วันอาทิตย์, ตุลาคม 16, 2565

ทำไม 14 ตุลาถูกด้อยค่าในทัศนะคนรุ่นหลัง คนรุ่นใหม่ คนเสื้อแดง ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับ 14 ตุลา



Atukkit Sawangsuk
16h

14 ตุลาถูกด้อยค่า
...........................
คนรุ่นใหม่ คนเสื้อแดง ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับ 14 ตุลา
ไม่เหมือน 6 ตุลา ที่มีอารมณ์ร่วมในชะตากรรม "เก้าอี้ฟาด"
นี่เป็นเรื่องน่าเศร้า ถ้ามองกันจริงๆว่า 14 ตุลา เปรียบเหมือน "ปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งที่สอง"
มาก่อนอาหรับสปริงสี่สิบปี มาก่อนกวางจู ฟิลิปปินส์ อินโด ไล่มาร์กอสซูฮาร์โต
14 ตุลาส่งผลสะเทือนกว้างขวาง ไม่ใช่แค่มีเลือกตั้ง
แต่มีความตื่นตัวของกรรมกร ชาวนา เรียกร้องค่าแรงสวัสดิการ ค่าเช่านาที่เป็นธรรม
มีกระทั่งม็อบนักเรียนต้านผมเกรียน
:
ทำไม 14 ตุลาถูกด้อยค่าในทัศนะคนรุ่นหลัง
น่าจะเริ่มต้นจากคนตุลาจำนวนมาก ไปร่วมม็อบเสื้อเหลือง เชียร์รัฐประหาร 49
แม้มีคนอีกฝั่ง ทั้งที่อยู่กับไทยรักไทย ทั้งที่ถอนตัวจาก พธม.ม.7 อย่างหมอเหวง
แต่พวกชื่อดังก็อยู่อีกฝั่งมากกว่า จนเกิดคำถามว่า ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงหรือ
แล้วคนรุ่นหลังก็หวนไปศึกษาประวัติศาสตร์ แบบตั้งข้อกังขา
ซึ่งก็มี "ความจริงอีกด้าน" ที่คนตุลาไม่พูดถึง
:
“14 ตุลาอยู่ใต้เพดานอุดมการณ์ราชาชาตินิยม”
“14 ตุลาเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยใต้อำนาจนำ”
“14 ตุลาเป็นการ ช่วงชิงอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ”
มีการสร้างสถานการณ์ conspiracy ใช้นักศึกษาประชาชนเป็นเครื่องมือ บลาๆๆ
:
ถูกต้องนะครับ แต่การมองประวัติศาสตร์ การประเมินสถานการณ์ ต้องดูด้านหลักด้านรอง
ไม่ใช่เอาทฤษฎีสมคบคิดไปจับ หรือมองเฉพาะส่วน ไม่มองภาพรวม
แหงละ ถ้าไม่ใช่ชนชั้นปกครองดัดหลังกันเอง ก็คงไม่ได้ "ชัยชนะ"
แต่ไม่ควรมองข้ามการเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่ ประชาชนเป็นแสนๆ เหลืออดกับเผด็จการ ออกมาเดินขบวนล้นหลาม ไม่เคยมีมาก่อน
ไม่ได้ขนคนมาจากภาคใต้แบบม็อบนกหวีด
เพราะความไม่พอใจของประชาชนล้นหลาม ชนชั้นปกครองอีกข้างที่โดนถนอมประภาสกด จึงเห็นโอกาส
:
มันเป็นการต่อสู้ของประชาชน มันไม่ใช่มาจาก conspiracy
แต่การที่ประชาชนไม่ได้อำนาจ หรือมองว่าถูกแย่งอำนาจ
มันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นวิวัฒนาการสังคม
ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งพอที่จะ "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" ในวันเดียว
ศูนย์นิสิต ขบวนการนักศึกษา ไม่ได้เตรียมพร้อมมาปกครองประเทศ ไม่คาดคิด เหมือนเป็นอุบัติเหตุ
ยังงงๆ อยู่เลยกับสุญญากาศอำนาจ (ทหารตำรวจเผ่นหมด)
ก็เป็นธรรมดาที่คนซึ่งก้าวเข้ามาในสุญญากาศ คือคนที่สังคมยอมรับมากที่สุด ในวันนั้น
:
ตั้งแต่ปฏิวัติฝรั่งเศส มาจนอาหรับสปริง มันไม่มีหรอกที่ประชาชนได้อำนาจในวันเดียว
มันคดเคี้ยว มันขัดแย้ง ถูกแย่งชิง แต่มันเกิดเพราะประชาชนเหลืออด
แล้วต้องประเมินผลว่า มันทำให้ได้เสรีภาพความเป็นธรรมมากขึ้นหรือเปล่า หรือส่งผลสะเทือนอย่างไรในระยะยาว
ถ้าเราเชื่อแต่ทฤษฎีสมคบคิด หรือคิดแต่ว่าประชาชนถูกแย่งอำนาจ ชัยชนะลวงตา
ก็จะงอมืองอเท้าไม่ต่อสู้เปลี่ยนแปลง
