วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 12, 2559

วิวาทะ ม.112 "ความนุ่มนวล อารยะ" ระหว่าง ราชอาณาจักรนอร์เวย์ "พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา" และชาวเน็ต




ที่มา FB

วิวาทะ V2

"เรา [ราชอาณาจักรนอร์เวย์] ขอแนะนำด้วยว่า ประเทศไทยดำเนินขั้นตอนที่จะเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ปี 2550 และจัดการโดยทันทีให้เกิดกระบวนการที่โปร่งใสในคดีต่างๆที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งสองนี้"
คุณแฮเรียต อี เบิร์ก ผู้แทนราชอาณาจักรนอร์เวย์
การประชุมทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
องค์การสหประชาชาติ เจนีวา 11 พฤษภาคม 2559
"We also recommend that steps be taken to abolish the lèse majesté and the 2007 computer crime act and the immediate implementation of transparent proceeding in cases concerning these laws."
Ms. Harriet E. Berg, representative of the Kingdom of Norway
25th Session of Universal Periodic Review: Thailand,
United Nations Geneva 11 May 2016.

ที่มาและคำแปล โดย Somsak Jeamteerasakul https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1004152259638053
------

"เขาเข้าใจหรือเปล่า สื่ออย่างพวกคุณก็ต้องไปบอกเขาบ้างสิ เขียนบ้างสิว่าประเทศไทย มีอะไร มีความสำคัญอย่างไรถึงต้องมีกฎหมายฉบับนี้ เขามีเหมือนเรามีไหม เขามีเหมือนเรามีหรือเปล่าเล่า หะ เขามี 70 ปีเหมือนเราไหม เขามี 7 รอบเหมือนเราไหม ไม่มีหรอกครับ เขาไม่มีอารยะ เขาไม่มีความละเอียดอ่อน เขาไม่มีความนุ่มนวลอย่างที่เราได้รับหรอกครับ ไปบอกเขาด้วย"

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา, 11 พ.ค. 59
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว
ที่มา : รมว.ยุติธรรมยัน ม.112 จำเป็น ชี้ประเทศอื่นไม่มีอารยะไม่มีความนุ่มนวลอย่างที่เราได้รับ http://prachatai.org/journal/2016/05/65723


.....


ความเห็นชาวเน็ต...

นี่มันรู้รึเปล่าว่านอร์เวย์มีการปกครองคล้ายไทยมาก
นอร์เวย์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะบริหาร มีรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรเหมือนเรา และที่สำคัญนอร์เวย์ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเลย เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
เขาไม่มี 7 รอบ 70 ปีแบบเราเพราะเค้าเคารพและเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนไงละว้อยบักหำาา ถ้ามีเค้าคงเป็นประเทศโลกที่ 3 แบบเราแล้ว เค้าเจริญไปกว่าเราแล้ว ทำไมไม่เอาเค้าเป็นตัวอย่างล่ะวะ มึงจะย่ำอยู่กับที่ภูมิใจใน 7 รอบ 70 ปีของมึงไปเพื่ออะไร มึงจะภูมิใจรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับของมึงเพื่ออะไรวะไอหอก ประเทศกำลังพัฒนามากี่ปีแล้วมึงไม่คิดจะเปลี่ยนบ้างเหรอวะ มึงจะกำลังพัฒนาไปถึงไหน กำลังพัฒนาจนถึงสร้างกันดั้มได้เลยใช่มั้ย นี่ขนาดมึงมีความนุ่มนวลนะ เล่นจับขังๆ เป็นว่าเล่น นุ่มนวลมากอีสัสสส
ปล.ใครเอาไอหอกนี่มาเป็นรัฐมนตรีวะ เอามันลงไปดิ้ หาคนมีความรู้หรืออย่างน้อยถ้าไม่รู้ก็หาข้อมูลก่อนพูดโง่ๆ สิว้อยยย กูเกิ้ลรู้จักมั้ยไอสัสสสส
.....

เนเธอแลนด์
สเปน
ญี่ปุ่น
สวีเดน
นอร์เวย์
เบลเยี่ยม
อังกฤษ
ประเทศเหล่านี้ที่อยู่ในUPR ก็มีสถาบันกษัตริย์ทั้งนั้น
และประเทศเหล่านี้ก็มีความห่วงใยเรื่องการใช้กฎหมายมาตรา112ของไทย ไพบูลย์ไปอยู่รูไหนมา ถึงบอกเขามีไม่เหมือนเรา หาความรู้มั่งเห๊อะ วันๆทำอะไรบ้างวะ นอกจากรับคำสั่งนาย
.....

ประเทศด้อยพัฒนา. บอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีอารยะ ช่างกล้าจริง ๆ
.....

ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลก (อันดับ1 นะโว้ย!) ครองแชมป์ 7 ปีซ้อน ติเตียนไทย ประเทศที่อันดับความน่าอยู่ยังไม่พ้นอันดับ 40 แต่ทหารบ้านกูยังไปดูถูกว่าเค้าไม่มีอารยะ แม่ง!กูขำประเทศกูจนน้ำตาเล็ด....😂😂😂😂
.....

