็บอกว่ากษัตริย์ไม่ดี แต่พี่เข้าใจว่ามันยังใหม่ มันก็เป็นเรื่องปกติ แต่อยากให้คิดถึงจุดนี้ว่า เราจะจัดตั้งอย่างไรให้มันเป็นประชาธิปไตย พี่เชื่อว่า ความกล้าหาญ ข้อเรียกร้องที่มัน progressive จะสามารถ sustain ได้ก็ต่อเมื่อ เรามีองค์กรเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
 
ติดตามบทสัมภาษณ์เต็มที่
https://www.facebook.com/THAIDAUK/posts/389493239325753