วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 12, 2559

น่าสังเวช ภาวะการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ณ UN UPR25 เป็นเหตุให้เกิดคำเหล่านี้... “หน้าไหว้ หลังหลอก” "กุ๊ยข้างถนน" "ตอแหลล้วนๆ" “ไม่มีใครที่จะถูกตบตา” "ถูกจวก" "โดนยำ" "เละ" ฯลฯ





ดูจากกระแสออนไลน์สะท้อนการทบทวนภาวะการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยของสหประชาชาติเมื่อวาน น่าจะมีผู้เข้าไปชมการถ่ายทอดสดกันคลั่ก

ฉะนั้น อะไรที่หน่วยงานรัฐบาลในบงการของทหารออกมาแก้ต่างให้กับเจ้านาย จึงเป็นโฆษณาชวนเชื่อทั้งเนื้อและน้ำ

ทันทีทันควัน Human Rights Watch ออกข่าว ‘UN Review Highlights Junta’s Hypocrisy’ “หน้าไหว้ หลังหลอก” นั่นแหละที่เขาว่า





การตอบข้อซักถามของสหประชาชาติ ในการทบทวนสภาวะด้านสิทธิมนุษยชน “รัฐบาลไทยล้มเหลวที่จะแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการหมุนกลับพฤติกรรมข่มเขงสิทธิและปกป้องสิทธิมนุษยชน” นายจอห์น ฟิสเชอร์ ผู้อำนวยการประจำนครเจนีวาระบุ

“ไม่ควรมีใครเลยที่จะถูกรัฐบาลไทยตบตาด้วยคำมั่นที่ว่างเปล่าเรื่องสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย”

(https://www.hrw.org/node/289762)






จำเพาะเจาะจงตรงที่ พล.อ.ทวีป เนตรนิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อ้างคำหัวหน้าใหญ่ของเขา “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี ได้กล่าวในที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ด้วยว่า

เรื่องนี้ถือเป็นรอยต่อที่สำคัญ เพราะถือว่าเป็นเส้นที่บางมากในแง่ของสิทธิมนุษยชนกับการปฏิบัติตามกฎหมาย คือ เมื่อทำผิดกฎหมายแล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องปฏิบัติตาม และจากนั้นก็ต้องดำเนินการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”

นี่ก็ตอแหลล้วนๆ หนึ่ง - กฎหมายที่อ้างมันเป็นกฎหมายที่พวกทหารชุดยึดอำนาจเขียนขึ้นเอง ไม่ผ่านกระบวนการอันชอบธรรมตามหลักสากล แม้กระทั่งกฎหมายไทยเดิมที่พวกเขาลบล้าง หรือ overrode

สอง - การนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ใช้วิธีของกุ๊ยข้างถนน ไม่ได้เป็นไปตามทั้งหลักสากลและกฎหมายไทย ทนายความคนหนึ่งที่ชื่อ ‘จูน’ ยังติดบ่วงมารของวิธีการดังกล่าวอยู่ขณะนี้

คำแถลงแก้ต่างของเลขา สมช. ที่ตามมา “สำหรับท่าทีของต่างประเทศไม่มีสิ่งใดผิดปกติ” จึงเป็นมโนล้วนๆ ส่วนประโยคต่อที่ว่า “แต่ยอมรับว่าส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศแน่” นั่นคงหมดทางเลี่ยง เลยไม่ได้มุสา

พุดแบบนี้ถ้าเป็นคนอื่นอาจตกงานในวันสองวันนี้ แต่นี่ท่าทางเส้นหนา เห็นว่า “ประวิตรโยก พล.อ.ทวีป เนตรนิยม จากผู้บัญชาการทหารพัฒนา มาเป็นเลขา สมช. โดยประยุทธ์ใช้ ม.๔๔ ตั้งกนกทิพย์ รชตะนันทน์ รองเลขาอาวุโสสูงสุด ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ (ให้ซี ๑๑ ปลอบใจเพราะน้อยใจจะลาออก)”





