วันอังคาร, ตุลาคม 18, 2565

"ความพิลึก" ในกระบวนการยุติธรรมประเทศไทย


Teeranai Charuvastra
4d

บางส่วนจากสัมภาษณ์พิเศษ "อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" ที่ผมเขียนให้ "ประชาไท" ครับ มีหลายประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะช่วยกระตุ้นให้หลายๆคนสังเกตเห็น "ความพิลึก" ในกระบวนการยุติธรรมประเทศไทย ที่อาจารย์หวังว่าผู้เกี่ยวข้องจะแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วครับ
คุยกับ 'ปริญญา เทวานฤมิตรกุล' ว่าด้วยกระบวนยุติธรรม ในวันที่กฎหมายอาญาขัดกับรัฐธรรมนูญ?
https://prachatai.com/journal/2022/10/100929
"...สังเกตครับว่า ใน ป. วิอาญา เค้าไม่เรียกว่าประกันนะครับ ใช้คำนี้เลย “ปล่อยชั่วคราว” คำว่าประกันๆคือเราใช้เรียกกันเอง ซึ่งผมสงสัยเรื่องนี้มาตลอด ทำไมเราไม่เรียกว่า “ประกันตัว” แต่ดันไปใช้คำว่า “ปล่อยชั่วคราว” เอ้าแบบนี้ก็แสดงว่าการจับมาขังเป็นหลัก การปล่อยเป็นชั่วคราวสิครับ ..."
"...ที่ผมกังวลอย่างยิ่งคือ ในทางปฏิบัติพักหลังๆมานี้เราเริ่มเห็นการไม่ให้ประกันที่อ้างเหตุผลนอกเหนือจากในป.วิอาญาด้วย โดยเฉพาะในคดีนักกิจกรรม มีการไม่ให้ประกันเพราะว่า "อัตราโทษสูง" หรือ “จำเลยเคยกระทำในลักษณะทำนองเดียวกันกับคดีนี้มาแล้วหลายคดี” หรือ “จำเลยอาจไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก”
มาดูแต่ละข้อ ไม่มีคำพวกนี้ในกฎหมายเลยนะครับ..."
"...ตอนนี้บ้านเราไม่มีใครดูแลความยุติธรรมในภาพรวม ทุกคนเห็นแต่ปัญหาส่วนของตัวเอง แก้เฉพาะตัวเอง ไม่เห็นภาพรวม จึงเป็นการแก้แบบปะผุ ทำสี ขันน็อต แต่ไม่เคยได้แก้โครงสร้างกันจริงจัง..."
ฯลฯ