เหมือนพวกที่บอกว่า ไล่ประยุทธ์ก็ตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง
:
14 ตุลาอยู่ใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยม จริงหรือ
อันนี้ขอแย้งประจักษ์
มันมาจากจุลสารของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เอาพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ของ ร.7 มาใช้
แล้วเอาไปแจกจ่ายเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จน 13 กบฏถูกจับ เป็นชนวนให้เกิดการชุมนุมเดินขบวนมวลชนเข้าร่วมมหาศาล
แต่มันก็กลายเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ตีตรา 14 ตุลา อยู่ใต้ “อุดมการณ์ราชาชาตินิยม”
เป็นตราบาปที่ไม่ยุติธรรมกับคนตุลากลุ่มอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เห็นด้วยเสียหมด
(จุลสารนี้ทำโดยพวกธีรยุทธ-ชัยอนันต์)
คือเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น พอสถานการณ์มันไปแล้ว จับ 13 กบฎแล้ว ทุกคนก็เข้าร่วม
มันไม่ใช่จังหวะที่กลุ่มเสกสรรค์หรือสภาหน้าโดม อมธ. ฯลฯ จะมาออกแถลงการณ์ว่า
"พวกกรูไม่เห็นด้วยโว้ยที่เอาจดหมาย ร.7 มาใช้"
ก็เลยโดนตราบาปไปด้วยกันในสายตาคนรุ่นหลัง
ทั้งที่รู้อยู่ว่าในขบวนการนักศึกษา-ศูนย์นิสิต ตอนนั้นก็ขัดแย้งกันเต็มไปหมด
:
ใช่ละว่า คนรุ่น 14 ตุลาไม่ค่อยจะ in กับคณะราษฎร 2475 ไม่เหมือนคนรุ่นใหม่
แต่ก็ไม่ใช่อยู่ใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยม
อิทธิพลหลักกับคนรุ่นใหม่ยุคนั้น คือเสรีนิยมตะวันตกมากกว่า
หนัง เพลง วัฒนธรรมอเมริกัน การประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนาม ต้านเหยียดผิวเหยียดเพศ
ฮิปปี้ก็กลายมาเป็น 5 ย. บ็อบ ดีแลน ก็กลายเป็นหงา คาราวาน
มันมีความคิดชาตินิยมอยู่บ้าง นิยมกษัตริย์บ้าง ฝ่ายซ้ายบ้าง
แต่กระแสหลักที่ก่อเกิดขบวนการนักศึกษาตั้งแต่ 2510 มาจากยุคแสวงหา ยุคซิกซ์ตี้ของอเมริกา "ฉันจึงมาหาความหมาย"
:
หรือพูดกันง่ายๆ ความรู้สึกคนในเวลานั้น เผด็จการทหารเป็นภัยคุกคาม ไม่ใช่สถาบันกษัตริย์
พอถูกตีตกน้ำหน้าวัง เจ้าออกมารับ เป็นคุณจะรู้สึกยังไง
ก็เหมือนพฤษภา 35 ไม่หยุดฆ่าหยุดปราบ จนเรียกเข้าพบ
เป็นใครก็ซาบซึ้งน้ำตาไหล พวกไม่เห็นด้วยก็พูดไม่ออก
การกลับมามองอย่าง "ฉลาดหลังเหตุการณ์" มันต้องเข้าใจคนที่อยู่ในสถานการณ์
:
แต่เอาละ เรื่องพวกนี้ ศึกษากันไปก็จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ ขอแค่ตั้งหลัก มองภาพใหญ่ก่อน
ปัญหาที่ 14 ตุลาถูกด้อยค่า โทษคนรุ่นหลังไม่ได้
ต้องโทษพวกตุลาเสื้อเหลืองเชียร์รัฐประหารนั่นแหละ
พวกนี้ต้องเคลียร์กับคนรุ่นใหม่ อธิบายและพิสูจน์ตัวเอง พิสูจน์ไม่ได้ก็ยอมรับผิด
:
ถ้าถามว่าทำไมคนตุลาแบ่งเป็นเหลืองแดง
อันนี้ยาวแฮะ แต่ตอบให้่สั้นคือ อุดมการณ์ตุลามี 2 ด้าน ที่บางทีก็ขัดแย้งกันเอง
คือเสรีภาพ กับความเป็นธรรม
แต่ความเป็นธรรมของคนตุลามันเตลิดไปจากประชาธิปไตย
คือหลัง 6 ตุลาเข้าป่า ก็ยึดเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ นำไปสู่สังคมเป็นธรรม สังคมนิยม
พออกหักออกป่า พวกที่ไปทำงานเคลื่อนไหว NGO นักวิชาการ ก็ไปทางหมอประเวศ ส.ศิวรักษ์ พุทธนิยม ชุมชนนิยม ต้านทุนโลกาภิวัตน์
"เกลียดทุน" โดยไม่ยอมรับว่ายังไงก็ต้องอยู่กับทุนนิยม
และสิ่งที่จะต่อสู้ควบคุมทุนได้ดีที่สุดคือเสรีภาพประชาธิปไตย