Common School
20h ·
[ แจกฟรี!! 2 บทความจากวารสารฟ้าเดียวกันปี 2553 ว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน อ่านก่อนไปฟังเสวนาวันอาทิตย์นี้ ]
.
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) คือศัพท์วิชาการเกิดใหม่ (ใช้มาราวๆ 30 กว่าปีนี้เอง) ที่หมายถึงการพยายามสถาปนาความยุติธรรมในสังคมประชาธิปไตยที่เพิ่งหลุดพ้นจากระบอบเผด็จการที่ใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะในระดับเล็กอย่างการคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แน่นอนว่าพอเป็นศัพท์ใหม่ คำนิยามและตัวอย่างอธิบายก็ใหม่ด้วยเช่นกัน
.
ประจักษ์ ก้องกีรติ และภัควดี วีระภาสพงษ์ (ในนามปากกา ภัควดี ไม่มีนามสกุล) ได้รังสรรบทความเกี่ยวกับคำศัพท์นี้ไว้ตั้งแต่ปี 2553 ในวารสารฟ้าเดียวกันปีที่ 8 ฉบับที่ 2 "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน" ที่ยังทรงคุณค่าและเข้ากันได้กับบริบทสังคมไทยแม้จะผ่านมาแล้ว 12 ปีแล้ว เพราะเหตุการณ์การเมืองมากมายในประเทศนี้ ยังทิ้งบาดแผลความอยุติธรรมแก่พลเมืองในสังคมอยู่ ตั้งแต่ 6 ตุลา 19 มาจนถึงพฤษภา 53
.
ในโอกาสที่นิทรรศการ 6 ตุลาเผชิญหน้าปิศาจ ได้จัดเสวนา "ความยุติธรรมในยุคเปลี่ยนผ่าน" ในวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคมนี้ และผู้เขียนบทความทั้งสองก็เป็นวิทยากรร่วมวงเสวนาด้วย ขึ้น Common School จึงขอชวนทุกคนมาอ่าน 2 บทความว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ดังกล่าว ก่อนจะไปคุยถึงประเด็นนี้ในปี 2565 กัน
.
ดาวน์โหลดบทความได้ที่นี่
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: เมื่อโลกไม่หันหลังให้โศกนาฏกรรม โดยประจักษ์ ก้องกีรติ https://bit.ly/3rAthEU
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: กรณีศึกษาประเทศอาร์เจนตินา โดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ https://bit.ly/3EinXgQ
.
นอกจากสองบทความดังกล่าว ยังมีบทความน่าสนใจในวารสารฟ้าเดียวกันฉบับนี้อีกมากมาย ดูสารบัญและสั่งซื้อวารสารได้ที่นี่
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-008-02/
.
อ่านจบแล้วมาพบกันที่เสวนา "ความยุติธรรมในยุคเปลี่ยนผ่าน" ณ Kinjai Contemporary สิรินธร 9 ตุลาคมนี้ 17.30-19.30 น. หรือรอฟังไลฟ์อยู่ที่บ้านได้ ที่ Facebook Page และ Youtube Common School
.
#6ตุลาเผชิญหน้าปิศาจ #6ตุลา
#พิพิธภัณฑ์6ตุลา
#kinjaicontemporary
#คณะก้าวหน้า