วันศุกร์, ตุลาคม 07, 2565

สื่อต่างชาติตั้งคำถามเหตุกราดยิงในไทยเกิดบ่อยครั้ง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=529336809192854&set=a.462041962589006
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
7h

สื่อต่างชาติตั้งคำถามเหตุกราดยิงในไทยเกิดบ่อยครั้ง
.
สื่อต่างประเทศสำนักต่างๆ พร้อมใจ รายงานข่าวเหตุกราดยิงที่เกิดขึ้นภายใน ศูนย์ดูแลเด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภูของไทย ในวันนี้ (6 ต.ค.) โดยต่างระบุว่า นี่เป็นโศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้น พร้อมตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุสะเทือนขวัญจากอาวุธปืนบ่อยครั้งในประเทศไทยในระยะหลัง
.
บีบีซี ของอังกฤษ รายงานข่าวเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภูของไทย โดยระบุว่า คนร้ายเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเพิ่งถูกปลดออกจากราชการเมื่อปีที่แล้ว และมีปัญหาส่วนตัว
.
สเตรทส์ ไทม์ส สื่อยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ ระบุว่า นี่เป็นเหตุกราดยิงครั้งที่ 4 แล้ว ที่เกิด ขึ้นในประเทศไทยนับตั้งเดือนมกราคม 2019 เป็นต้นมา ซึ่งนั่นหมายความว่า เกิดเหตุกราดยิงในไทยแล้ว 4 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี

.
ด้านนิวยอร์ก โพสต์ สื่อสหรัฐฯ รายงานข่าวเหตุกราดยิงในไทย โดยระบุมีแนวโน้มที่ยอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นอีก และตั้งคำถามถึงแรงจูงใจในการที่คนร้ายที่ลงมือก่อเหตุตอนกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ในศูนย์กำลังนอนหลับ ก่อนจะลงมือสังหารโหดโดยใช้ทั้งปืนและมีด
.
ขณะที่ดอยต์เชอ เวลเลอ สื่อยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี รายงานข่าวเหตุกราดยิงมากกว่า 30 ศพ ในไทย โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่เริ่มเกิดเหตุรุนแรงเกี่ยวกับอาวุธปืนบ่อยครั้งในไทยในระยะหลัง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความหละหลวมในการควบคุมอาวุธปืนในไทย เนื่องจากไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราการครอบครองปืน (gun ownership) ที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และจำนวนคนไทยที่ครอบครองปืนก็สูงกว่าสถิติการครอบครองปืนของประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียน
.
สถานีโทรทัศน์ CNN ซึ่งมีฐานอยู่ในนครแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจียของสหรัฐฯ รายงานข่าวเหตุกราดยิงที่ศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภู ทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย CNN ระบุว่า สาเหตุสำคัญที่น่าจะนำไปสู่การเกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะอัตราการครอบครองปืนในประเทศไทยที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
รายงานของ CNN ซึ่งอ้างข้อมูลจากองค์กรวิจัย Small Arms Survey (SAS) ในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า มีพลเรือนในไทยมากกว่า 10.3 ล้านคนที่ครอบครองอาวุธปืนหรือคิดเป็นสัดส่วนปืนราว 15 กระบอก ต่อประชากรไทยทุก 100 คน
.
ในจำนวนอาวุธปืนดังกล่าว ปรากฏว่า มีปืนที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายราว 6.2 ล้านกระบอก ขณะที่อีกกว่า 4.1 ล้านกระบอก เป็นปืนเถื่อน ที่ไม่ได้ผ่านการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
.
ขณะเดียวกัน ไทยยังถือเป็นประเทศที่มีเหตุฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืนสูงเป็น อันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ตามผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย วอชิงตันในสหรัฐฯเมื่อปี 2019
.
#รอบโลกDaily #PPTVHD36 #ข่าวต่างประเทศ #รอบโลกbyกรุณาบัวคำศรี