วันเสาร์, มิถุนายน 18, 2565

ติดคุกฟรี ๗-๘ ปี ขอเยียวยาไม่พอ ต้องเอาผิดผู้ฟ้องเท็จได้ด้วย แม้โจทก์อยู่ในอาณัติ คสช.

ที่จริงการเยียวยาผู้ต้องโทษทั้งๆ ที่มิได้กระทำผิด หรือที่เรียกกันว่า แพะ นั้นไม่เพียงพอต่อการคืนความยุติธรรมแก่ผู้เสียหาย ควรจะต้องฟ้องร้องเอาผิดต่อโจทก์ที่แจ้งความเท็จได้ด้วย แม้คนเหล่านั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในอาณัติ คสช.

ดังคดีปาระเบิดหน้าศาลอาญาเมื่อมีนาคม ๕๘ ศาลยกฟ้องจำเลย ๑๔ คนที่เหลือ แต่เขาเหล่านั้นถูกจำคุกมาแล้ว ๗ ปีกว่า บางรายอาจร้องขอเยียวยาได้ ก็คงไม่สามารถทำได้ง่ายๆ ตามหลักการ แม้ในคดีเกี่ยวเนื่องถึงผู้จ้างวานยกฟ้องไปแล้ว ก็ยังยาก

ระเบียบการตาม พรบ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย (พ.ศ.๒๕๔๔) ก็คือ “สามารถยื่นคำขอได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี”

คำว่า “แล้วแต่กรณี” นี่คือข้อจำกัด เพราะ “ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้” ท้าย พรบ.นี้ ยกตัวอย่างกรณีของ ‘แหวน’ ณัฐฏธิดา มีวังปลา ซึ่งโดนกล่าวหาหลายคดีเกี่ยวกับความมั่นคงและหมิ่นกษัตริย์ แล้วถูกยัดรวมในข้อหา “วางแผนและจ้างวาน” คดีปาระเบิดด้วย

คดีเหล่านี้ถูกผ่องถ่ายมาจากศาลทหารยุค คสช. สำหรับแหวนศาลยกฟ้อง ๒ คดี รวมทั้งคดีอาญา ม.๑๑๒ เนื่องจากโจทก์ ๒ คนไปเหมาเอารายชื่อในกลุ่มไลน์ รวมทั้ง เอนก ซานฟราน มาเป็นผู้ต้องหา คำพิพากษาบอกว่าโจทก์ “มีเพียงพยานบอกเล่า”

พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ฝ่ายกฎหมายของ คสช.ในเวลานั้น และ พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ รองผู้บังคับการสอบสวน แจ้งข้อหาในรายของ สุภาพร มิตรอารักษ์ ว่า “ตรวจค้นบ้านพักพบระเบิดชนิด RGD-5 หนึ่งลูก” แต่ไม่สามารถแสดงหลักฐานประจักษ์ได้

สุภาพรยังให้การว่า “เธอถูกทำร้ายร่างกายจนสลบไป และเมื่อตื่นขึ้นมาเจ้าหน้าที่ก็ได้เปิดเทปบันทึกเสียงและบังคับให้เธอพูดตามเสียงในเทปเพื่อให้การตามเสียงนอกจากนั้นในเทปดังกล่าวผู้พูดเรียกตัวเองว่า เดียร์ ทั้งที่ตัวเธอเองมีชื่อเล่นว่า น้อย

ส่วนคดีของณัฐฏธิดา “ระหว่างการสอบสวน เจ้าหน้าที่มีการบอกว่าต้องการให้เธอออกจากการเป็นพยานในคดี ๖ ศพวัดปทุมวนาราม” ซึ่งทหารขึ้นไปบนเส้นทางรถไฟฟ้า แล้วยิงสาดเข้าไปในเขตอภัยทานซึ่งเต็มไปด้วยพบาบาลอาสา

แม้นว่าณัฐฏธิดาจะได้รับการประกันตัวก่อนที่ศาลจะยกฟ้องทั้งสองคดี “ด้วยมาตรา ๒๗๒ วรรค ๒ คือการยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นแก่จำเลย” แต่กลับเป็นกรณีที่ “ไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี” ได้

วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ๑๔ แพะในคดีปาระเบิด ซึ่งจำเลยที่ ๑ และ ๒ ยอมรับสารภาพ แล้วถูกพิพากษาจำคุกคนละ ๓๔ ปี จากข้อหาขว้างระเบิด และมีอาวุธต้องห้ามในครอบครอง กล่าวว่า “เป็นการลงโทษที่หนักเกินไป

เเละเห็นว่ายังขัดกับเหตุผลบางประการ” ศาลรับฟังว่าระเบิด อาร์จีดี ๕ มีอานุภาพทำลายล้างชีวิตคนได้ในระยะ ๑๐-๑๕ เมตร “แต่ความเป็นจริง รปภ. ที่ยืนอยู่ห่างจากจุดที่หลุมระเบิดลงประมาณ ๑๐ เมตรนั้น รปภ.ไม่ได้รับอันตรายแม้แต่นิดเดียว”

(https://siamrath.co.th/n/357734, https://prachatai.com/journal/2022/03/97842 และ https://www.moj.go.th/thainiyom/detail?id=2)