เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่วาระเร่งด่วนใช่หรือไม่ นายกฯ แพทองธาร ตอบว่า ขณะนี้สิ่งที่เร่งด่วนที่สุดคือสถานการณ์น้ำท่วม “ถ้าดูหน้ารัฐมนตรีทุกคนมีความกังวลใจเรื่องนี้ จะแก้ปัญหาให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด”
24 กันยายน 2024
บีบีซีไทย
พรรคเพื่อไทย (พท.) นัดหมายแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลหารือ 1 ต.ค. เพื่อหาฉันทามติร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะทำควบคู่ไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ขณะนี้รอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาและประกาศใช้ เพื่อจัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
อย่างไรก็ตาม การลุกขึ้นมายื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ประเด็นจริยธรรมของนักการเมือง เสนอโดยพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาชน (ปชน.) ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ทั้งในหมู่พรรคร่วมรัฐบาลและคนภายนอกว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่
ล่าสุดนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร “ขอให้นักข่าวไม่ถามอะไรที่เป็นการยุแยง" หลังสื่อตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนมีพรรคร่วมฯ บางพรรคกลับลำ มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ
ในเวลาที่เหลืออยู่ 2 ปี 8 เดือน รัฐบาล “แพทองธาร” จะผลักดันให้มี “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ตามที่ลั่นวาจาเอาไว้ได้จริงหรือไม่? อะไรคือแรงผลัก-แรงดึงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญระลอกใหม่
บีบีซีไทยขอสรุปผ่านคำถามสำคัญที่มีต่อคน 3 กลุ่ม ได้แก่ รัฐบาล “แพทองธาร”, ประธานรัฐสภา, และวุฒิสภา ซึ่งเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในกลไก-กลเกมรื้อรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลจะเริ่มทำประชามติเมื่อไหร่
สถานการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 คล้ายตั้งต้น “นับหนึ่งใหม่” เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำรัฐบาล จาก เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ คนที่ 30 เป็น แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ คนที่ 31 แม้ทั้งคู่มาจากพรรคเดียวกันก็ตาม
จากเคยบรรจุเป็น “นโยบายเร่งด่วน” ของรัฐบาล “เศรษฐา” ทว่า 1 ปีผ่านไป การลงมือแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เกิดขึ้นจริง รัฐบาล “แพทองธาร” ที่เข้ามารับไม้ต่อ ก็บรรจุวาระนี้เป็นนโยบายระยะกลางและยาว
จากเคยมีข้อสรุปของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ที่มี ภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน ซึ่งมีการเปิดโรดแมปการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้แล้ว ครม. “แพทองธาร” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีหน้าเดิมต้องกลับมาพูดคุย-ทบทวนกันอีกครั้ง
24 กันยายน 2024
บีบีซีไทย
พรรคเพื่อไทย (พท.) นัดหมายแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลหารือ 1 ต.ค. เพื่อหาฉันทามติร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะทำควบคู่ไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ขณะนี้รอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาและประกาศใช้ เพื่อจัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
อย่างไรก็ตาม การลุกขึ้นมายื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ประเด็นจริยธรรมของนักการเมือง เสนอโดยพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาชน (ปชน.) ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ทั้งในหมู่พรรคร่วมรัฐบาลและคนภายนอกว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่
