วันศุกร์, กรกฎาคม 22, 2565

คิงส์เกตฯ เสนอ ประยุทธ์สนอง เร่ขายทรัพย์สินชาติ - น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา เหมืองทองอิศรา


พรรคเพื่อไทย was live.
16h

น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจ #เด็ดหัวสอยนั่งร้าน รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา
-----
มาร่วมกันลงมติไม่ไว้วางใจประยุทธ์ และฝากข้อความสั้นๆ ถึงพลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีในรัฐบาล ผ่าน ส.ส. เพื่อไทย ได้ที่ LINE OA เพื่อไทย : https://lin.ee/GMTMOC3
.....

พรรคเพื่อไทย
10h

ถ้าหลังจากดิฉันอภิปรายจบ พลเอกประยุทธ์ จะลุกขึ้นตอบโต้อีกว่า ท่านไม่ได้ทำผิด เพราะได้ทำไปเพื่อแก้ปัญหาที่รัฐบาลที่ผ่านๆมาได้ทำเอาไว้ และการใช้มาตรา 44 สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้จริง ดิฉันขอท้าให้ท่านไปแถลงข่าวพรุ่งนี้เลยว่า การใช้มาตรา 44 ปิดเหมืองทองคำเป็นผลงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา”
.
และนี่คือหลักฐานมัดตัว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่เร่ขายสมบัติชาติ จ่ายค่าโง่ให้ตัวเอง แต่ประชาชนทั้งประเทศต้องซวย หารจ่ายร่วมด้วย จาก จิราพร สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด นักฆ่าขนตางอน ทวงคืนความยุติธรรมให้คนไทย เตรียมยื่นฟ้องป.ป.ช.
.
#ยุทธการเด็ดหัวสอยนั่งร้าน #อภิปรายไม่ไว้วางใจ


[จุดศูนย์กลางของปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐบาลใดแต่เกิดจากการใช้มาตรา 44 ของพลเอกประยุทธ์!]
.
“ขอเตือนว่าไม่ต้องมาโยนความผิดให้รัฐบาลยุคไทยรักไทยหรืออ้างว่าเป็นการทำเพื่อแก้ปัญหาแทนรัฐบาลเดิมแบบคราวที่แล้วอีก เพราะแม้เหมืองทองอัคราฯ จะมีพิธีเปิดและเริ่มดำเนินการผลิตทองคำเชิงพาณิชย์ในปี 2544 ตรงกับยุครัฐบาลไทยรักไทยพอดี แต่แท้จริงแล้วเหมืองอัคราฯ จดทะเบียนในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2536 และได้สิทธิในการเริ่มสำรวจแร่ในไทยในปี 2537 ได้รับอนุมัติประทานบัตรทำเหมือง 5 ฉบับ รวมเหมืองชาตรีใต้ตั้งแต่ปี 2543
.
ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ไปทำพิธีเปิดเหมืองตามตำแหน่งหน้าที่ในตอนนั้น และนับตั้งแต่มีการก่อตั้งบริษัทอัคราฯ ผ่านมาเกือบ 30 ปี ไม่ว่ารัฐบาลไหนขึ้นมาบริหารประเทศก็ไม่เคยมีปัญหาที่ถูกบริษัทเอกชนต่างชาติฟ้องร้องแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่นนี้
.
ดังนั้น จุดศูนย์กลางของปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐบาลยุคไทยรักไทย หรือรัฐบาลไหนในอดีต แต่เกิดจากการใช้มาตรา 44 ที่ลุแก่อำนาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ทำให้คดีเหมืองทองอัครา กลายเป็นคดีแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่นายกรัฐมนตรี เป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดกฎหมายระหว่างประเทศ โดยใช้อำนาจเผด็จการ ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ไม่ได้มาแก้ปัญหา แต่มาสร้างปัญหาให้กับประเทศ”


