วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2567
หลักสูตรเพื่อ สร้างนิติธรรม หรือ สร้างเครือข่าย Thai elite connection ? - ส่อง 52 ผู้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาอมรมหลักสูตร 'หลักนิธิธรรมเพื่อประชาธิปไตย' (นธป.) รุ่นที่ 12 ของศาลรัฐธรรมนูญ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย - Bus Tewarit Maneechai
16 hours ago
·
[ ส่อง 52 ผู้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาอมรมหลักสูตร 'หลักนิธิธรรมเพื่อประชาธิปไตย' (นธป.) รุ่นที่ 12 ของศาลรัฐธรรมนูญ ]
.
ในประเทศไทย มีหลักสูตรการอบรมสำหรับ "ผู้บริหาร" หลากหลายหลักสูตรที่จัดขึ้นโดยหลายหน่วยงานภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร แตกต่างกันออกไปในแต่ละหน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือหลักสูตร "หลักนิธิธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (นธป.) ของศาลรัฐธรรนูญ ที่ในปี 66 ดำเนินมาถึงรุ่นที่ 12 แล้ว
.
หลักสูตรดังกล่าวระบุเป้าหมายสำคัญ "เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง และสนับสนุนความความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคประชาชน" แต่ดูเหมือนว่าใน 52 รายชื่อของผู้ที่เข้ารับการอบรมรุ่นที่ 12 จะไม่มีภาคประชาสังคมและภาคประชาชนรวมอยู่ด้วยเลย จึงขอถือโอกาสชวน "ส่อง" รายชื่อของผู้เข้ารับการอบรม 'หลักนิธิธรรมเพื่อประชาธิปไตย' (นธป.) รุ่นที่ 12 ของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
.
ข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหารระดับสูง 13 คน
1. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2. อธิบดีกรมสรรพากร
3. รองปลัด ก.ทรัพย์ฯ
4. ตุลาการพระธรรมนูญ
5. รอง ผบ.สส.
6. ผบ.ทอ.
7. ผู้ทรงคุณวุฒิ สนง.ปลัดกระทรวงกลาโหม
8. รอง ผอ.สำนักงบฯ
9. ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทบ.
10. อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ
11. อธิบดีกรมการปกครอง
12. ผบ.ทร.
13. ผบ.ประจำสำนักงาน ผบ.ตร.
.
ผู้บริหารองค์กรอิสระและบอร์ดสำคัญ ๆ 6 คน
1. ที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. รองผู้ว่าฯ ตรวจเงิน
3. เลขาฯ กก.กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
4. กก.กสทช.
5. เลขา กก.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
6. เลขา กกต.
.
ฝ่ายตุลาการ-กระบวนการยุติธรรมและเกี่ยวข้อง 12 คน
1. อธิบดีอัยการ สำนักคุ้มครองสิทธิฯ
2. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
3. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา
4. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนฯ
5. กก.ตุลาการ ศาลปกครอง
6. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนฯ
7. ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
8. ผู้พิพากษาหัวหน้าในศาลฎีกา
9. ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
10. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนฯ
11. ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
12. รองอัยการสูงสุด
.
กลุ่มทุน บริษัทเอกชน 11 คน (ในจำนวนนี้ 7 คนมาจากทุนพลังงาน)
1. ปธ.จนท.บริหาร บริษัทพลังงาน
2. ปธ.จนท.บริหาร บริษัทพลังงาน
3. ปธ.จนท.บริหาร บริษัทพลังงาน
4. กก.บริหาร บริษัทพัฒนาระบบทางด้านไอทีและการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม
5. ผช.กก.ผู้จัดการใหญ่ บริษัทพลังงาน
6. ปธ.กก.สื่อใหญ่
7. รอง ปธ.จนท.บริหาร บริษัทพลังงาน
8. กก.ผู้จัดการ บริษัทการขายส่งและการขายปลีกการซ่อมยานยนต์และ จักรยานยนต์
9. ปธ.จนท.บริหาร บริษัทนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือและน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
10. ปธ.กก.บริษัทพลังงาน
11. ปธ.จนท.บริหาร บริษัทพลังงาน
.