ล่าสุดนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร “ขอให้นักข่าวไม่ถามอะไรที่เป็นการยุแยง" หลังสื่อตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนมีพรรคร่วมฯ บางพรรคกลับลำ มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ
ในเวลาที่เหลืออยู่ 2 ปี 8 เดือน รัฐบาล “แพทองธาร” จะผลักดันให้มี “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ตามที่ลั่นวาจาเอาไว้ได้จริงหรือไม่? อะไรคือแรงผลัก-แรงดึงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญระลอกใหม่
บีบีซีไทยขอสรุปผ่านคำถามสำคัญที่มีต่อคน 3 กลุ่ม ได้แก่ รัฐบาล “แพทองธาร”, ประธานรัฐสภา, และวุฒิสภา ซึ่งเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในกลไก-กลเกมรื้อรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลจะเริ่มทำประชามติเมื่อไหร่
สถานการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 คล้ายตั้งต้น “นับหนึ่งใหม่” เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำรัฐบาล จาก เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ คนที่ 30 เป็น แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ คนที่ 31 แม้ทั้งคู่มาจากพรรคเดียวกันก็ตาม
จากเคยบรรจุเป็น “นโยบายเร่งด่วน” ของรัฐบาล “เศรษฐา” ทว่า 1 ปีผ่านไป การลงมือแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เกิดขึ้นจริง รัฐบาล “แพทองธาร” ที่เข้ามารับไม้ต่อ ก็บรรจุวาระนี้เป็นนโยบายระยะกลางและยาว
จากเคยมีข้อสรุปของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ที่มี ภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน ซึ่งมีการเปิดโรดแมปการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้แล้ว ครม. “แพทองธาร” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีหน้าเดิมต้องกลับมาพูดคุย-ทบทวนกันอีกครั้ง
ข้อถกเถียงว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง เป็นผลจากการตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ไม่ตรงกัน
สำหรับข้อสรุปตามมติ ครม. เศรษฐา เมื่อ 23 เม.ย. มีสาระสำคัญ 3 ส่วน
ชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ว่า วงที่ ภูมิธรรม นัดพรรคร่วมรัฐบาลหารือในวันที่ 1 ต.ค. “คงจะได้ข้อยุติ” โดยวันดังกล่าว จะมีการหารือใน 2 ประเด็น ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง เช่น มีการทำเรื่องประชามติไปถึงไหนแล้ว จะเริ่มทำได้เมื่อไหร่ และจะแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ได้เมื่อไหร่
เครือข่ายภาคประชาชนในนามกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All) ออกแถลงการณ์เมื่อ 19 ก.ย. เรียกร้องรัฐบาลให้เดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็วที่สุด ด้วยการเดินหน้าจัดออกเสียงประชามติเพียง 2 ครั้ง เพื่อจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จทันก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า
จีรนุช เปรมชัยพร เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL) กล่าวว่า หากรัฐบาลยังยืนยันให้ทำ “ประชามติครั้งที่ศูนย์” หรือการทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดการ “สูญเปล่า” และ “สิ้นเปลือง” เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำ อีกทั้งในคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 จาก 9 คน ก็บอกให้ทำประชามติเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
สำหรับข้อสรุปตามมติ ครม. เศรษฐา เมื่อ 23 เม.ย. มีสาระสำคัญ 3 ส่วน
- หนึ่ง ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ทำประชามติก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 ทำประชามติหลังร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาวาระ 3 และครั้งที่ 3 ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ภายหลัง สสร. ยกร่างเสร็จ
- สอง คำถามประชามติครั้งแรกคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”
