วันอาทิตย์, เมษายน 04, 2564

โรม คุณทำถูกแล้ว คนที่เป่านกหวีดเอียงข้างแล้วมาเป็นปธ.ศาล ปชช.จะไว้ใจได้ไง ในเมื่อเด็กๆไม่ให้ประกันขังเป็นเดือนละ แต่ให้กปปส.ขังคืนเดียวแต่ได้ประกัน



พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
Yesterday at 1:45 AM ·

[ “ถ้าผู้แทนของประชาชนหวาดกลัวอำนาจต่างๆ ไม่กล้าทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เเล้วเราจะเป็นผู้แทนของประชาชนไปทำไม” - เคลียร์ให้ชัด เหตุใด ‘รังสิมันต์ โรม’ จึงยืนยันว่า ‘สภา’ มีอำนาจเชิญ ‘ประธานศาลฎีกา’ มาชี้แจงได้ ]
.
จากกรณีข้อถกเถียงว่าสภาผู้แทนราษฎรสามารถมีอำนาจในการเรียก ‘ประธานศาลฎีกา’ มาชี้เเจงต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร กรณีมีการกล่าวกันว่ามีบุคคลภายนอกสามารถสั่งการคดีเกี่ยวกับ ม.112 ได้ โดยหลายฝ่ายได้มีการยกรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ขึ้นมาโต้ ‘รังสิมันต์ โรม’ โฆษกคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม เเละสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร จึงมีคำอธิบายดังต่อไปนี้
.
1.การเชิญ ‘เมทินี ชโลธร’ ประธานศาลฎีกา มาชี้เเจงต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ เพื่อสอบถามถึงความเป็นอิสระของศาลว่า มี ‘บุคลภายนอก’ แทรกเเซงการทำงานของศาลตามที่มีกระแสสงสัยอย่างกว้างขวางในสังคมจริงหรือไม่ เพราะเป็นกรณีที่ลือกันเป็นการทั่วไปว่า ในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำถามต่อกรณีการไม่ให้ประกันตัวแกนนำราษฎรซึ่งเป็นสิทธิและไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี การไม่ให้ประกันตัวตามสิทธิจึงเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เหตุใดจึงทำเช่นนั้น ซึ่งประธานศาลฎีกาตอบว่า "มีบุคคลภายนอกสั่งมาอีกที" นั่นจึงเป็นที่มาที่ผู้แทนราษฎรจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบขององค์กรทางนิติบัญญัติ เพื่อสร้างความกระจ่างให้สังคมในความเป็นอิสระของศาล
.
2.ในรัฐธรรมนูญมาตรา 129 วรรคสี่ ก็ยังเขียนขยายความไว้เองว่ากรณีที่จะเชิญมาไม่ได้ คือกรณีที่เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ "ที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี" เท่านั้น (เพราะหากจะห้ามเชิญผู้พิพากษาและตุลาการทั้งหมดไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนขยายความแบบนี้)
.
ซึ่งสาเหตุที่ต้องเชิญประธานศาลฎีกามา ก็เพราะประธานศาลฎีกาคือผู้ที่รับผิดชอบสูงสุดในกิจการของศาลยุติธรรม ที่ในเวลานี้เกิดข่าวลือว่าศาลยุติธรรมอาจถูกแทรกแซงจากภายนอก ให้มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวในคดีบางประเภทที่ไม่ได้เข้าข่ายในการไม่ให้ประกันตัวตามกฎหมาย
.
3.กรณีที่กล่าวว่าข่าวลือมีน้ำหนักหรือไม่นั้น การที่โฆษกศาลยุติธรรมออกมาชี้เเจงเเสดงให้เห็นว่า ข่าวลือดังกล่าวมีน้ำหนัก ส่วนการที่ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมแบบนี้ จะทำให้ต่อไปในอนาคตกระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถืออีกเลย จึงสมควรที่จะต้องมาชี้เเจงต่อผู้แทนของประชาชนถึงความเป็นอิสระของศาล
.
4.การตอบคำถามต่อคณะกรรมาธิการเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นการช่วยศาลในรักษาบทบาท อำนาจหน้าที่ฝ่ายตุลาการให้ดีที่สุด หากชี้เเจงได้จะทำให้ประชาชนลดข้อสงสัย หากศาลไม่มาชี้เเจง หรือชี้เเจงไม่ได้ประชาชนก็ยังคงตั้งข้อกังขาในสังคมต่อไป
.
5.การเชิญดังกล่าวไม่ได้มาจากมีเจตนาไม่ดีหรืออคติต่อศาล แต่หวังให้คณะกรรมาธิการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบตามที่ประชาชนมอบหมายให้ทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
.
