วันอังคาร, ตุลาคม 04, 2565

นันทิดา รักวงศ์ แชร์ เอกสาร คำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ #ไอซีซี กรณีสังหารหมู่ปี 53 ก่อนงานพูดคุยกับ @robertamsterdam ในวันอาทิตย์นี้ เข้าไปดาวน์โหลดเอกสารทั้งฉบับไทยและอังกฤษได้



คำร้องเพื่อขอให้มีการสอบสวน
สถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ในราชอาณาจักรไทย

ยื่นโดย สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์เพรอฟฟ์
ในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ต่อ สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์
31 มกราคม พ.ศ. 2553


บทนำ
วันที่ 11 มีนาคม 2553 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (“นปช.”) หรือ “เสื้อแดง” มากกว่าหนึ่งแสนคนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมสมทบการชุมนุมกับชาวกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนหลายหมื่นคนในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่าเป็น “การต่อสู้เพื่อต่อต้านเผด็จการครั้งสุดท้าย” ปฎิญานว่าจะไม่ยุติการชุมนุมจนกว่านายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะยอม “ยุบสภา” “คืนอำนาจให้กับประชาชน” และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ สองเดือนหลังจากนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงปักหลักอยู่หลังแนวค่ายผู้ชุมนุมที่สร้างขึ้นในพื้นที่ยุทธศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญใจอยู่กลางกรุงเทพฯ การแสดงพลังทางการเมืองครั้งใหญ่เป็น ความพยายามของคนไทยที่จะต่อสู้กับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน

การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและการลงมือทำรัฐประหาร ในเดือนกันยายน 2549 ด้วยความร่วมมือของสมาชิกในคณะองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยทำการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน คือในปี 2544, 2548 และ 2549 ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงาน ต่างๆ ของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี เมื่อพรรคการเมืองที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปลายปี 2550 ได้ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรคพร้อมทั้งตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพียงเพราะว่าพรรคการเมืองต่างๆ ที่ชนะการเลือกตั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยไปทั้งหมดสี่ครั้งก่อนนั้นถูกบังคับให้ยุบสภาอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทำรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจของชนชั้นสูงที่เป็นกลุ่มนายทุนเก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี – กลุ่มคนที่ในคำร้องนี้จะอ้างถึงโดยรวมว่า “กลุ่มอำนาจเก่า” การฟื้นฟูระบบการปกครองเก่าของไทยนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทย การบังคับการเลือกตั้งที่มีมาจนถึงปัจจุบันที่สำคัญ ท้าทายทางประวัติศาสตร์ของอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่า ต่อมาก็เอารูปแบบของนโยบายร่วมกันที่ เรียกร้องอะไรที่ไม่มากไปกว่าการทำลายการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังทำอยู่ในขณะนี้