- สาม คาดการณ์ว่าประชาชนจะได้เข้าคูหาประชามติครั้งแรกในเดือน ก.พ. 2568 พร้อมกับการเลือกตั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ว่า วงที่ ภูมิธรรม นัดพรรคร่วมรัฐบาลหารือในวันที่ 1 ต.ค. “คงจะได้ข้อยุติ” โดยวันดังกล่าว จะมีการหารือใน 2 ประเด็น ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง เช่น มีการทำเรื่องประชามติไปถึงไหนแล้ว จะเริ่มทำได้เมื่อไหร่ และจะแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ได้เมื่อไหร่
เครือข่ายภาคประชาชนในนามกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All) ออกแถลงการณ์เมื่อ 19 ก.ย. เรียกร้องรัฐบาลให้เดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็วที่สุด ด้วยการเดินหน้าจัดออกเสียงประชามติเพียง 2 ครั้ง เพื่อจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จทันก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า
จีรนุช เปรมชัยพร เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL) กล่าวว่า หากรัฐบาลยังยืนยันให้ทำ “ประชามติครั้งที่ศูนย์” หรือการทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดการ “สูญเปล่า” และ “สิ้นเปลือง” เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำ อีกทั้งในคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 จาก 9 คน ก็บอกให้ทำประชามติเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
กลุ่ม Con for All เรียกร้องให้รัฐบาลเริ่มกระบวนการเปิดสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีการจัดตั้ง สสร. โดยทันที
ประธานสภาจะบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 256 เมื่อไหร่
ส่วนคำถามที่นักการเมืองและภาคประชาชนมีต่อ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา มีเพียงข้อเดียวคือ เมื่อไหร่จะบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
ขณะนี้มีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 2 พรรค – ฉบับพรรค พท. และฉบับพรรคก้าวไกล (ก.ก. - ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชน) ยื่นต่อประธานรัฐสภาเมื่อหลายเดือนก่อน แต่ วันมูหะมัดนอร์ ยังไม่ยอมบรรจุระเบียบวาระ โดยอ้างว่าทำตามคำแนะนำของฝ่ายกฎหมายของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมากแนะนำให้ไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 2 พรรคการเมือง เพราะเห็นว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว “เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 จึงมิใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้” เมื่อ 11 มี.ค. 2564
คำวินิจฉัยที่ 4/2564 ระบุตอนหนึ่งว่า “หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง”
ต่อมารัฐสภามีมติเมื่อ 29 มี.ค. 2567 ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าต้องทำประชามติกี่ครั้งกันแน่ เพราะ สส. และ สว. เห็นไม่ตรงกัน บ้างก็ตีความว่า 2 ครั้ง บ้างก็ตีความว่า 3 ครั้ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของ 2 พรรคใหญ่จึงยังคาราคาซังอยู่
2 ประธาน - วันนอร์ ประธานสภา (ขวา) กับ มงคล ประธานวุฒิสภา
จาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. ชี้ว่า นี่คือภาวะ “ย้อนแย้ง” เหตุที่ต้องทำประชามติครั้งที่ศูนย์ เป็นเพราะ สว. ชุดเดิม 250 คนอ้างว่าต้องทำประชามติก่อนเสนอร่างแก้ไขมาตรา 256 และจะไม่โหวต แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกชัดเจนว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง
หากทำประชามติครั้งที่ศูนย์โดยไม่มีอำนาจ-ไม่มีฐานกฎหมายรองรับ จาตุรนต์ เกรงว่า อาจมีคนไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
ในทำนองกลับกัน หากเดินหน้าทำประชามติแล้วประชาชนโหวตเห็นชอบให้จัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ ก็ไม่มีใครรู้ว่า สว. ชุดใหม่จะโหวตผ่านร่างแก้ไขมาตรา 256 หรือไม่