Atukkit Sawangsuk แหล่ง ‘pick brain’ ล้วงสมองเจ้าเก่าของเราเล่าต่อ “ว่าที่จริง สภาความมั่นคงนี่เป็นหน่วยงานโบราณตกค้างจากยุคสงครามเย็น ควรยุบทิ้งไปตั้งนานแล้ว พอเอาทหารมาเป็น ก็ยิ่งไม่เห็นทำอะไร นอกจากเป็นโฆษกรัฐบาล คอยโจมตีคนคัดค้าน”

เอาเถอะ ถึงอย่างไรสภาความมั่นคงก็เป็นสายงานเพื่อทหารและคณะยึดอำนาจทั้งตรงและอ้อมอยู่แล้ว ทว่าคณะข้าราชการประจำ ๓๐ กว่านายและนางที่ไปเป็นหนังหน้าไฟให้สหบาทาชาติ grilled ปิ้งสดเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เจนีวานั่นสิ ใครๆ ก็ว่า ‘น่าสงสาร’

กระทั่งอดีตรองนายกฯ อย่างนายจาตุรนต์ ฉายแสง ยังอดไม่ได้ที่จะทวี้ตว่า

“น่าเห็นใจผู้ที่ต้องทำหน้าที่ชี้แจงแทนรัฐบาลไทย คงจะอายผู้เข้าร่วมประชุมเต็มที ผู้มีอำนาจมักบอกว่าต่างประเทศไม่เข้าใจไทย คราวนี้เขาก็แสดงออกว่าไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไมไทยถึงไม่ทำตามข้อตกลงระหว่าง ประเทศที่ไปประกาศกับเขาไว้”

(http://www.matichon.co.th/news/132926)





ก็นะ ข้าราชการกล้าหือก็แต่รัฐบาลของนักการเมืองเลือกตั้งเท่านั้น กับรัฐบาลทหารเป็นลูกไล่ต้องทำหน้าที่แก้ตัวงกๆ เงิ่นๆ ให้ทั่น อาจเป็นเพราะไม่ได้หน้าทะเล้น แบบบทหยดย้อยเหมือนเจ้านายใหญ่ ชีวิตนี้ลำเค็ญนิดหน่อยทนเอาละกัน สักวันอาจได้เป็นอย่างเสข อย่างดอน ที่ กต. โน่น ก็ได้ ถ้าเผด็จการได้อยู่ยาวดังเป้าหมายโร้ดแม้พ

ดังที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ปรารภ “เห็น จนท.กต.ไทย ‘โดนรุมยำ’ กลางเวทีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นแล้ว ทั้งตอบคำถามอึกอัก เสียงสั่น ถอนหายใจเฮือก ๆ แล้ว ก็อยากจะเห็นใจนะ...

จนท.กต.ที่ยังมี่สติดี ไม่ได้หลับหูหลับตาเลียทหารเพื่อยศตำแหน่งน่ะเขารู้ดีว่า ปท.ไทยวันนี้เป็นที่รังเกียจขนาดไหน สิ่งที่รัฐบาลทหารทำนั้นละเมิดบรรดากฎบัตรและสนธิสัญญาที่ไทยไปเซ็นเอาไว้ ทั้งนั้น แต่จนท. กต.ก็จำต้องปั้นหน้าตาย ชี้แจงแก้ตัวไปตาม ‘โพย’ ไปข้าง ๆ คู ๆ...

นี่นับเป็นจุดตกต่ำอย่างถึงที่สุดของปท.ไทยเลยทีเดียว นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ปท.ไทยกลายเป็น ‘ผู้แพ้สงคราม’ เตรียมถูกรุมยำจาก ปท. สัมพันธมิตรอย่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส แต่ตอนนั้นไทยยังได้สหรัฐอเมริกาช่วยไว้ แล้ววันนี้ล่ะ?”

