วันศุกร์, ตุลาคม 28, 2565
ไม่อยากให้ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าผ่าน เหตุผลจริงๆ ก็รู้ๆ กันอยู่
.....
Kamol Kamoltrakul
16h
การป้องกันการผูกขาดตลาดเหล้าเบียร์สร้างคนจนและยาบ้า
เพราะรัฐปกป้องการผูกขาด ปัญหาจึงตามมาเป็นกระพรวน!
การที่รัฐส่งเสริมการผูกขาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการทำลายภาคเกษตร และลดการจ้างงาน
ทำให้จีดีพี หดหาย ประเทศไทยเสียโอกาส ขาดรายได้
ยาบ้า ยาเสพติดระบาด เพราะคนขาดอาชีพ อาชญากรรมเพิ่ม
ประเทศที่ผลิตไวน์มาก และส่งออกมาก นำรายได้มาให้เกษตรกรมากมาย แต่ไม่เห็นประเทศไหนมีคนขี้เมาอย่างที่หวั่นเกรงกันเลย
มันเป็น Myth ที่ต้องการธำรงการผูกขาดตลาดเบียร์ที่มีมูลค่าร่วมปีละ 2 แสนล้านบาท ตลาดเหล้าขาวและสี มีมูลค่าปีละอีก ร่วม 2 แสนล้านบาท ซึ่ง 2 ตระกูล ผูกขาดตลาดร้อยละ 85 ให้คน 2-3 ตระกูลร่ำรวย
แต่ตัดโอกาสของเกษตรกร และนักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการรายย่อยนับแสนๆครอบครัวให้หมดโอกาส และจมอยู่กับความยากจน
อ้อย ข้าวโพด มันสัมปะหลัง กิโลกรัมละไม่กี่บาท แต่นำมาผลิต เหล้า Rum Bourbon และ Vodka ขายได้ขวดละหลายร้อย หรือพันบาท หากผลิตแบบมีคุณภาพขายขวดละ หมื่นก็มี
หากเปิดโอกาส เกษตรกรก็จะได้หายจนถ้วนหน้าได้เสียที
ขอส่วนแบ่งจากตลาดผูกขาดสัก ร้อยละ 30 ก็พอ ที่ขอให้รัฐบาลคลายเงื่อนไขลง
ขอให้ ส.ส.และ ส.ว. ร่างกฎหมาย พ.ร.บ. สุราที่เปิดเสรีจริง ออกมาแทน พ.ร.บ. สุรา 2493 ที่มีอายุ 73 ปีแล้ว ล้าหลังและไม่สอดคล้องกับยุคสมัยแล้ว
ประเทศอิตาลีมีผู้ประกอบการรายย่อยผลิตไวน์ในครอบครัว 4 หมื่น 5 พัน 6 ร้อยล้านครัวเรือน ผลิตไวน์ออกมา 5000 แบรนด์
ญี่ปุ่นมีผู้ผลิตสาเก 1300 ราย ผลิตสาเกออกสู่ตลาด 5000 แบรนด์ เช่นเดียวกัน
เยอรมันนีมี Microbreweries หรือผู้ผลิตเบียร์รายย่อย 1300 ราย ผลิตเบียร์ออกมา 5000 แบรนด์
ประเทศเหล่านี้ ไม่มีคนขี้เมาเหมือนเมืองไทย ที่มีคนขี้เมาเยอะ ยาบ้าเยอะเกิดจากความจนจึงเครียด แล้วเสพอย่างไม่ยั้งคิดเพื่อคลายเครียด ไม่ใช่ดื่มพอประมาณเพื่อสันทนาการและเพื่อสุขภาพเหมือนในประเทศที่ร่ำรวย ซึ่งเป็นผู้ผลิตไวนืเหล้าส่งออก นำรายได้มาเข้าประเทศปีละเป็นหลายแสนล้านบาท
ขอเชิญรับฟัง
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3518214758468357&id=1439003539722833&mibextid=kBB05R