“แม้ประชาชนโหวตประชามติรอบแรกผ่าน แต่ถ้า สว. ไม่ผ่าน มันก็ไม่มีร่างแก้ไขเพื่อเปิดทางให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่ดี... ตอนนี้จึงต้องเรียกร้องประธานสภาให้บรรจุวาระร่างแก้ไขมาตรา 256 เพราะรัฐสภายังไม่ได้แสดงความจำนงว่าต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เลย” จาตุรนต์ กล่าว และว่า หากประธานไม่ยอมบรรจุ คงต้องทำประชามติ 3 ครั้งเพื่อให้ประธานยอมบรรจุวาระและเริ่มแก้ไขมาตรา 256 ได้
ณัฐพงษ์ เรื่องปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน บอกว่า ต้นเหตุของเรื่องนี้มาจากฝ่ายกฎหมายของสภาคอยให้คำปรึกษาประธานรัฐสภาตั้งแต่ชุดที่แล้ว สมัยประธาน ชวน หลีกภัย มาถึงประธานคนปัจจุบันก็ยังไม่บรรจุระเบียบวาระ
ถ้าดูตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ก็ไม่ได้เขียนชัดขนาดนั้นว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง มิหนำซ้ำถ้าไปดูในคำวินิจฉัยรายบุคคล เสียงข้างมากในตุลาการที่ลงความเห็นตรงนั้นบอกไว้ค่อนข้างชัดด้วยซ้ำว่าทำ 2 ครั้งก็ได้
“เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุและผลและความจำเป็นทางกฎหมายคิดว่าไม่มีความจำเป็น” ณัฐพงษ์ กล่าว
วุฒิสภาจะผ่านกฎหมายประชามติฉบับใหม่หรือไม่
แม้ สว. “ชุดเฉพาะกาล” 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งฝาก “ผลงานชิ้นโบว์ดำ” โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 25 ฉบับ จากทั้งหมด 26 ฉบับ จะหมดวาระไปแล้ว แต่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังต้องอาศัยเสียงของ สว. เกิน 1 ใน 3 ตามเงื่อนไขบังคับในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
บทหนักจึงตกอยู่กับ สว. 200 คน ที่มาจากกระบวนการเลือกกันเอง-เลือกไขว้กลุ่ม ภายใต้ “กติกาซับซ้อนที่สุดในโลก”
คำถามถึงสมาชิกสภาสูงชุดใหม่ ซึ่งถูกตั้งฉายาว่า “สภาสีน้ำเงิน” คือ จะมีท่าทีอย่างไรต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256
ทว่ากว่าจะไปถึงตรงนั้น บทบาทแรกของ 200 สว. ที่มี มงคล สุระสัจจะ เป็นประธานคือ พวกเขาจะตัดสินใจอย่างไรต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในวาระ 2-3 วันที่ 1 ต.ค. นี้ หากสภาสูงเห็นต่างจากสภาล่าง การเข้าคูหาประชามติครั้งแรกในเดือน ก.พ. 2568 อาจไม่เกิดขึ้น
อังคณา นีละไพจิตร สว. กลุ่มประชาสังคม ระบุว่า มี สว. บางคนในกลุ่มใหญ่อ้างเรื่อง “เสียงข้างมาก” ในร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งเธอมองว่า อาจเป็น “ดีเลย์แทคติก” หรือการใช้เทคนิคถ่วงเวลา
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับนี้เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติปี 2564 สาระสำคัญคือ ให้ยกเลิก “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” (การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง “เกินกึ่งหนึ่ง” ของผู้มีสิทธิออกเสียง และต้องได้คะแนนเห็นชอบ “เกินกึ่งหนึ่ง” ของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง) แล้วเปลี่ยนไปใช้ “เสียงข้างมาก” ของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง และต้องมีคะแนนมากกว่าคะแนนไม่แสดงความเห็น อีกทั้งยังเปิดทางให้ทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง สส. และเลือกตั้งท้องถิ่นหได้
ที่ผ่านมา สส. พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เสนอร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ประกบด้วย โดยกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคสีน้ำเงินเสนอให้คงหลักเกณฑ์ชั้นบนคือ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง “เกินกึ่งหนึ่ง” ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ปลดล็อกเกณฑ์ชั้นล่างคือ ไม่จำเป็นต้องมีเสียง “เกินกึ่งหนึ่ง” ของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง แต่ร่างที่ผ่านความเห็นชอบของสภาล่างไม่ได้ใส่รายละเอียดนี้เอาไว้
ในระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ วาระ 2 มี สว. “สายสีน้ำเงิน” เสนอให้ฟื้นข้อเสนอของ สส. พรรค ภท. และขอสงวนคำแปรญัตติไปอภิปรายในวุฒิสภา หาก สว. มีมติไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว จะนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันระหว่าง สส. และ สว. ใช้เวลาอีก 60 วัน นั่นทำให้การทำประชามติครั้งแรกไม่ทันเดือน ก.พ. 2568 และทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จไม่ทันอายุของรัฐบาลชุดนี้
ส่วนขั้นตอนหากกฎหมายประชามติฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ครม. ต้องมีมติให้ดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยให้นายกฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียง และกำหนดวัน-เวลาร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งต้องไม่เร็วกว่า 90 วัน และไม่ช้ากว่า 120 วันนับตั้งแต่ ครม. มีมติ
ในฐานะ สว. เสียงข้างน้อย อังคณา ยอมรับว่า “ประเมินได้ยาก” ว่า “สว. สีน้ำเงิน” จะมีท่าทีอย่างไรต่อการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะมีการแพ็กกันมาอย่างดี จะเห็นว่าการแตกแถวหรือเปลี่ยนแปลงยากมาก ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะคาดเดาได้ยาก
นายกฯ “ขอให้นักข่าวไม่ถามอะไรที่เป็นการยุแยง"
นอกจากไทม์ไลน์การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่ยังขาดความชัดเจน การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ประเด็นจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ได้ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
นักการเมืองร่วมรัฐบาลได้ชักแถวออกมาแสดงความเห็นในเชิงคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็น พรรคภูมิใจไทย (ภท.), พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.), พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชน. ที่ให้ความเห็นว่า ปัญหาจริยธรรมถูกตีความขยายไปเกินกว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังอยากให้เป็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อการพัฒนาสถาบันการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้การแก้ไขในหมวดจริยธรรมไม่ได้เพื่อประโยชน์ของใคร แต่เพื่อประโยชน์ความมั่นคงทางสถาบันการเมือง เพราะระบบการตรวจสอบที่สำคัญที่สุดคือการตรวจสอบจากประชาชนที่เป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง
สส. ฝ่ายค้าน บอกด้วยว่า 44 สส. อดีตพรรคก้าวไกล ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และได้รับผลกระทบเกี่ยวกับคดีจริยธรรม ไม่ได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในประเด็นจริยธรรมแต่อย่างใด
ด้านนายชูศักดิ์ มือกฎหมายของรัฐบาล-เพื่อไทย ยืนยันว่า เรื่องที่เสนอแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรม ชัดเจน มีระเบียบปฏิบัติ โดยย้ำว่าไม่ได้ยกเลิกเรื่องที่เขียนไว้ใน “รัฐธรรมนูญปราบโกง” เพียงแต่ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องนับพฤติกรรมตั้งแต่เมื่อไหร่ จะได้ไม่มีปัญหาในแง่การทำหน้าที่และการบริหารราชการแผ่นดิน
ชูศักดิ์ ศิรินิล หารือกับ แพทองธาร ชินวัตร ระหว่างแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อ 12 ก.ย.
ภายหลังการประชุม ครม. วันนี้ (24 ก.ย.) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค พท. หลีกเลี่ยงจะตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามถึงจุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยบอกเพียงว่า เรื่องนี้ต้องพูดคุยกัน แต่ตอนนี้ “รัฐบาลขอโฟกัสเรื่องแก้ปัญหาน้ำท่วม” และ “รัฐบาลต้องทำงานให้ประชาชนก่อน”
นายกรัฐมนตรียัง “ขอให้นักข่าวไม่ถามอะไรที่เป็นการยุแยง" หลังผู้สื่อข่าวถามยิงคำถามว่า ดูเหมือนมีพรรคร่วมฯ บางพรรค เช่น พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กลับลำ มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ? รัฐบาลยังจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ใช่หรือไม่? มีความกังวลว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำกันสุดซอย?
