โมกหลวงริมน้ำ
16 hours ago
·
“ร่วมกันส่งสารถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรม!”
ส่งเสียงเล็กๆ ของเราถึงผู้มีอำนาจว่า “สิทธิในการประกันตัว” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน ไม่ควรมีใครต้องถูกคุมขังเพียงเพราะเห็นต่างทางการเมือง และได้รับบทลงโทษอันรุนแรง
แล้วทำไมการเรียกร้องนี้ถึงเป็นเรื่องสำคัญ?
หากท่านเชื่อว่า ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อคนจำนวนหนึ่งไม่สามารถเพิกเฉยได้ เช่นเดียวกับ คดีตากใบ การถูกอุ้มหาย ก็คงเข้าใจได้ว่าทำไมเยาวชนหรือหลายคนออกมาประท้วง หรือเรียกร้องในประเด็นนี้ไม่จบไม่สิ้น เพราะมีเพื่อนเราส่วนหนึ่งไม่ได้รับความยุติธรรม ต้องทุกข์ทรมานอยู่ในเรือนจำ บางคนอดทนรอความยุติธรรมมาเป็นปีๆ ทำได้เพียงเขียนจดหมายส่งหาถึงคนข้างนอก และเจอหน้าครอบครัวได้เพียงไม่กี่นาที ถูกปฎิบัติราวกับเป็นนักโทษฆ่าคนตาย ถูกพิพากษาจำคุก 30-50 ปี แต่ข้อเท็จจริงคือ พวกเขาเพียงแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่ของตน แชร์ข่าวสาร ตั้งคำถามในประเด็นที่ไม่มีใครกล้าทำในสังคม การกระทำเพียงเท่านั้นต้องจ่ายราคาแพงเช่นนี้เลยหรือ
ดังที่นายกรัฐมนตรีแพทองธารก็เห็นด้วยว่า โทษของมาตรา 112 มีความรุนแรงมาก เธอรู้สึกเสียใจที่เห็นนักโทษทางความคิดได้รับโทษจำคุกอย่างหนัก และควรถกการแก้กฎหมาย 112 ในสภา โดยกล่าวว่า
“กฎหมายต้องแก้ในสภา ถ้าเรามาดูกันว่า 112 ในปัจจุบัน ตั้งแต่ 8 ปีที่ผ่านมา เคส (จำนวนที่ถูกฟ้อง) ของ 112 (เพิ่ม) ขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ (เพิ่ม) ขึ้นหลักร้อย ซึ่งสมัยก่อนมันไม่เป็น มันเพิ่งมาเป็นตอนนี้ และถ้าเราไม่ถกกันในสภา มันก็จะไม่จบ”
“เราควรกำหนดว่าใครควรมีสิทธิที่จะฟ้องได้บ้าง ไม่อย่างนั้น 112 จะกลายเป็นเกมของการเมือง กลายเป็นเกมของคนที่ต้องการสาดสีกัน ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น พูดเลยว่าคนที่จะออกมาฟ้องได้ ต้องเป็นสำนักพระราชวังไหมที่มีสิทธิฟ้อง ถ้าทุกคนฟ้องได้ มันเหมือนกับใช้กฎข้อนี้ที่มันฟ้องง่ายเหลือเกิน เอามาแกล้งกัน ซึ่งมันก็ไม่แฟร์กับคนที่มีความคิดที่อาจจะแตกต่างเล็กน้อย เพราะโทษมันโหดร้าย”
จากบทสัมภาษณ์คุณอุ๊งอิ๊งในรายการ AIM HOUR เมื่อปี 2566 ฟังเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/PuQzw9RHg7c?si=MCcESfKvFK7lN9dZ
ปัจจุบัน มีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองและคดีมาตรา 112 มากกว่า 40 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะคดีต่างๆ เริ่มทำการพิพากษาในระยะหลังนี้ ในจำนวนดังกล่าว กว่าครึ่งถูกคุมขังแม้คดียังไม่สิ้นสุด ไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ทำให้ต้องสู้คดีอยู่ในเรือนจำ สร้างข้อจำกัดและอุปสรรคหลายอย่าง เช่น จำกัดเวลาพบทนาย เผชิญความลำบากจากชีวิตความเป็นอยู่ข้างใน ทำให้ส่งผลต่อจิตใจและเกิดความเครียดมากขึ้น
การเคลื่อนไหวข้างนอกเพื่อในเพื่อนรู้ว่า เขาไม่ได้โดดเดี่ยวและสู้อยู่เพียงคนเดียว จึงมีความจำเป็น การขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อไปในทุกๆ ทางเท่าที่แต่ละคนสามารถทำได้จึงสำคัญมากเช่นเดียวกัน