[ทุกหน่วยงานเตือน! ไทยมีโอกาสแพ้คดีสูง แต่พลเอกประยุทธ์ไม่ฟัง]
.
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า กรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากคำสั่ง คสช. ที่ 72/2559 ที่ระงับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำโดยที่ยังพิสูจน์ไมได้ว่าผู้ประกอบการกระทำความผิด เข้าข่ายการละเมิดความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ดังนั้น จึงมีความเห็นว่า ควรเจรจากับบริษัทคิงส์เกตฯ เพื่อระงับข้อพิพาทให้ได้มากที่สุด เพราะหากบริษัทคิงส์เกตฯ นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ไทยมีโอกาสจะแพ้คดีสูง และมีโอกาสที่จะต้องชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก
.
ความเห็นเหล่านี้ ได้มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรับทราบไปเรียบร้อย แต่เป็นอีกหนึ่งครั้งที่พลเอกประยุทธ์เพิกเฉย ไม่รับฟังความเห็นของหน่วยงานเพื่อดำเนินการอย่างรอบคอบไม่ให้บริษัทคิงส์เกตฯ ยื่นฟ้องร้องประเทศไทย จากที่ตอนนั้นเคยยืนยันหนักแน่นว่าไม่สามารถเจรจาตามข้อเรียกร้องของบริษัทคิงส์เกตฯ ได้ ซึ่งที่สุดแล้วกลับกลายเป็นผลให้บริษัทคิงส์เกตฯ ตัดสินใจฟ้องร้องประเทศไทยในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560”


[สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอให้ยกเลิกการใช้มาตรา 44]
.
เอกสารลับ! ด่วนที่สุด!
เรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด และพวกกับราชอาณาจักรไทย
.
เพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ไทยถูกฟ้องร้องจากการใช้มาตรา 44 ในฐานะที่เป็นทนายแผ่นดิน สำนักงานอัยการสูงสุดที่มีหน้าที่ต้องว่าความให้กับรัฐบาลในกรณีที่ถูกต่างชาติฟ้องร้อง ได้เสนอให้คืนสิทธิให้บ. คิงส์เกตฯ เป็น 2 แนวทาง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ดังนี้
.
แนวทางที่ 1) สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอให้แก้ปัญหาโดยอาศัยข้อกำหนดที่ระบุไว้ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติตามคำสั่งที่ 72/2559 ข้อ 2 และข้อ 3 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการชุดนี้สามารถมีมติเป็นอย่างอื่นต่างจากที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มีคำสั่งให้มีการระงับการอนุญาตหรือระงับการประกอบกิจการได้
.
โดยสำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นว่า วิธีนี้มีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ต้องใช้เวลานานซึ่งจะไม่ทันท่วงที จึงอาจทำให้ค่าเสียหายที่เกิดมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะดำเนินการเสร็จ หากเลือกแนวทางนี้ฝ่ายไทยจึงอาจมีภาระหรือความเสี่ยงสูงในกรณีที่จะต้องมีการเยียวยาในความเสียหายที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับคืนสิทธิให้ทันท่วงทีเนื่องจากความล่าช้าดังกล่าว
.
แนวทางที่ 2) เสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยกเลิกคำสั่งที่ 72/2559 โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 8 ของคำสั่งที่ 72/2559 โดยระบุว่า เมื่อแน่ชัดแล้วว่าไม่มีกรณีที่การทำเหมืองแร่ทองคำได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ชอบที่จะเสนอมายังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ออกคำสั่งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยกเลิกคำสั่งที่ 72/2559 ซึ่งจะมีผลในทันทีในการคืนสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ทั้งหมดให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งบริษัท อัคราฯ ให้กลับไปสู่ฐานะเดิม
.
และยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การออกคำสั่งตามมาตรา 44 ดังกล่าว อาจเยียวยาไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดตามที่ผู้ประกอบการได้เสียสิทธิหรือผลประโยชน์ไป ในคำสั่งดังกล่าวก็ชอบที่จะกำหนดวิธีการเยียวยาในส่วนที่เป็นตัวเงิน หรือผลตอบแทนอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย อาทิ เช่น การขยายระยะเวลาของใบอนุญาตต่างๆ ชดเชยเพิ่มขึ้น
.
การที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้เสนอให้เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ 2 คือให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารในขณะนั้น ได้ใช้อำนาจที่มีอยู่ยกเลิกคำสั่ง คสช. ซึ่งจะทำให้หยุดความเสียหายที่จะเกิดเพิ่มขึ้นได้ในทันที
.
และการที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีความเห็นเช่นนี้ เท่ากับเป็นการประจาน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วว่าการใช้มาตรา 44 เป็นการกระทำความผิด และสร้างความเสียหายให้กับประเทศ จึงได้เสนอให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. และคืนสิทธิให้กับบริษัทเอกชนไป”