เสริมนิด ตอนนั้นไทยมี ‘เสรีไทย’ ถึงได้รับความเห็นใจจากชาติตะวันตก อ่า ตอนนี้ก็มี ‘เสรีไทย’ เหมือนกัน แต่ไม่รู้จะ effective แค่ไหน ตอนนั้นเสรีไทยมี ‘รู้ธ’ มี ‘นายเข้ม’ ตอนนี้มีใคร





ในทางเนื้อหาการอภิปราย UPR มีคนสรุปเอาไว้เพียบ ทันอกทันใจขาประจำดีแท้ เรานำมาวางแผงเพียงสังเขป เป็นบริการสาธารณะทั้งต่อขาจรและคนงานยุ่งได้ตามเก็บ

@ หยุดดัดจริตประเทศไทย แค่บอกคำเดียวว่า ‘เละ’ “เขาแทบจะนัดกันมาถล่มประเทศไทย เห็นได้ชัดว่าเรื่อง ม.๑๑๒ และการใช้อำนาจของ คสช. เป็นปัญหาที่สากลโลกเขาเป็นห่วง...

สหรัฐอเมริกา - จี้ทบทวนการใช้ ม.๑๑๒ และ มาตรา ๔๔ ในการเล่นงานคนที่คิดต่าง รวมถึงขอให้ยกเลิกนำประชาชนขึ้นศาลทหาร

สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) - ย้ำสื่อมวลชนต้องได้รับสิทธิเสรีภาพ และเลิกปรับทัศนคติคนที่คิดต่าง

เยอรมัน - จวกการใช้ ม.๑๑๒ ที่ไม่เปิดโอกาสให้ไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรมแก่จำเลย

ญี่ปุ่น - จวกเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางการเมือง เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการเคลื่อนไหวแสดงออกต่างๆ และห่วงเรื่องการอุ้มหาย

ฝรั่งเศส - จี้เลิกใช้โทษประหาร เลิกใช้ ม.๑๑๒ และคืนสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน...

แคนาดา - ขอให้ระมัดระวังการใช้ ม.๑๑๒ ออสเตรเลีย – จวกการใช้ศาลทหารกับประชาชน ออสเตรีย - จี้ไทยเลิกละเมิดสิทธิสื่อมวลชนและลงนาม ICC เบลเยี่ยม - จี้ไทยแก้ ม.๑๑๒ และให้คนสู้คดีได้อย่างโปร่งใสเป็นธรรม...

ไอซ์แลนด์ - ห่วงการใช้ ม.๑๑๒ การอุ้มหาย และการใช้ ม.๑๑๖ จัดการประชาชน แอฟริกาใต้ – ห่วงเรื่องสิทธิมนุษยชนและขอให้ไทยเลิกการซ้อมทรมาน การ์ตาร์ – ขอให้รัฐธรรมนูญใหม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน สเปน - ห่วงการใช้ ม.๑๑๒ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์...

สวีเดน - จวกไม่ควรใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พร่ำเพรื่อ สวาซิแลนด์ – ขอให้ไทยปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและปกป้องการแสดงออกของประชาชน เนเธอแลนด์ – ขอให้ไทยเปิดพื้นที่ให้มีการแสดงออกตามเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน

นอร์เวย์ – ขอให้ไทยเปิดพื้นที่ให้องค์กรภายนอกเข้าไปเยี่ยมชมและติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย นิวซีแลนด์ – อย่าเอาประชาชนขึ้นศาลทหารและเลิกการปรับทัศนคติ คาซัคสถาน – ห่วงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

(แม้กระทั่ง) อัลบาเนีย – ขอให้ไทยคืนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก อาร์เจนตินา - หวังว่ารัฐธรรมนูญจะฟังทุกฝ่ายและเปิดพื้นที่แสดงออกให้กับประชาชน

(และ) พม่า – ขอให้ไทยเคารพสิทธิมนุษยชนและดูแลเรื่องการค้ามนุษย์ ผู้ลี้ภัย และคุ้มครองแรงงานต่างชาติ”

แต่ทั่น รมว.ยุติธรรมของไทย ได้ออกมาปกป้องกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ นี้อย่างถวายหัวชั่วกัปชั่วกัลป์ เลยเชียวว่า สื่อต่างประเทศวิจารณ์กฎหมายนี้มากน่ะ เพราะ “เขาไม่มีอารยะ ไม่มีความละเอียดอ่อน ไม่มีความนุ่มนวลเหมือนพวกเราได้รับ”