โดยเพื่อนๆ ที่เห็นด้วยสามารถร่วมกันเขียนข้อเรียกร้องลงในโปสการ์ดที่ทางเราจัดจำหน่ายได้ ณ งาน 48 ปี 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แล้วส่งต่อให้ถึงประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอาญา และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น ทำเนียบรัฐบาล ตามที่อยู่ด้านล่าง
หมายเหตุ การสมทบทุนสั่งซื้อสินค้า อาทิ โปสการ์ด ที่คั่นหนังสือ ถือเป็นการสนับสนุนขบวนการอิสระในการรณรงค์ปล่อยนักโทษทางการเมืองต่อไป (กิจกรรมที่ผ่านมา จัดเสวนาสิทธิประกันตัวสู่ปฎิรูปยุติธรรม เดินขบวนยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกา ร้องเรียนกสมให้ย้ายแดนและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเพื่อนในเรือนจำ ฯลฯ) เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ค่าเดินทางจำนวนหนึ่งในการขับเคลื่อนแต่ล่ะครั้ง
สามารถพรีออเดอร์ โดยเลือกรับที่งาน 48 ปี 6 ตุลา (บูทกลุ่ม 24 มิถุนา) หรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (ส่งให้หลังวันที่ 6 ตุลา)
ได้ที่แบบฟอร์ม: https://forms.gle/MnnZCdjfSnQCqj8P9
ที่อยู่ประธานศาลฎีกา:
นางอโนชา ชีวิตโสภณ
เลขที่ 6/1 ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-2203456
ที่อยู่อธิบดีศาลอาญา:
อธิบดีศาลอาญา
อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0 2541 2284-90
ที่อยู่ทำเนียบ:
นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร
ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2280-3000
·
“ร่วมกันส่งสารถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรม!”
ส่งเสียงเล็กๆ ของเราถึงผู้มีอำนาจว่า “สิทธิในการประกันตัว” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน ไม่ควรมีใครต้องถูกคุมขังเพียงเพราะเห็นต่างทางการเมือง และได้รับบทลงโทษอันรุนแรง
แล้วทำไมการเรียกร้องนี้ถึงเป็นเรื่องสำคัญ?
หากท่านเชื่อว่า ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อคนจำนวนหนึ่งไม่สามารถเพิกเฉยได้ เช่นเดียวกับ คดีตากใบ การถูกอุ้มหาย ก็คงเข้าใจได้ว่าทำไมเยาวชนหรือหลายคนออกมาประท้วง หรือเรียกร้องในประเด็นนี้ไม่จบไม่สิ้น เพราะมีเพื่อนเราส่วนหนึ่งไม่ได้รับความยุติธรรม ต้องทุกข์ทรมานอยู่ในเรือนจำ บางคนอดทนรอความยุติธรรมมาเป็นปีๆ ทำได้เพียงเขียนจดหมายส่งหาถึงคนข้างนอก และเจอหน้าครอบครัวได้เพียงไม่กี่นาที ถูกปฎิบัติราวกับเป็นนักโทษฆ่าคนตาย ถูกพิพากษาจำคุก 30-50 ปี แต่ข้อเท็จจริงคือ พวกเขาเพียงแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่ของตน แชร์ข่าวสาร ตั้งคำถามในประเด็นที่ไม่มีใครกล้าทำในสังคม การกระทำเพียงเท่านั้นต้องจ่ายราคาแพงเช่นนี้เลยหรือ
ดังที่นายกรัฐมนตรีแพทองธารก็เห็นด้วยว่า โทษของมาตรา 112 มีความรุนแรงมาก เธอรู้สึกเสียใจที่เห็นนักโทษทางความคิดได้รับโทษจำคุกอย่างหนัก และควรถกการแก้กฎหมาย 112 ในสภา โดยกล่าวว่า
“กฎหมายต้องแก้ในสภา ถ้าเรามาดูกันว่า 112 ในปัจจุบัน ตั้งแต่ 8 ปีที่ผ่านมา เคส (จำนวนที่ถูกฟ้อง) ของ 112 (เพิ่ม) ขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ (เพิ่ม) ขึ้นหลักร้อย ซึ่งสมัยก่อนมันไม่เป็น มันเพิ่งมาเป็นตอนนี้ และถ้าเราไม่ถกกันในสภา มันก็จะไม่จบ”