โดยแท้จริงแล้ว ตามรายละเอียดด้านล่าง หลังจากการรัฐประหารในปี 2549 เกือบจะทันทีที่ผู้นำทางการทหารและผู้นำทางการเมืองภายในกลุ่มอำนาจเก่าเห็นพ้องต้องกันว่าคนเสื้อแดงจะลุกขึ้นต่อต้านเผด็จการทหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่กำหนดให้กับคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลุ่มอำนาจเก่าวางแผนและดำเนินการวิธีการตอบโต้ทางทหารโดยการเตรียมมาตรการในการปราบปรามการที่รุนแรงต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว ภายใต้การกำกับของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปเป็น ผู้บัญชาการทหาร กองทัพบกไทยฝึกซ้อมการปฎิบัติภารกิจโดยจำลองการฝึกซ้อมจากเหตุการชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พวกเขารวบรวมทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการลับ ซึ่งรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 150 คนที่มีความชำนาญมากที่สุด เชียวชาญการใช้ปืนสไนเปอร์และพลแม่นปืนต่างๆ ที่มาจากค่ายทหารทุกแห่ง กลุ่มคนเหล่านี้กลายมาเป็นกลุ่มคนที่รู้จักในชื่อเรียกว่า"มือที่สาม" และ "ชายชุดดำ" ที่ลึกลับ กลุ่มคนที่นายกรัฐมนตรีกล่าวโทษซ้ำ ๆ ว่าเป็นกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรงในปี 2553 -- เรื่องราวเหล่านี้ประติดประต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจผิด ๆ ที่ว่าคนเสื้อแดงเป็นอันตราย และเป็นภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ตามที่กล่าวไว้ข้างบน แน่นอนที่สุดว่า ทันทีหลังจากเหตุการรัฐประหารในปี 2549 นักการเมืองและผู้นำทหารคนสำคัญจากกลุ่มอำมาตย์ลงความเห็นว่าคนเสื้อแดงจะลุกฮือประท้วงรัฐบาลทหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นรัฐบาลที่กลุ่มอำมาตย์เลือกขึ้นมา กลุ่มอำมาตย์จึงวางแผนในการใช้กำลังทหารตระเตรียมการกดขี่โดยใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา-ซึ่งภายหลังถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก-กองทัพไทยซ้อมรับมือกลุ่มผู้ชุมนุมโดยใช้เหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมินเป็นแบบอย่าง พวกเขารวบรวมทีมผู้เชียวชาญในการปฏิบัติการลับ รวมถึงกลุ่มพลซุ่มยิงและนักแม่นปืนได้ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและชำนาญทั้ง 150 คน จากทหารในหน่วยต่างๆ กลุ่มชายเหล่านี้ต่อมารู้จักกันในนาม “มือที่สาม” หรือ “กลุ่มชายชุดดำ” ปริศนา กลุ่มคนที่นายกรัฐมนตรีมักจะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างบ่อยครั้งในปี 2553-เรื่องราวถูกประติดประต่อเพื่อสร้างภาพหลอกๆว่าคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มที่เป็นภัยและอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์

การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ในกรุงเทพฯ และทะลวงค่ายชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งนี่เป็นแผนปฎิบัติการสลายการชุมนุมครั้งที่ 2 ของทางกองทัพบก หลายสับปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าฯ การปฎิบัติการทหารยามค่ำคืนที่ตามมาทันที – นำโดยกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ภายใต้คำสั่งของพลเอก ประยุทธ – ทำให้มีผู้เสียชีวิต 27ราย รวมทั้งทหารจำนวนหยิบมือหนึ่งที่เสียสละชีวิตเพื่อให้เป็นข้ออ้างในการเปิดฉากยิงพลเรือนที่ปราศจากอาวุธเป็นพันๆ คนที่รวมตัวกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและบริเวณสี่แยกคอกวัว

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 รายจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 13 และ 19 พฤษภาคม ทางทิศใต้ของราชประสงค์ กองพันทหารม้าที่ 2 นำโดยพลตรี สุรศักดิ์ บุญศิริ รับคำสั่งภายใต้ผู้บัญชาการทหาร อนุพงษ์ เผ่าจินดา ตั้งเขตการใช้กระสุนจริงตรงถนนรามา 4 โดยมีคำสั่งด้วยวาจาให้ยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว ทหารเหล่านี้ยังได้รับคำสั่งให้ป้องกันมิให้มีภาพถ่ายการสังหาร (ซึ่งนำไปสู่การระบุเป้านักข่าว) และป้องกันมิให้มีการเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิต (ซึ่งนำไปสู่การระบุเป้าบุคคลากรทางการแพทย์) คำสั่งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก "การปฎิบัติการข่าวกรอง"ของกองทัพที่ให้ทหารแฝงตัวเป็นคนขับรถพยาบาลขับรถรับศพไปยังโรงพยาบาล 2 แห่งที่ได้มีการนัดแนะกันเอาไว้ เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเผาศพเพื่อทำลายหลักฐานที่จะใช้ในการเอาความผิด กองพลทหารราบที่ 1 ภายใต้คำสั่งของพลตรี กัมปนาท รุดดิษฐ์ ได้รับคำสั่งเดียวกันนี้ในการปฎืบัติภารกิจในพื้นที่ดินแดงและราชปรารภพื้นที่ทางตอนเหนือของราชประสงค์