นายกฯ อุ๊งอิ๊ง ย้ำว่า ต้องพูดคุยกัน จริง ๆ แล้วก็ไม่อยากให้นักข่าวถามแบบนี้ในเรื่องว่ากลับลำ พร้อมบอกด้วยว่าก่อนประชุม ครม. มีการคุยกันและถามความคิดเห็นกันว่าเป็นอย่างไร เราคุยกันหลังไมค์ เราเข้าใจอยู่แล้ว เรามีความคิดเห็นกันว่าตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลควรเน้นย้ำคือเรื่องของพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือกระตุ้นเศรษฐกิจ
“ก็อยากจะบอกว่าถ้ารัฐบาลมั่นคง เสถียรภาพการเมืองมั่นคง ประเทศชาติก็มั่นคงไปด้วย อันนี้นักข่าวก็ต้องช่วยกันเรื่องนี้”
“รัฐบาลเข้มแข็ง นั่นคือสิ่งที่ดีของประชาชน เพราะฉะนั้นจำไว้ว่าเราก็อยากให้รัฐบาลเข้มแข็งต่อไป ขอให้นักข่าวไม่ถามอะไรที่เป็นการยุแยง" นายกฯ กล่าว
เส้นทางจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของรัฐบาลเพื่อไทย
ก่อนเพื่อไทยและพรรคร่วมฯ ตั้งวงถกวาระรัฐธรรมนูญ บีบีซีไทยสรุปเส้นทางที่ผ่านมา
- 11 ก.ย. 2566 นายกฯ เศรษฐา แถลงนโยบายของ ครม. ต่อรัฐสภา โดยบรรจุเป็นนโยบายเร่งด่วน “เพื่อให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์”
- 3 ต.ค. 2566 ที่ประชุม ครม. “เศรษฐา” นัดแรก มีมติให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ 34 คน มี ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน
- 25 ธ.ค. 2566 คณะกรรมการชุด ภูมิธรรม ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทำประชามติ โดยให้ทำ 3 ครั้ง ใช้งบราว 9,600 ล้านบาท ใช้คำถามประชามติยกแรกว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”
- 1 ก.พ. 2567 สส. พรรค พท. และพรรค ก.ก. ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติ 2 ฉบับต่อประธานสภา เพื่อ “ปลดล็อก” โดยปรับเกณฑ์การใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้นหาข้อยุติเรื่องที่ทำประชามติ
- 29 มี.ค. 2567 ที่ประชุมรัฐสภามีมติ 233:103 เสียง ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ว่าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ต้องทำประชามติกี่ครั้ง หลัง สส. และ สว. ตีความแตกต่างกัน
- 17 เม.ย. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 7:0 ไม่รับคำร้องไว้พิจารณา เนื่องจาก “ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา และคำร้องมีสาระสำคัญเป็นเพียงข้อสงสัยและขอให้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายเนื้อหาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยโดยละเอียดและชัดเจนแล้ว”
- 23 เม.ย. 2567 ครม. “เศรษฐา” มีมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการชุด “ภูมิธรรม” ให้เดินหน้าทำประชามติ 3 ครั้ง ซึ่ง ภูมิธรรม ชี้ว่า “เลือกทางที่ปลอดภัยที่สุด”
- 28 พ.ค. 2567 ครม. “เศรษฐา” อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับรัฐบาล เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป โดยสรุปแล้วจึงมีร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ เข้าสู่การพิจารณาของสภา 4 ร่าง ได้แก่ ฉบับรัฐบาล, เพื่อไทย, ก้าวไกล, ภูมิใจไทย
- 14 ส.ค. 2567 นายกฯ เศรษฐา พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็น รมต. โดยศาลชี้ว่า “ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์”
- 16 ส.ค. 2567 ที่ประชุมสภามีมติ 319:145 เสียง เห็นชอบให้ แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกฯ คนใหม่
- 21 ส.ค 2567 ที่ประชุมสภามีมติเป็นเอกฉันท์ 409:0 เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประชามติ โดยให้ยกเลิก “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” และใช้ “เสียงข้างมาก” ของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง หาข้อยุติเรื่องที่ทำประชามติ
- 12 ก.ย. 2567 นายกฯ แพทองธาร แถลงนโยบายของ ครม. ต่อรัฐสภาว่า “รัฐบาลจะเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยยึดโยงกับประชาชนและหลักการของประชาธิปไตย สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เคารพหุวัฒนธรรม เพื่อเป็นบันไดสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้ความมีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญ”
- 17 ก.ย. พรรค ปชน. ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตรา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ ต่อประธานสภา
- 19 ก.ย. พรรค พท. ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตรา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ ต่อประธานสภา
- 1 ต.ค. 2567 พรรค พท. นัดหารือแกนนำพรรคร่วมฯ หาฉันทามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและแก้รายมาตรา
หมายเหตุ: ข้อมูลบางส่วน บีบีซีไทยสรุปจากเวทีเสวนาในกิจกรรม “รัฐธรรมนูญใหม่ไปกันต่อ สสร. เลือกตั้ง” เมื่อ 19 ก.ย. จัดโดยเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All)