(เวอร์ชั่นเต็มต้องดูวิดีโอของฟ้าสีบลู ชัดกว่าเพื่อน https://www.facebook.com/BLUESKYChannel/videos/736348453134588/)

อีกรายที่จับรายละเอียดการประชุม แล้วนำมาแบ่งปันได้ดีกว่าทั่นเลขา สมช. เยอะเลย ก็คือ Yui Mutumol ที่ Atukkit Sawangsuk สรุปรวบรัดว่า “ตามคาด ได้คำชม ๓-๔ เรื่อง ที่เหลือก็โดนรุมยำ”

“ได้ยินคำชมเรื่องความพยายามเกี่ยวกับการปราบปรามการค้ามนุษย์ universal health care coverage, Education for all การคุ้มครองเด็กน้อยและผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์, commitment ที่จะทำแผน คุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Human Rights Action Plan 2014-18) และการบรรลุเป้าของ MDG หลายอันเช่น การลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตของเด็กและแม่ (child and maternal mortality rate)...

ประเด็นที่โดนจวกมากที่สุด (ก็คาดเดาได้):...การเรียกปรับทัศนคติ (รัฐบาลอังกฤษนี่ถามเลย อะไรคือ attitude adjustment อ่ะจ๊ะ),

right to fair trial ซิวีเลียนต้องขึ้นศาลปกติ ไม่ใช่ศาลทหารป่ะ อันนี้รวมถึงเหตุการณ์จับผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายทางใต้ด้วย, แล้วก็เรื่องกระบวนการร่าง รธน.กับการลงประชามติ ว่าเปิดกว้างขนาดไหนให้คนที่เห็นต่างออกความเห็น...

ที่เปรี้ยวใจก็มี ดังนี้...(คุณยุ้ยเธอว่าน่ะ ซ้ำตอนท้ายขอโทษขอโพย “มันมีอีกหลายแง่มุมที่เราอาจจะจับไม่หมด เพราะเรามาสายสิทธิเด็ก เราเลยมีโฟกัสตรงนั้นค่อนข้างมาก ขออภัยจ่ะ” ใครติดใจตามไปอ่านฉบับเต็มที่นี่ https://www.facebook.com/yui.mutumol/posts/10153650918297055)

เนเธอร์แลนด์นี่โดยปกติก็เป็นประเภทตรงเผงอยู่แล้ว เขาก็ไม่อ้อมค้อม บอกเลยว่าอยากให้ทบทวนการใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขาใช้คำว่า abuse of power by state officials

พี่กัน เมกาเขาก็ฮาร์ดเซลล์ตามสไตล์จ่ะ เริ่มปุ๊บ เราขำก๊าก คือไม่มีชื่นชมลูบหลังก่อนเหมือนประเทศอื่นด้วยนะ ขึ้นมาพั่บ Our recommendations are.... ใส่เลยจ้า ๑๑๒ เสรีภาพโดยการชุมนุมโดยสงบ ศาลทหาร ตบท้ายด้วย เมื่อไหร่จะเลือกตั้งอ่ะ (อุ่ยยย)”

หนักเข้าไปอีก มีการตรวจทานข้อเท็จจริง ‘facts checked’ จากการชี้แจงของคณะตัวแทนไทยต่อการซักถามของยูเอ็นโดย Pipob Udomittipong
“ตุลาการศาลทหารไทยสนับสนุนการใช้ศาลทหาร โดยอ้างว่า ๙๓% ของคดีที่เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลทหารหลังรัฐประหาร ๕๗ เป็นความผิดตามพรบ. ‘อาวุธปืนและยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในสงคราม’ ทั้งสิ้น

แต่สถิติ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จนถึง ๓๐ ก.ย. ๕๘ มีจำนวนคดีทั้งหมดที่รับฟ้องในศาลทหาร ๑๒๘ คดี เป็นคดีพรบ.อาวุธปืน ๗๖ คดี ก็ประมาณ ๖๐% เท่านั้นเอง (https://tlhr2014.wordpress.com/…/static-case-in-military-c…/)”