วันเสาร์, ตุลาคม 29, 2565

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแจ้งว่าจนถึงเดือน ต.ค. 2565 มีนักกิจกรรมและประชาชน ถูกศาลสั่งให้ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไล EM ระหว่างสู้คดีไม่น้อยกว่า 80 คน


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
20h

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่าจนถึงเดือน ต.ค. 2565 มีนักกิจกรรมและประชาชนที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีความจากการแสดงออกทางการเมืองรูปแบบต่างๆ ถูกศาลสั่งให้ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไล EM ในการประกันตัวระหว่างพิจารณา ไปแล้วอย่างน้อย 80 คน แบ่งเป็นช่วงปี 2561 จำนวน 7 คน และระหว่างปี 2564-2565 จำนวน 73 คน
.
สถิตินี้เพิ่มขึ้นจากที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานไว้ในช่วงเดือน เม.ย. 2565 จำนวน 19 คน
.
จำนวนกลุ่มคดีที่ถูกให้กำไล EM สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1. คดีมาตรา 112 ซึ่งประกอบด้วยทั้งนักกิจกรรมที่เป็นแกนนำในการชุมนุม และประชาชนซึ่งไม่ได้ถูกดำเนินคดีจากเหตุการชุมนุม แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ รวมจำนวน 27 คน
.
2. คดีช่วงการชุมนุมทะลุแก๊ส บริเวณดินแดง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจำนวนหลายข้อหา อาทิ ร่วมกันมีวัตถุระเบิด, ชุมนุมมั่วสุมเกิน 10 คน ใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายฯ, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, วางเพลิงเผาทรัพย์ เป็นต้น รวมจำนวน 25 คน

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 กลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีจากกิจกรรมเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2565 ที่ได้รับการประกันตัวจำนวน 8 คน ภายใต้เงื่อนไขให้ติดกำไล EM ทั้งหมดด้วย
.
3. คดีอันเนื่องมาจากการชุมนุมในช่วงปี 2564 ที่ไม่ใช่บริเวณดินแดง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มทะลุฟ้า และ กลุ่ม REDEM ซึ่งถูกกล่าวหาข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, 216 รวมจำนวน 21 คน
.
4. คดียุยงปลุกปั่นและอั้งยี่ซ่องโจร ซึ่งเป็นจำเลยชุดคดีสหพันธรัฐไทที่ถูกดำเนินคดีในช่วงปี 2561 และปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างต่อสู้ในชั้นฎีกา จำนวน 4 คน โดยกฤษณะ หนึ่งในจำเลยคดีนี้เป็นผู้ที่ติด EM มายาวนานที่สุดตั้งแต่ปี 2561
.
5. พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 14 (5) ซึ่งเป็นจำเลยในคดีแชร์เพจ ‘กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ’ จำนวน 3 คน
.
จากจำนวนข้างต้น ยังพบว่ามีผู้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอถอดกำไล EM และได้รับการอนุญาตให้ถอดแล้วอย่างน้อย 24 คน ทำให้ยังมีผู้ที่ถูกให้ติดกำไล EM จนถึงปัจจุบัน (10 ต.ค. 2565) อยู่จำนวนอย่างน้อย 56 คน (เทียบกับรายงานเมื่อเดือน เม.ย. 2565 มีจำนวน 38 คน)
ในจำนวนดังกล่าวมีผู้ที่ถูกศาลกำหนดเงื่อนไขจำกัดเวลาเข้า-ออกจากเคหสถาน จำนวน 17 คน โดยเป็นผู้ที่ต้องอยู่ในบ้าน 24 ชั่วโมง จำนวน 2 คน
.
การติดกำไล EM ยังนำไปสู่ปัญหาหลายประการในชีวิตของนักกิจกรรมที่ต้องอยู่กับมัน 24 ชั่วโมง ทั้งปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์บ่อยครั้ง, ปัญหาต่อร่างกายส่วนที่ถูกกำไลเสียดสีตลอดเวลา, ปัญหาการเดินทาง ที่ไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้, ผลกระทบต่ออาชีพและความรู้สึกที่สังคมมองมา รวมทั้งสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้นจากการถูกให้ใช้ชีวิตอยู่กับเครื่องมือนี้
.
.
ย้อนอ่านรายงาน 9 ปัญหาที่ผู้ถูกสั่งติด EM เผชิญ >> https://tlhr2014.com/archives/42398
.
อ่านทั้งหมดในเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/49528