ไหนๆก็เข้ามาแล้วขอมีสาระหน่อยละกัน ประเทศนอร์เวย์
-เป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์(Human Development Index หรือ HDI)มากที่สุดในโลก
-ดัชนีการศึกษาสูงเป็นอันดับ3ของโลก
-อัตราการคอรัปชันต่ำมาก(อันดับที่171 จาก180ประเทศทั่วโลก ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่94)
-ดัชนีสันติภาพโลกลำดับที่17 จาก162 ประเทศทั่วโลก(ไทยอยู่อันดับที่126)
-ประชากรเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นอันดับที่3ของโลก(ถ้าเทียบกับจำนวนประชากร)
เอาไปแค่นี้ก่อน ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกได้เลย

ooo

+ข้อสังเกตต่อปรากฏการณ์การบังคับกฎหมายมาตรา 112 จากกรณีบุรินทร์และแม่จ่านิว+



.
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงกล่องสนทนาส่วนตัวระหว่างบุรินทร์กับ หนึ่งนุช หรือ “แม่จ่านิว” และการตั้งข้อหาตามมาตรา 112 ก่อให้เกิดการกระแสวิพากษ์วิจารณ์การบังคับกฎหมายในสังคมไทย
.
อย่างไรก็ดี ปรากฎการณ์ในครั้งนี้ มีประเด็นที่พอจะตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
.
1) จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครทราบว่า "ข้อความ" ของบุรินทร์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 112 ที่หนึ่งนุชหรือแม่จ่านิวไม่ได้ตำหนิหรือต่อว่านั้นคืออะไร
.
และต่อให้มีคนรู้ ก็ไม่อาจนำเสนอได้เพราะจะกลายเป็น "ผลิตซ้ำ" และคนนำเสนออาจตกเป็นผู้ต้องหาเสียเอง
.
นอกจากนี้ คนในสังคมก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้โดยง่าย ซึ่งตามปกติก็มีเพียงทนายและคนในชั้นศาลเท่านั้นที่จะรู้ โดย พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ก็ได้ให้สัมภาษณ์แล้วว่า ผู้ต้องหามีการพูดคุยมากกว่าคำว่า "จ้า" แต่รายละเอียดไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะคดียังอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวน
.
2) เมื่อประชาชนหรือสังคมไม่สามารถทราบเนื้อหาที่แท้จริง จึงไม่สามารถถกเถียงหรือแสดงความคิดเห็นได้ว่า "การแสดงออก" เช่นนั้น ผิดหรือไม่ผิด และเท่ากับว่า อำนาจการวินิจฉัยความผิดเบื้องต้นจะเป็น "ดุลยพินิจ" ของศาลที่ออกหมายจับกับพนักงานสอบสวนแต่เพียงลำพัง
.
อีกทั้ง ในกระบวนการพิจารณาคดี สังคมก็ได้ยกอำนาจชี้ขาดให้ศาลใช้ "ดุลยพินิจ" ได้อย่างอิสระ โดยที่สาธารณชนไม่อาจแตะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้ ซ้ำร้ายการแสดงความคิดเห็นยังอาจเข้าข่ายความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ดูหมิ่นศาล หรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานได้อีก
.
3) จากสภาวะในข้อ 1) และ 2) ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมปัจจุบันไม่เปิดให้สังคมมีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งที่กระบวนการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้คนในสังคมได้เข้าใจทั้งเนื้อหาของคดีและกระบวนการพิจารณาคดี ให้สังคมมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการถกเถียงแลกเปลี่ยน วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างสุจริต อาจเป็นเครื่องมือเดียวที่รับประกันได้ว่าบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจะไม่ใช้ดุลพินิจไปโดยลำพังตามความคิดเห็น อคติส่วนตัว หรือคติทางการเมือง
.
4) การที่หนึ่งนุชพิมพ์คำว่า "จ้า" เป็นผลให้ถูกตั้งข้อหาว่าทำความผิดต่อกฎหมาย ก็อาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากบริบทของกระบวนการยุติธรรมที่ทับถมกันมาเช่นนี้เป็นเวลานาน
.
เมื่อสังคมไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลของคดีและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางบนพื้นฐานข้อเท็จจริง สังคมก็ไม่เคยได้ร่วมตรวจสอบการทำงานของกระบวนการยุติธรรม หรือไม่เคยได้ช่วยกันตีความและตีกรอบการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 แต่อย่างใด
.
////////////////////
.
สถิติ "ที่ควรรู้" เกี่ยวกับผู้ต้องหาคดี "มาตรา 112" (หลังรัฐประหาร)
.
มีคนอย่างน้อย 67 คน ถูกตั้งข้อหา
มีคดีอย่างน้อย คดี ที่ศาลพิพากษาแล้ว
มีคดีอย่างน้อย 12 คดี ที่ศาลสั่งพิจารณาลับ
.
หมายเหตุ: ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขอย่างน้อย ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2559
.
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/politically-charged

** ขออภัยในความผิดพลาด ที่ก่อนหน้านี้มีการให้ข้อมูลว่า พิพากษาไปแล้วอย่างน้อย 35 คดี แต่ตัวเลขที่แท้จริงคือ 22 ต้องขออภัยผู้รับข้อมูลทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ

iLaw