วันที่ 13 พฤษภาคม หนึ่งในพลซุ่มยิงที่ปฎิบัติภารกิจลับของกองทัพบได้ยิงกระสุนลึกลับที่สังหารพลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล (รู้จักในชื่อ เสธ.แดง) ในขณะที่กำลังให้สัมภาษณ์สดกับนักข่าวจาก New York Times

วันที่ 19 พฤษภาคม กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ พร้อมการสนับสนุนจากกรมรบพิเศษที่ 3 บุกทลายแนวกั้นของคนเสื้อแดงเพื่อสังหารกลุ่มแกนนำตามคำสั่งที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวภายกองทัพบกได้แจ้งรายละเอียดของคำสั่งนี้ต่อแกนนำคนเสื้อแดงทันเวลาที่แกนนำจะเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากการประกาศยอมแพ้ ได้มีผู้ชุมนุมมากกว่าพันคนหลบเข้าไปอยู่ใกล้ๆ กับวัดปทุมวนาราม ที่ๆ ผู้ชุมนุมที่หนีออกจากบริเวณราชประสงค์เห็นว่าปลอดภัย แต่พลซุ่มยิงที่อยู่รางรถไฟฟ้ายิงสังหารพลเรือนที่ปราศจากอาวุธจำนวนทั้งสิ้น ๖ ศพ เป็นอาสาสมัครพยาบาล 3 ศพ ในช่วงเย็นของวันที่ 19 พฤษภาคม

ต่อมาผู้นำกองทัพได้หาที่ซ่อนปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AK-47 และระเบิดต่างๆ ได้ภายในวัดและภายในสวนลุมพินี ซึ่งพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำกองทัพบก ได้แสดงให้เห็นในการแถลงข่าวที่เรียกว่าเป็น "การค้นพบ"

นับถึงเวลาที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่ราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ มากกว่า 30 แห่งยังคงมีควันกรุ่น คนเสื้อแดงตกเป็นผู้สงสัยในการลอบวางเพลิงครั้งนี้ พยานปากสำคัญที่ถูกวางตัวไว้ภายในทำเนียบรัฐบาลและกองทัพบกให้การว่าเหตุการณ์เหล่านี้ถูกทางกองทัพจัดเตรียมล่วงหน้าหลายสัปดาห์ โดยมีการรู้เห็นและยินยอมจากทางเจ้าของอาคารเหล่านี้ เพื่อเป็นการสร้าง “หลักฐาน” เพิ่มเติมในการมีแนวโน้มการใช้ความรุนแรงของคนเสื้อแดง ในขณะที่มีบันทึกคำให้การของพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายร้อยรายการและเอกสารที่เป็นคลิปวีดีโอเป็นพันๆ รายการที่บันทึกการใช้กระสุนจริงของทหารกองทัพบกต่อพลเมืองที่ปราศจากอาวุธ นักข่าว และบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ทางรัฐบาลไทยได้อำพรางหลักฐานอย่างเป็นระบบ แทนที่จะยืนหยัดต่อหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างปรเทศในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการสังหารและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ รัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข่มขู่พยานผู้ให้การตามความเป็นจริง และตั้งข้อหาที่ไม่ถูกต้องให้กับแกนนำคนเสื้อแดงว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” เพื่อหันเหความผิดทางอาญาของรัฐบาล ที่จริงแล้ว กระบวนการพิจราณาคดีของศาลต่อแกนนำคนเสื้อแดง ซึ่งอาจมีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิตนั้นเต็มไปด้วยการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามระเบียบเช่น การไม่รับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและการที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของแกนนำเสื้อแดง เจ้าหน้าที่ของกองทัพบกที่มีส่วนร่วมในภารกิจการสลายการชุมนุม รวมทั้งผู้ตรวจสอบที่จัดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายงานเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของรัฐบาล ต่างก็ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งทั้งสิ้น

