เชื่อว่านี่จะเป็นกรรมวิธีตรวจสอบการทำงานและความเที่ยงตรงของ ‘ตุลาการ’ ในศาลต่างๆ ทางเดียวที่จะเป็นไปได้ คือการฝึกฝนคนธรรมดา-ประชาชนทั่วไป เข้าไปสังเกตุการณ์ การพิจารณาคดีการเมือง และเรื่องความมั่นคงของรัฐ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดอบรม #หลักสูตรสังเกตการณ์คดี สำหรับคนทั่วไป โดยเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วม จนถึง ๒๕ กันยานี้เป็นวันสุดท้าย เพื่อการคัดเลือกให้เหลือ ๖๐ คน เข้าร่วมในโครงการ ซึ่งจะประกาศรายชื่อในวันที่ ๒๘ กันยา
“การมีคนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในคดีมันเป็นการถ่วงดุลการทำงานของศาลนะ ให้รู้ว่าฉันดูเธออยู่นะ เธอจะทำอะไรโดยที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไม่ได้นะ” นาตาลี ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ผอ.สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ชี้ให้เห็นความสำคัญกิจกรรมนี้
กิจกรรมที่เรียกว่า #การสังเกตการณ์คดี (Trial Observation) จะเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงต่อการปฏิรูประบบตุลาการของไทยในส่วนของภาคประชาชน หรือประชาสังคม ดังที่ระบุไว้หลายสถาน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความโปร่งใสให้แก่การพิจารณาคดีในชั้นศาล
เมื่อข้อมูลแห่งคดีถูกเปิดเผยต่อสาธารณะมากขึ้น ให้ประชาชนในวงกว้างตรวจสอบการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นำไปสู่การเรียกร้อง การแก้ไข และปฏิรูประบบยุติธรรม ลดโอกาสที่จะเกิดการละเมิดซ้ำซากขึ้นอีกในอนาคต
การอบรมนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๑ ถึง ๓๑ ตุลาคม เป็นหลักสูตรการเรียนออนไลน์ ๙๐% โดยจะมีแบบฝึกหัดให้ทำตลอด ๔ สัปดาห์ และลงพื้นที่ปฏิบัติการจริง ๑๐% ทั้งนี้จะมี Live session เป็นเวลาสองชั่วโมงครึ้งทุกๆ วันเสาร์
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก อายุ ๑๘ ปีขึ้นไป “มีใจรักประชาธิปไตยและสนใจคุณค่าด้านสิทธิมนุษยชน” ไม่จำกัดอาชีพและอายุสุดท้าย อยู่ที่ไหนก็สมัครได้ในช่องทางออนไลน์ ที่ https://bit.ly/4dIT6bB
ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้เรียนรู้ทักษะการสังเกตการณ์คดีสิทธิและเสรีภาพ กับผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นทนายความ นักวิชาการ ผู้ถูกดำเนินคดีการเมือง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายฯ พร้อมการฝึกในห้องพิจารณาคดีจริง
ทางศูนย์ทนายฯ จะมอบประกาศนียบัตรให้เป็นหลักฐาน เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
(https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/23hpRQycX และ https://youtu.be/5HJH1IlBj1Y?si=0L4cl4MuC6vzGXhA)