way magazine
15h
ภัยพิบัติตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านหลายคนมีอาการเครียด วิตกกังวล กระวนกระวาย หวาดระแวง บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเป็นโรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder - ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์ร้ายแรง) การถูกตามหลอกหลอนด้วย ‘ฝันร้าย’ เป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้สุขภาพจิตทรุดโทรม
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ‘จิตวิทยา’ กับ ‘ภัยพิบัติ’ เรียกว่า ‘จิตวิทยาภัยพิบัติ’ (disaster psychology) โดยจำนวนของผู้ประสบภัยทางจิตใจและระดับความทรุดโทรมของสุขภาพจิตจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง (intensity) และความถี่ (frequency) ของภัยพิบัติ
นอกจากผลกระทบทางจิตใจ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภัยพิบัติกับฐานะทางการเงินก็พบว่า จำนวนของ ‘คนจน’ จะแปรผันตรงกับความรุนแรงและความถี่ของภัยพิบัติด้วยเช่นกัน
พูดง่ายๆ ก็คือ หากเกิดภัยพิบัติรุนแรงในพื้นที่เดิมบ่อยๆ ผู้ประสบภัยก็จะยิ่งจนลง มีหนี้สินติดตัวเพิ่มขึ้น และอาจสร้างเนื้อสร้างตัวใหม่ได้ยาก ส่งผลให้ผู้ประสบภัยมีสุขภาพจิตย่ำแย่ลง กลายเป็นวงจรแห่งความเลวร้ายที่เหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น
ทว่าปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ การแจ้งเตือนภัยพิบัติของภาครัฐมักจะล่าช้า เข้าใจยาก และลงไปไม่ถึงประชาชน มีเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการแจกข้าวกล่องกับถุงยังชีพ…ก็เท่านั้น
---
จน-เครียด-น้ำท่วม: จิตวิทยาภัยพิบัติและฝันร้ายที่ตามหลอกหลอน
https://waymagazine.org/disaster-psychology/
text: สมาธิ ธรรมศร
illustration: ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
ชวนอ่าน