วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 18, 2564

แกะสัญลักษณ์ที่ซ่อนไว้ใน MV ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’


The MATTER
11h ·

แกะสัญลักษณ์ที่ซ่อนไว้ใน MV ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’
.
น่าตื่นเต้นไม่น้อยที่เมื่อเดือนที่แล้ว วงดนตรี getsunova ร่วมกับ Three Man Down ได้ปล่อยเพลง ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’ ออกมาในแบบ visualizer โดยเลือกให้ Uninspired by current events เพจเนื้อหาการเมือง มาทำอนิเมชั่นให้กับเพลงนี้ พร้อมทั้งได้พระมหาไพรวัลย์มามีส่วนร่วมด้วย
.
โดยไม่ต้องคิดอะไรให้นาน เราก็พอจะเดาได้ว่าคำพูด “อีกไม่นาน นานแค่ไหน” ในเนื้อเพลงนั้น ทางวงต้องการจะสื่อถึงใคร (หลังจากนั้นไม่นาน เพลงนี้ถูกนำไปร้องในม็อบที่ราษฎร์ประสงค์)
.
ด้วยความที่มิวสิกวิดีโอของเพลง ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’ ที่เพิ่งปล่อยออกมานั้น เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงประเด็นสังคมและการเมืองไทย The MATTER เลยอยากชวนทุกคนมากด pause พร้อมกับนั่งแงะแกะหาความหมายที่ซ่อนไว้ในมิวสิกวิดีโอไปพร้อมๆ กัน
.
ดูมิวสิกวิดีโอได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=pJ-wmn9P6SE
.
https://thematter.co/.../getsunova-three-man-down-mv/160502
.
#MV #song #symbolic #TheMATTER


1. ก่อนจะไปถึงตัว MV ขอเริ่มที่อนิเมชั่นจากเพจ Uninspired by current events กันก่อน ในอนิเมชั่นมีความเป็น symbolic หรือมีสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่แทบทุกมุมของภาพ ที่ชัดเจนก็เช่น ก้อนหินทรงคล้ายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หัวเสากินรี หรือซากรถไฟโบราณที่อยู่ไกลออกไปในฉาก นี่ขนาดแค่ visualizer มางวดนี้พอวงปล่อยมิวสิกวิดีโอออกมา มันก็อดไม่ได้ที่จะตามแกะสัญลักษณ์และภาพสะท้อนความไทยๆ ต่างในเนื้องานในทางวงวางเอาไว้
.
ดูอนิเมชั่นได้ที่นี่:
https://www.youtube.com/watch?v=BEEuEa0QQVQ


2. มากันที่ซีนแรกของมิวสิกวิดีโอด้วยภาพเปิดพิธีการแสนคุ้นตา ที่ต้องรอฤกษ์รอยาม อย่างในเนื้อเรื่องของมิวสิกวิดีโอ การต้องรอ 9 โมง 9 นาที 9 วินาที คงเพราะนี่เป็นเลขมงคลและศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเรา


3. โครงงานของกลุ่มนักเรียนตัวเอกคือโครงงานเมืองไทยในฝัน ซึ่งถ้าดูผ่านๆ ก็น่ารักสดใสดี ไม่มีอะไร แต่ถ้าเพ่งมองโดยละเอียดจะพบแผนภูมิข้างหลังน้องซึ่งเป็นแผนภูมิเดียวกับแผนภูมิงบสถาบันพระมหากษัตริย์ปี พ.ศ.2564 ที่ปรากฏตามสื่ออย่างชัดเจน และในเฟรมเดียวกับจะเห็นที่เสื้อนักเรียนปักว่า ป.ช.ต. หรือ ประชาธิปไตย


4. ฐานที่สอง อิสระในการแต่งกาย มาแนวนี้น่าสงสัยว่า หรือทางวงจะสื่อกลายๆ ถึงการเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกชุดนักเรียนของกลุ่มนักเรียนเลว ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 เหตุการณ์ที่ผู้มีอำนาจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เหมือนกับอารมณ์ตงิดๆ ตะขิดตะขวงใจเมื่อกล้องไปจับสีหน้าอาจารย์ผู้หญิงในมิวสิกวิดีโอ


5. ในซีนต่อมาเราจะเห็น ลูกโป่ง free speech ที่อยู่ในกรงขัง ชัดเจนว่าสื่อถึงเสรีภาพในการพูด และคงต้องกลับไปถามว่า ในบ้านเมืองนี้เราพูดถึงเรื่องอะไรได้บ้างโดยไม่โดยจับเข้าคุก ยิ่งเห็นข่าวการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ที่ผ่านมาก็ยิ่งเห็นความเชื่อมโยง (ขำขื่นเล็กน้อยเมื่อตอนเด็กปล่อยลูกโป่ง แล้วครูพละเป่านกหวีดใส่)


6. การเปิดไฟกับฐานของการจัดระเบียบ sex worker เหมือนจะบอกเป็นนัยๆ ว่า เรื่องนี้ควรจะถูกนำขึ้นสู่แสงสว่างและจัดระเบียบกันให้ชัดเจนได้แล้ว ไม่ใช่ซุกอยู่ในเงามืด ซึ่งทำให้เกิดหลายปัญหาตามมา เช่น การควบคุมสุขอนามัย หรือความปลอดภัยของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบริการ


7. ฐานสุดท้ายคือเรื่องการจัดการงบประมาณ ที่ทางตัวโครงงานของเด็กๆ ในมิวสิกวิดีโอแสดงให้เห็นง่ายๆ ว่า ถ้าลดอัตราส่วนการซื้อยุทโธปกรณ์แล้ว เราจะเอางบประมาณไปพัฒนาสาธาณูปโภคได้แค่ไหน


8. ตรงนี้เป็นกิมมิกเล็กๆ คือ การให้คะแนนเลข 10 ของคณะครูที่ให้คะแนนโครงงาน ที่พออ่านอีกทีก็เหมือนตัวย่อ IO (information operation) เหมือนกัน


9. ช่วงท้ายของเพลงเป็นการยำฟุตเตจจากหลายเหตุการณ์ เป็นเหมือนเมดเลย์ประเด็นสังคมตั้งแต่ปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างรถเมล์ ฟุตปาธ สายไฟ น้ำท่วม ไปจนถึงเหตุบ้านการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างเรื่องเสากินรี การจัดการวัคซีน การผูกโบว์ขาวต้านเผด็จการ หรือภาพการเผชิญหน้าของม็อบและเจ้าหน้าที่ คฝ. เช่นเดียวกับภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ปรากฏอยู่หลายครั้งในมิวสิกวิดีโอตัวนี้


10. สุดท้าย ในใบประเมินคะแนนจะแอบมองเห็นชื่อของเด็กสามคนไวๆ แม้จะเห็นไม่หมด แต่ใช้เวลาเดาไม่นานก็รู้ว่าน่าจะเป็นชื่อของแกนนำกลุ่มราษฎรก็คือ ‘เพนกวิน—พริษฐ์’, ‘รุ้ง—ปนัสยา’, และ ‘ไผ่—จตุภัทร์’ นั่นเอง
.
โดยรวมแล้วน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นวงระดับแมสและค่ายเพลงระดับประเทศ กล้าใช้การเมืองมาผสมผสานในเนื้องาน นับเป็นการเคลื่อนไหวในกระแสวัฒนธรรมป๊อปที่เราต้องติดตามกันต่อไป