“เราควรกำหนดว่าใครควรมีสิทธิที่จะฟ้องได้บ้าง ไม่อย่างนั้น 112 จะกลายเป็นเกมของการเมือง กลายเป็นเกมของคนที่ต้องการสาดสีกัน ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น พูดเลยว่าคนที่จะออกมาฟ้องได้ ต้องเป็นสำนักพระราชวังไหมที่มีสิทธิฟ้อง ถ้าทุกคนฟ้องได้ มันเหมือนกับใช้กฎข้อนี้ที่มันฟ้องง่ายเหลือเกิน เอามาแกล้งกัน ซึ่งมันก็ไม่แฟร์กับคนที่มีความคิดที่อาจจะแตกต่างเล็กน้อย เพราะโทษมันโหดร้าย”
จากบทสัมภาษณ์คุณอุ๊งอิ๊งในรายการ AIM HOUR เมื่อปี 2566 ฟังเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/PuQzw9RHg7c?si=MCcESfKvFK7lN9dZ
ปัจจุบัน มีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองและคดีมาตรา 112 มากกว่า 40 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะคดีต่างๆ เริ่มทำการพิพากษาในระยะหลังนี้ ในจำนวนดังกล่าว กว่าครึ่งถูกคุมขังแม้คดียังไม่สิ้นสุด ไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ทำให้ต้องสู้คดีอยู่ในเรือนจำ สร้างข้อจำกัดและอุปสรรคหลายอย่าง เช่น จำกัดเวลาพบทนาย เผชิญความลำบากจากชีวิตความเป็นอยู่ข้างใน ทำให้ส่งผลต่อจิตใจและเกิดความเครียดมากขึ้น
การเคลื่อนไหวข้างนอกเพื่อในเพื่อนรู้ว่า เขาไม่ได้โดดเดี่ยวและสู้อยู่เพียงคนเดียว จึงมีความจำเป็น การขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อไปในทุกๆ ทางเท่าที่แต่ละคนสามารถทำได้จึงสำคัญมากเช่นเดียวกัน
โดยเพื่อนๆ ที่เห็นด้วยสามารถร่วมกันเขียนข้อเรียกร้องลงในโปสการ์ดที่ทางเราจัดจำหน่ายได้ ณ งาน 48 ปี 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แล้วส่งต่อให้ถึงประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอาญา และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น ทำเนียบรัฐบาล ตามที่อยู่ด้านล่าง
หมายเหตุ การสมทบทุนสั่งซื้อสินค้า อาทิ โปสการ์ด ที่คั่นหนังสือ ถือเป็นการสนับสนุนขบวนการอิสระในการรณรงค์ปล่อยนักโทษทางการเมืองต่อไป (กิจกรรมที่ผ่านมา จัดเสวนาสิทธิประกันตัวสู่ปฎิรูปยุติธรรม เดินขบวนยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกา ร้องเรียนกสมให้ย้ายแดนและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเพื่อนในเรือนจำ ฯลฯ) เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ค่าเดินทางจำนวนหนึ่งในการขับเคลื่อนแต่ล่ะครั้ง
สามารถพรีออเดอร์ โดยเลือกรับที่งาน 48 ปี 6 ตุลา (บูทกลุ่ม 24 มิถุนา) หรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (ส่งให้หลังวันที่ 6 ตุลา)
ได้ที่แบบฟอร์ม: https://forms.gle/MnnZCdjfSnQCqj8P9
ที่อยู่ประธานศาลฎีกา:
นางอโนชา ชีวิตโสภณ
เลขที่ 6/1 ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-2203456
ที่อยู่อธิบดีศาลอาญา:
อธิบดีศาลอาญา
อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0 2541 2284-90
ที่อยู่ทำเนียบ:
นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร
ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2280-3000