“ถ้าผู้แทนของประชาชนหวาดกลัวอำนาจต่างๆ ไม่กล้าทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เเล้วเราจะเป็นผู้แทนของประชาชนไปทำไม หากผู้แทนของประชาชนยังกลัว แล้วประชาชนจะไม่ยิ่งกลัวไปกว่าหรือ ขอยืนยันว่าการทำหน้าที่ดังกล่าว ตามข้อกฎหมายสามารถปฏิบัติได้ และไม่กระทบต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ห้ามไม่ให้ไปแทรกเเซงการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาในระหว่างที่กำลังพิจารณาคดีแน่นอน
.
“ในทางหลักการ นี่คือการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติที่จะตรวจสอบองค์กรตุลาการ ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติแต่ละคนที่อยู่องค์กรนี้ยังออกมาประโคมข่าวว่าทำไม่ได้ ห้ามเชิญประธานศาลฎีกาเด็ดขาด ท่านกำลังเผาบ้านตัวเอง ท่านกำลังทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรที่มาจากตัวแทนของประชาชน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบองค์กรอื่น แล้วเราจะมีสภาไปทำไม เราจะมาจากการเลือกตั้งโดยที่ปล่อยให้มีการแทรกเเซงจากตุลาการ หรือจากองค์กรต่างๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าอย่างนี้เราจะมีตัวแทนของประชาชนไปทำไม
.
“ขอเรียกร้องต่อสามัญสำนึกของความเป็นผู้แทนประชาชน ที่ไม่ว่าจะนั่งอยู่ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย ฯ นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรว่า ขอให้ทำหน้าที่นี้ให้ดี ที่ผ่านมาเราอาจจะไม่คุ้นชินในการเชิญประธานศาลฎีกามาก่อน แต่ทุกอย่างต้องมีครั้งแรก ทุกอย่างต้องมีการตรวจสอบ มีการค้นหาความจริง การทำหน้าที่ของเราไม่ได้ต้องการพลิกผลคดี ไม่ต้องการให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราต้องการ เเต่เราต้องการเห็นการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต บริสุทธิ์ ยุติธรรม นี่ต่างหากที่เราต้องหารจะเห็น ขอให้คิดว่า นี่คือการร่วมมือทำหน้าของพวกเราให้ดีที่สุด และในฐานะที่เราเป็นกรรมาธิการที่ตรวจสอบอำนาจหน้าที่องค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กร”
.
6.มีความพยายามใส่ร้ายว่าไม่รู้กฎหมาย การไปเชิญประธานศาลฎีกาเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ ยืนยันว่าสามารถทำได้ และที่ผ่านมาได้เคยมีการเชิญผู้พิพากษามาชี้เเจงต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมายมาก่อน และมีหลายคณะกรรมาธิการที่มีการเชิญผู้พิพากษาต่างๆ มาชี้เเจง ซึ่งตราบใดที่มันไม่กระทบต่อการพิจารณาคดีของศาล และตราบใดที่ไม่กระทบต่ออำนาจหน้าที่การบริหารงานบุคคลของศาลสามารถทำได้
.
7.ที่ประชุมของคณะกรรมาธิการยังไม่มีบทสรุป แต่จะมีการส่งหนังสือเพื่อขอความเห็นไปยังฝ่ายกฎหมายของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งเรื่องการเชิญประธานศาลฎีกามาชี้เเจงและการขอบันทึกการประชุมใหญ่ที่ประชุมศาลฎีกาว่าสามารถทำได้หรือไม่
.
8.คณะกรรมาธิการจะมีการหารืออีกครั้งในวันพุธ 7 เมษายน 2564 โดยจะรอความเห็นของฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตอบหนังสือ จากนั้นจึงจะลงมติในคณะกรรมาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม หากลงมติเเพ้ จากนี้ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินวิกฤติที่เกิดขึ้นต่อกระบวนการทางยุติธรรมว่าสภาผู้แทนราษฎรยังมีน้ำหนักในการทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจหน้าที่ตามอำนาจทางรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่
.
“รัฐธรรมนูญเเบ่งอำนาจเป็น 3 ส่วน ตุลาการ นิติบัญญัติ เเละบริหาร เราสามารถตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจกันทั้งสามส่วน สิ่งสำคัญคือเราต้องการตรวจสอบเพื่อลดข้อกังขาของประชาชน ต่อกรณีที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระของศาล เเละชี้เเจงความกระจ่างต่อสังคม เเละเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบทบาทเเละภาพลักษณ์ของสถาบันตุลาการอย่างเต็มที่” 
.....
กบ กบกบ
คนที่เป่านกหวีดเอียงข้างแล้วมาเป็นปธ.ศาล...ปชช.จะไว้ใจได้ไง..ในเมื่อเด็กๆไม่ให้ประกันขังเป็นเดือนละ...แต่ให้กปปส.ขังคืนเดียวแต่ได้ประกัน
.....