Thailand FACT Today
10h ·
แจงยิบ ข้อเท็จจริงกรณีการเรียกร้องการนำเข้าวัคซีนโควิด 19
ตอนนี้มีประเด็นกันมาก เรื่องของการเรียกร้องให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด 19 ได้โดยอิสระ ประเด็นคือ ทางภาครัฐ ไม่เคยปิดกั้นการนำเข้า และการขึ้นทะเบียน เพียงแต่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎกรอบที่กำหนด
ที่ผ่านมา การขึ้นทะเบียนวัคซีนนั้น ภาครัฐ ไม่ได้ห้ามให้เอกชนมาขอขึ้นทะเบียน ใครอยากเอายี่ห้อไหนมาขึ้นทะเบียน สามารถทำได้ทันที เพียงนำเอกสารมาขออนุญาตให้ถูกต้อง
สำหรับขั้นตอนการ “ขึ้นทะเบียน” ผลิตภัณฑ์ “วัคซีนโควิด 19” ในสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีนำเข้า ดำเนินการดังนี้
1.ให้ยื่นคำขอใบอนุญาตสถานประกอบการด้านยา โดยต้องมีสำนักงาน มีสถานที่เก็บยา มีเภสัชกรประจำ
2.ยื่นคำขอหนังสือรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตยา ซึ่งหนังสือรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตยาในต่างประเทศ (PIC/S หรือเทียบเท่า)
3.ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารคำขอขึ้นทะเบียน “วัคซีนโควิด 19”
4.ต้องผ่านการประเมินวิชาการ ด้านคือ คุณภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิผล และแผนการจัดการความเสี่ยงของวัคซีน
5.ต้องผ่านที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา “ขึ้นทะเบียน” “วัคซีนโควิด19”
6.อนุมัติทะเบียน “วัคซีนโควิด 19” พิจารณาขึ้นทะเบียน “วัคซีนโควิด 19” ให้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทั้งนี้ ขั้นตอนตั้งแต่การประเมินวิชาการถึงการอนุมัติจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน
นอกจากนั้น ยังเปิดให้ผู้ผลิตมาขึ้นทะเบียนได้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ก็มี J&J ทำได้ และทำสำเร็จไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ จากการติดตามข่าว จะพบว่า ทั่วโลกเอง ก็ยังให้รัฐ เป็นฝ่ายบริการวัคซีน ซึ่งรัฐที่ว่า เป็นรัฐบาลกลางด้วยซ้ำ ท้องถิ่นยังไม่มีสิทธิ์ มียกเว้นแค่เม็กซิโกเท่านั้น
ถามว่าทำไม รัฐยังต้องผูกขาดเรื่องการบริหารจัดการวัคซีน ตรงนี้ ต้องไปดูที่เงื่อนไขของผู้ผลิตที่ยังคงเน้นขายให้รัฐบาลเป็นหลัก
เราจึงไม่เห็นว่าจะมีเอกชนรายใด ประสบความสำเร็จในการเจรจากับผู้ผลิต
“ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ” หัวหน้าศูนย์เชี่ยววชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในประเด็นนี้ ว่า
“วัคซีนโควิด-19” ในปัจจุบัน ทั่วโลก จะ “ขึ้นทะเบียน”แบบใช้ใน ภาวะฉุกเฉิน EUA (Emergency Use Authorization) เกือบทั้งหมด ดังนั้น การใช้ในแต่ละประเทศ รัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องรับผิดชอบเอง บริษัทผู้ผลิตจึงจะไม่เจรจากับ “ภาคเอกชน” และไม่เข้ามารับผิดชอบร่วมด้วย ในกรณีที่เกิดมีอาการแทรกซ้อน หรืออาการไม่พึงประสงค์
เงื่อนไขตรงนี้ จะไมเกิดขึ้น หากดีลกับเอกชน ซึ่งหากเกิด “เหตุไม่คาดฝัน” เท่ากับ บริษัทผู้ผลิต ต้องมาร่วมรับผิดชอบด้วย
ตรงนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิต ยังไม่ดีลกับเอกชน เพราะไม่ต้องการแบกรับปัญหาที่ตามมา
ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ ซึ่งพร้อมรับผิดชอบตรงนี้ เพื่อแลกกับการยกระดับการควบคุมโรค
ดังนั้น เมื่อทราบข้อมูลแล้ว
หากจะบอกว่า รัฐบาลไทยผูกขาดการขึ้นทะเบียนวัคซีน ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรมกับภาครัฐ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926437
https://www.prachachat.net/marketing/news-631019
https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-625966
หนูแค้นใจมาก
ข้ออ้าง! ถ้าอยากให้เสรีจริง ก็เร่งรัดช่วยเหลือเอกชนไปแล้ว ไม่ใช่มารอแบบนี้ แล้วหลายเสียงก็บอกว่าขอไปหลายครั้งแล้ว ก็โดนปัดตกหมดอีกต่างหาก เหอะ แต่เดี๋ยวก็คงได้เสรีแล้วแหละ อีลิททั้งนั้นนี่รอบนี้ คนของตัวเองก็ติดด้วย
Arkhaporn Kantasiripitak
55
ตลกวัคซีน คือสิ่งเดียวที่จะชนะ โรคนี้ แต่รัฐ ทำให้มันยาก
ออก พรก ฉุกเฉิน พรบควบคุมโรคไปจับเด็ก อะเก่งจัง
ควรจะตั้ง route พิเศษ เลย ใครอยากเอาวัคซีนเข้า อยก็เร่งรัดได้เลย
pfizer moderna ต้องทดสอบอีกหรอ sinovac phase 3ยัง งง ผ่านมาได้ไง
เค้าไม่ได้ด่าว่าทำไม่ถูกขั้นตอน เค้าด่า ว่าทำไมไม่ใช้อำนาจให้ถูกที่
Prasert SK
ไม่ใช่ผูกขาดการขึ้นทะเบียน แต่ให้มีการผูกขาดการใช้วัคซีน ไม่ยอมนำเข้าวัคซีนตัวอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ยิ่งตอนนี้ยืนยันแล้วว่ามีสายพันธุ์อังกฤษระบาด การซื้อวัคซีน Sinovac ที่แพงและป้องกันสายพันธุ์นี้ไม่ได้ เป็นการใช้เงินภาษีที่คุ้มค่าหรือ