ผู้บริหารโรงพยาบาล-สถาบันการศึกษา 8 คน
1. รองคณะบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามา
2. กก.สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ม.ราชภัฏรำไพพรรณี
3. ผอ.ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
4. รองอธิการบดี ม.ราม
5. คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์
6. อาจารย์ ม.มหิดล
7. ผอ. รพ.ศิริราช
8. กก.ประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า
.
อื่น ๆ 1 คน
1. ที่ปรึกษาสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายฯ
.
(ข้อมูลผู้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาอมรมหลักสูตร 'หลักนิธิธรรมเพื่อประชาธิปไตย' นธป. รุ่นที่ 12 ของศาลรัฐธรรมนูญจาก สำนักข่าวอิศรา เผยแพร่เมื่อ 4 มกราคม 2567 https://www.isranews.org/.../125208-isranews-1000-742.html )
หลักสูตรเหล่านี้มาพร้อมโจทย์ที่ถูกตั้งคำถามจากสาธารณะว่าเป็นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ความเข้าใจจริงหรือ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึงอย่างไร ในเมื่อสัดส่วนไม่สมดุล ตลอดจนถูกมองว่าเป็นการสร้างคอนเนคชั่นที่เป็นคำถามตัวโตๆ กับองค์กรที่ต้องคงความเป็นอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ
.
ย้อนไปเมื่อปี 2556 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ "สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป" ที่จัดทำโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาตราจารย์ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทหนึ่งของรายงานวิจัยดังกล่าวชื่อ "เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษาพิเศษ" ของนวลน้อย ตรีรัตน์ และ ภาคภูมิ วาณิชกะ ตั้งข้อสรุปไว้ในบทคัดย่ออย่างน่าสนใจว่า มีหลักสูตรทีอบรมผู้บริหารระดับสูง โดยเน้นการผสมผสานผู้เข้าอบรมจากภาคราชการ ทังข้าราชการพลเรือน ทหาร ตํารวจ ผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ภาคการเมือง และภาคธุรกิจ ทําให้เกิดความสัมพันธ์ทังทีเป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างบุคคลในรุ่นการศึกษาเดียวกัน และระหว่างรุ่น
.
คําถามสําคัญคือ หลักสูตรการศึกษาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายขึ้นในลักษณะกลุ่มผู้มีอิทธิพลระดับสูงใช่หรือไม่ และเครือข่ายเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลประการใดในสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย จากการวิเคราะห์ความเป็นมา เนื้อหา กิจกรรมของหลักสูตรที่ได้รับความนิยมมาก เช่นวิทยาลัยตลาดทุน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และอื่นๆ รวมหกหลักสูตร อีกทั้งศึกษาบทบาททางเศรษฐกิจการเมืองของเครือข่ายที่เกิดขึ้นได้ข้อค้นพบสําคัญคือหลายหลักสูตรแม้จะมีเป้าหมายในการให้ความรู้ด้วย แต่ลึกๆ แล้วไม่ต่างอะไรกับการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์หรือการหา "พวก" เพื่อเพิ่มช่องทางและพลังในการผลักดันผลประโยชน์ขององค์กรที่จัดหลักสูตร "การศึกษา" เป็นข้ออ้างในการรวบรวมบุคคลภายนอกองค์กรที่มีหน้าที่กํากับดูแลการทํางานหรือพิจารณาอนุมัติผลประโยชน์ขององค์กรเข้ามาสู่กระบวนการกล่อมเกลาเพื่อให้บุคคลเหล่านั้น "เชื่อ" ในเป้าหมายเดียวกัน การเป็นเพื่อนร่วมรุ่นร่วมหลักสูตรได้รับการตอกยํ้ามาก เกิดเป็นเครือข่ายผู้บริหารระดับสูง มีบทบาทเป็นเงื่อนไขของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจการเมืองทั้งในระดับของการแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะบุคคล และในระดับของโครงสร้างอํานาจโดยตัวของมันเอง