[เตือนแล้วเตือนอีกไม่ฟัง! ลำดับเหตุการณ์เตือนพลเอกประยุทธ์ 9 ครั้งก็ยังไม่ได้ยิน]
.
“​​ตั้งแต่ปี 59 – ปัจจุบัน มีการเตือนพลเอกประยุทธ์ทุกปี เท่ากับจงใจกระทำความผิดซ้ำซาก ไม่รีบหาทางแก้ไข ปล่อยให้คำสั่งมาตรา 44 จากคำสั่งชั่วคราว กลายเป็นคำสั่งชั่วนาตาปี เมื่อไม่รีบระงับยับยั้งอย่างรวดเร็ว ทันกาล ทำให้ปัญหาคดีเหมืองทองอัคราทับซ้อน บานปลาย เกิดความเสียหายกับประเทศ กระทบต่องบประมาณแผ่นดิน ประเทศเสี่ยงแพ้คดี อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน และที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือเอกประยุทธ์ยังมีความพยายามหนีความผิดโดยการเอาทรัพย์สมบัติชาติไปประเคนให้กับบริษัทเอกชน เพื่อให้ตนเองหลุดรอดจากคดีนี้”


[ใบเสร็จความเสียหายค่าโง่ประยุทธ์​ แต่คนไทยทุกคนต้องหารกันจ่ายให้]
.
+ใบเสร็จ จ่ายแล้ว
“เมื่อพลเอกประยุทธ์ไม่ได้รับฟังคำทัดทานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะทนายแผ่นดินที่ได้ให้ความเห็นไว้ จึงเกิดความเสียหายมากมายตามมา แม้ตอนนี้จะยังไม่มีคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการออกมา แต่ได้มีใบเสร็จความเสียหายที่เกิดจากการใช้มาตรา 44 ของพลเอกประยุทธ์แล้ว
.
+ใบเสร็จล่วงหน้า เตรียมตัวจ่าย
“หากในอนาคตมีคำชี้ขาดออกมาแล้วไทยแพ้คดี ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหาย เป็นจำนวนเงินไม่ต่ำว่า 720 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 30,000 ล้านบาทไทย นอกจากนี้ ไทยจะต้องจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่บริษัทคิงส์เกตทำประกันความเสี่ยงทางการเมืองทำไว้กับบริษัท Zurich Australian Insurance Limited ซึ่งศาล เมือง New South Wales ตัดสินแล้วว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยทำกับบริษัทคิงส์เกตฯ เป็นความเสี่ยงทางการเมือง และให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัทคิงส์เกตฯ กว่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 1,650 ล้านบาท ซึ่งบริษัทประกันภัยดังกล่าวสามารถมาไล่เบี้ยเอาจากไทยในภายหลังได้ ถ้าไทยแพ้คดี”