พยานนับร้อยๆ คน และวิดีโอคลิปพันๆ คลิป ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยต่อ พลเรือนที่ไร้อาวุธ รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษภาคม รัฐบาลไทยทำลายหลักฐานของอาชญากรรมอย่างเป็นระบบ แทนที่จะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศสอบสวนเหตุการณ์สังหารและดำเนินคดีกับบุคคลผู้มีส่วนรัลผิดชอบ แต่รัฐบาลกลับควบคุมทิศทางการสอบสวน ข่มขู่พยานที่พูดความจริง และจับกุมแกนนำเสื้อแดงด้วยข้อหาผิดๆด้วยข้อหา “ก่อการร้าย” เพื่อเบี่ยงแบนความสนใจไปจากอาชญากรรมที่รัฐบาลกระทำ และแน่นอนที่สุดว่ากระบวนการดำเนินคดีกับแกนนำเสื้อแดง ซึ่งเป็นคดีที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตนั้นไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ รวมถึงการกันหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีออกไปอย่างไม่เหมาะสม และศาลไม่อนุญาติให้แกนนำเสื้อแดงเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของตนเอง นอกจากนี้บุคคลในกองทัพไทยและพนักงานสอบสวนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมทิศทางรายงานคดีให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลยังได้รับการเลื่อนขั้นหรือไม่ก็จะได้รับการเลื่อนขึ้น

เป็นเวลาหลายเดือนตั้งแต่มีการสลายการชุมนุม ความวามพยายามของรัฐบาลในการทำลายขบวนการคนเสื้อแดงยังคงไม่เป็นผล รัฐบาลของนายกอภิสิทธิ์ยังคงต้องใช้ “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” ต่อไป ให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทางการเมืองจัดฉากเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ และทำให้ประชาชนหวาดกลัวแล้วป้ายความผิดมาให้กับการชุมนุมที่สงบเพื่อเป็นการรักษาความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมต่อไป ในขณะที่ การปราบปรามการแสดงออกอย่างเสรีที่รุนแรง ใช้มาตรการในการตรวจสอบสื่ออย่างเข้มงวดและมีการใช้กฎหมายดราโก ครอบงำความเห็นแย้งที่มีเหตุผลและชอบธรรม ผู้ประท้วงหลายร้อยรายยังคงถูกควบคุมตัวในข้อหาฝ่าฝืนและละเมิดพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในและพระราชกำหนดฉุกเฉิน -- ตามรายงานระบุว่ามีผู้ประท้วงหลายรายถูกผู้คุมทำร้ายและทรมาน นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ามีแกนนำท้องถิ่นหลายคนเสียชีวิตในจังหวัดชลบุรี, โคราช, ปทุมธานีและเชียงใหม่

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยที่ร้ายแรงที่สุด นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ ปรกาศให้มี “การปรองดอง” การตรวจสอบข้อเท็จจริง การยอมเจรจา และการเดินหน้าเข้าหาการเลือกตั้งที่อาจจะช่วยแก้ไขการเข้ามาเป็นรัฐบาลของนายกอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาจากอำนาจประชาธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเวลาหลายเดือนที่รัฐบาลทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำประกาศที่ให้ไว้ แสดงการใช้อำนาจเข้าครอบงำทำลาย ซึ่งต่างจากวาทศิลป์ที่นายกอภิสิทธิ์ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง การเพิกเฉยของรัฐบาลต่อหน้าที่ในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ความรุนแรง การปิดกั้นสื่อทางเลือก และการก่อกวนการชุมนุมประท้วงของเสื้อแดง หมายถึงการ “ปรองดอง” ซึ่งแท้จริงแล้วคือ “การยกเว้นโทษให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ” รวมถึงการคืน “ความสมานฉันท์” ที่ทำโดยการโฆษณาชวนเชื่อและการปราบปรามการชุมนุม

ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งตามมาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตของพลเรือนหลายสิบชีวิต ซึ่งสมควรที่จะได้รับการพิจารณา กลับมีระบบที่เลือกปฏิบัติด้วยการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของบุคคลและจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองผู้ที่ต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งมีกักขังและการล่วงละเมิดของผู้ถูกจองจำนับร้อย เปิดโอกาสให้มีการกระทำทารุณอย่างร้ายแรง ซึ่งรวมไปถึง กระบวนการที่ยืดเยื้อ ซึ่งมีความจำอย่างที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำลงไป แม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย ที่ซึ่งเคยมีเหตุการณ์สังหารหมู่ที่คล้ายกันในปี 2516, 2519 , และ 2535 และไม่เคยมีการสอบสวนลงโทษมากก่อนหรือลงโทษต่อการกระทำที่สังหารพลเรือน เป็นที่เห็นได้ชัดเจนในเวลานี้ว่า การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสังหารหมู่ในกรุงเทพฯ ว่ามิใช่เป็นเพียงแค่การพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงให้สับสน เพื่อป้องกันกลุ่มคนที่มีส่วนในการรับผิดชอบ ต่อการใช้ความรุนแรงหลายต่อหลายครั้งของรัฐบาลในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยรอดพ้นจากความยุติธรรม

ด้วยเหตุนี้คำร้องเบื้องต้นนี้ได้ถูกยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ("ICC") ในกรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์ ขอให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้ลงมือตรวจสอบรายงานเบื้องต้นของการการะทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในราชอาณาจักรไทยในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 จนถึงปี 2553การสังหารหมู่และผลที่ตามมา ผู้ร้อง ทราบดีว่าประเทศไทยมิได้ให้สัตยาบันและลงนามบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ผู้ร้องประสงค์จะพิสูจน์ว่า

ก. เหตุการณ์ในประเทศไทยอาจสามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยผ่านการแนะนำโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ภายใต้มาตรา 13 (b) ของธรรมนูญแห่งโรม

ข. อย่างน้อยกับนายกรับมยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ทีได้ให้อำนาจอย่างชัดเจนในการสังหารพลเรือนตามนโยบายในการทำลายขบวนการเสื้อแดงตามนโยบายที่จะทำลายการเคลื่อนไหวเสื้อแดง – ศาลอาญาระหว่างประเทศมีหลักอำนาจพิจารณาตามประเภทของคู่กรณี นายอภิสิทธิ์ในความเป็นจริงเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรซึ่งได้ให้สัตยาบันและลงนามบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ

ค. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ

ง. ผู้นำทางการเมืองและทหารของประเทศไทยต้องรับผิดชอบต่อการกระทำความผิดทางอาญาเหล่านี้

วันที่ 25 ตุลาคม 2553 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ส่งคำร้องเบื้องต้นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ รายงานเบื้องต้นฉบับนี้ระบุหลักฐานเบื้อง้ต้นเป็นเหตุผลอันสมควรให้เชื่อว่ารัฐบาลและกองทัพบกได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามมาตราที่ 5 ธรรมนูญแห่งกรุงโรม (ให้คำจำกัดความในมาตราที่ 6 , 7 และ 8) – การกักขังและการลิดรอนอิสรภาพทางร่างกาย รวมถึงการกลั่นแกล้งทางการเมือง และการฆาตรกรรม ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นพลเมืองเกือบ 90 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 2,000 ราย ตามหลักฐานที่ปรากฏในรายงานเบื้องต้น การกระทำที่มีความผิดทางอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตามกฎหมายอาญาระหวางประเทศ

รายงานล่าสุดได้ระบุถึงการใช้อำนาจศาลขั้นพื้นฐานในการตรวจสอบและนำเสนอหลักฐานใหม่ที่ยืนยันต่อคณะกรรมการของการก่ออาชญากรรมดังกล่าวข้างต้น ระบุรายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลทางอาญาและความรับผิดของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อหลักฐานใหม่ที่พบ สุดท้าย แม้ว่าเอกสารคำร้องเบื้องต้นร้องขอให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาข้อมูล โดยหวังให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในอนาคต คำร้องนี้มีคำร้องทุกข์ที่มีรายละเอียดเฉพาะที่ส่งถึงอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย

2. ความเป็นมา: เหตุการณ์อันนำไปสู่รัฐประหารปี พ.ศ. 2549

อ่านต่อที่ https://docs.google.com/document/d/1rYHgLTF7qImVeLQcVN8OVjbz8rsKEt67/edit
.....