วันศุกร์, กันยายน 13, 2567

พ่อส่งลูกแค่นี้นะ บริหารประเทศให้สนุกนะ

.....



 







กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang
@nolkannavee

"หากผมไปอยู่บนบัลลังก์นั่งที่นายกรัฐมนตรี นโยบายความท้าทายและนโยบายความเร่งด่วนจะไม่ใช่อย่างนี้ จะเปลี่ยนแปลงไป จะมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำรัฐธรรมนูญใหม่ นโยบายที่เปลี่ยนแปลงกลไกอุบาทว์จะต้องหมดไป”

จะหาว่าผมทะเยอทะยานก็ได้ครับ แต่จำเป็นต้องพูดแบบนี้ เพราะผิดหวังกับนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมจะทำให้ดูครับ ซึ่งไม่ใช่เป็นการตำหนิ แต่เป็นการ “ติเพื่อก่อ

ส่วนหนึ่งของการอภิปรายนโยบายรัฐบาล ผมเห็นความท้าทายทั้ง 9 ประการ รัฐบาลสามารถประเมินสถานการณ์ได้ดี แต่เมื่อไปดูนโยบายเร่งด่วน 10 ประการของรัฐบาลแล้วรู้สึกตกใจ เพราะความท้าทายเรื่องสภาวะการไร้เสถียรภาพทางการเมือง ไม่ได้บรรจุในนโยบายเร่งด่วน ทั้งที่ผลการเลือกตั้งปี 2566 ชัดเจนแล้วว่าประชาชนต้องการการเมืองใหม่ ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการแก้ไขรายมาตรา

เมื่อดูนโยบายทางด้านการเมือง และการพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกประเทศก็ยังรู้สึกตกใจ นโยบายที่รัฐบาลมีการชี้แจงว่าจะเร่งเรื่องความโปร่งใส ใช้งบประมาณน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่โครงการดิจิทัลวอลเล็ตใช้งบประมาณน้อยหรือไม่

สำคัญคือการไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง ความเชื่อมั่นเป็นหัวใจหลักในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งไม่อยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

"เราเผชิญความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอีกยาวนาน การปฏิวัติรัฐประหารที่ซ้ำซ้อน ความขัดแย้งรุนแรง การแบ่งขั้ว การถอดถอนรัฐบาล การถอดถอนนายกรัฐมนตรี การยุบพรรคการเมือง ความเชื่อมั่นจึงหายไป รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยน่าจะรู้สึกถึงรสชาตินี้ดีที่สุด โดยเฉพาะนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี น่าจะเข้าใจความรู้สึกนี้มากกว่าทุกคน"

ผมเชื่อว่าการที่ประชาชนถูกยึดอำนาจจะส่งผลเลวร้าย และสร้างปีศาจทางการเมืองที่น่าขยะแขยง เชื่อมั่นว่ารัฐบาลที่มีนางสาวแพทองธาร เป็นนายกฯ จะไม่เดินซ้ำรอยบาดแผลเดิม และหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด ขณะที่นโยบายการต่างประเทศของไทย หากเปรียบเทียบกับนโยบายรัฐบาลชุดที่ผ่านมาถือว่าดีขึ้น นโยบายการต่างประเทศ รัฐบาลทั่วโลกมักจัดนโยบายนี้ไว้ในนโยบายหลัก จึงเป็นข้อเสียใจ เพราะเมื่อดูตัวนโยบายการต่างประเทศไทย ตอนหนึ่งมีการระบุว่า จะไม่เป็นส่วนหนึ่งในความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสัจจนิยมวิทยาและเสรีนิยมวิทยา ส่วนตัวไม่มั่นใจว่ากรณีจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ยกตัวอย่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ หากเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ ไทยจะตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องแรงงานไทยอย่างไร รวมถึงปัญหาผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ด้วย

ทั้งนี้กรณีที่อาเซียนได้เซ็นสัญญากับจีนในการทำ FTA โดยตั้งคำถามถึงปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้าไทย ซึ่งปัจจุบัน SMEs ไม่สามารถต่อสู้ได้ พ่อค้าตายประชาชนแย่ รัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไป ดังนั้นการสร้างนโยบายต่างประเทศ รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการ ดังนี้

1.ประเมินศักยภาพประเทศตนเองถึงข้อดี-ข้อด้อย
2.ประเมินสถานการณ์อนุภูมิภาค ภูมิภาค และเวทีระหว่างประเทศ
3.ประเมินความคาดหวังของเวทีระหว่างประเทศว่า เขาต้องการอะไรจากเรา

ผมได้ยกสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา การจุดคลองฟูนันเตโช จากเมืองพนมเปญมาสู่จังหวัดกอบ ซึ่งจะทะลุออกอ่าวไทย ระยะทาง 180 กิโลเมตร เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลจีน หากสร้างเสร็จจะมีแหดักเรือจากฝั่งแปซิฟิกสู่ EEC ของไทย เรามีนโยบายเสริมการสูญเสียเม็ดเงินของ EEC หรือไม่

นอกจากนี้หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ยังไปเยือนเมียนมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้มีการหารือว่ารัฐบาลจีนต้องการเข้ามามีอิทธิพลในการสร้างสันติภาพในประเทศเมียนมา ทั้งที่ไทยจำเป็นต้องแสดงความเป็นผู้นำทางสันติภาพ แต่จีน กลับมีอำนาจรอบประเทศ ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องแสดงออกผ่านนโยบายการต่างประเทศของไทย

ส่วนนโยบายที่นายกฯ ได้ชี้แจงความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เวทีระหว่างประเทศคาดหวังกับกับไทย โดยจะปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ เพื่อให้ผู้หญิงไทยไม่ต้องเผชิญกับการเลือกปฎิบัติ ตอนนี้มีเพศสภาพมากกว่าชายและหญิง หากเราจำเป็นต้องยอมรับว่าความคาดหวังของเวทีโลกเป็นอย่างไร เราจะต้องตามให้ทัน จึงขอให้นายกฯ ลงนาม พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ.ด้วยครับ

จัดครับ !!