[คิงส์เกตฯ เสนอ ประยุทธ์สนอง เร่ขายทรัพย์สินชาติ]
.
ช่วงเวลาก่อนที่บริษัทคิงส์เกตฯ จะตัดสินใจฟ้องร้องประเทศไทย ในการประชุมเจรจากับ บริษัทคิงส์เกตฯ ณ โรงแรมเดอะสุโกศล วันที่ 27 มิ.ย. 2560 บริษัทคิงส์เกตฯ ได้มีข้อเสนอเงื่อนไขข้อเรียกร้อง และการชดเชยทางการเงินให้ไทยพิจารณา 14 ข้อ และต่อมามีการเสนอเพิ่มเติมอีก 2 ข้อ รวมเป็นทั้งหมด 16 ข้อ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ ได้ถูกปัดตกไป เพราะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันว่าทำให้ไม่ได้ จนในที่สุดทำให้บริษัทคิงส์เกตฯ ตัดสินใจฟ้องร้องประเทศไทย
.
แต่ปรากฎว่า บริษัทคิงส์เกตฯ ได้ออกแถลงการณ์ต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ระบุว่า คิงส์เกตและรัฐบาลไทยได้ร่วมกันร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชะลอคำชี้ขาดออกไป เพื่อขยายเวลาสั้นๆ ให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทร่วมกัน โดยระหว่างนี้ ได้มีการเจรจาแลกเปลี่ยนกับประเทศไทยตามข้อเสนอจำนวน 11 ข้อ
.
อย่างไรก็ดี ข้อเรียกร้องในปี 2560 และปี 2564 นั้นแทบจะเหมือนกัน มีเพียงบางข้อที่ถูกยุบรวมลง ทำให้ข้อเรียกร้องในปี 2564 ดูน้อยลงกว่าเดิม แต่ใส้ในของแต่ละข้อก็แฝงไว้ด้วยรายละเอียดข้อเรียกร้องเดิมที่คิงส์เกตเคยเรียกร้องไทยเมื่อปี 2560 แสดงว่าข้อเรียกร้องที่คิงส์เกตฯ เคยขอเจรจากับประเทศไทย แล้วพลเอกประยุทธ์ปัดตกไป ยืนยันว่าทำให้ไม่ได้เมื่อปี 2560 จนคิงส์เกตฯ ตัดสินใจฟ้องร้องไทยนั้น พลเอกประยุทธ์สามารถเจรจาต่อรองกับคิงส์เกตฯ ได้ตั้งแต่ปี 2560 จนสุดท้าย 2 ใน 11 ข้อเรียกร้องพลเอกประยุทธ์ได้ดำเนินการให้กับคิงส์เกตเรียบร้อยแล้ว
.
นอกจากข้อเรียกร้องที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ยังมีข้อเรียกร้องอีกหลายประการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ แต่หากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ยอมดำเนินการให้ก็จะกลายเป็นความเสียหายของประเทศไทยในอนาคต
.
ตัวอย่างเช่น การขอให้ไทยแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในท้องถิ่นที่ค้างอยู่ทั้งหมด
1) การให้ ป.ป.ช. ยุติการสืบสวนบริษัทอัครา 2 คดี
2) ให้ยุติคดีของ DSI ซึ่งในปัจจุบันมี 3 คดี
3) ยุติการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่ศาลแพ่งต่อบริษัท อัคราฯ
4) ให้ยุติคดีของ ปปง. เรื่องการคิดค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไปจากการทำเหมืองในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
5) ให้ยุติคดีของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
.
การที่เขาต่อรองถึงขั้นว่าจะให้เคลียร์คดีของดีเอสไอ และคดีต่างๆ นั้น ไม่ใช่ข้อต่อรองปกติ โดยหลักสากลทั่วไปจะไม่ต่อรองกันแบบนี้ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีหลักนิติรัฐนิติธรรม เขาจะไม่กล้าไปพูดให้ล้มคดีให้ แต่นี่เขากล้าพูด กล้าต่อรองเเบบนี้ เพราะเขาเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ล้มคดีได้หมด ซึ่งข้อต่อรองแบบนี้ของต่างประเทศไม่ปิดลับ มันจะรู้กันไปทั่วโลก นี่เป็นการย้อนเกล็ดอย่างเจ็บแสบว่า พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจ ม.44 ไปเล่นงานเขา เขาก็เลยย้อนเกล็ดให้พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจ ล้มคดีให้เขา ถือเป็นเรื่องน่าอับอายมาก เพราะประเทศที่ถูกต่อรองให้ผู้นำล้มคดีมีแต่ประเทศเผด็จการเท่านั้น
.
ตามเอกสารหลักฐานที่ดิฉันได้อภิปรายมาทั้งหมด รวมถึงข้อมูลล่าสุดของทีมที่ปรึกษาฝ่ายไทย ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คดีเหมืองทองอัครา ประเทศไทยแพ้คดีอย่างแน่นอน
.
ถ้าไทยแพ้คดี พลเอกประยุทธ์ เตรียมการรับมือไว้ว่าอย่างไร
ถ้าไทยแพ้คดี จะใช้วิธีเอาทรัพย์สมบัติแผ่นดินไปแลกตามข้อเรียกร้องของคิงส์เกตฯ หรือไม่
พลเอกประยุทธ์จะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างไร ช่วยตอบมาให้ชัดๆ ค่ะ”