วันพุธ, กรกฎาคม 20, 2565

การอดอาหารประท้วงไม่ใช่การเจตนาฆ่าตัวตาย ถ้าไม่เข้าใจ อ่านต่อ


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
14h
ใบปอ - “เราไม่ได้อยากตาย เราอยากออกไปสู้ต่อ…”
.
บุ้ง - “มันไม่ใช่ความผิดของคนที่อดอาหาร แต่เป็นความผิดของกระบวนการยุติธรรม…”
.
ย้อนฟังเสียงบุ้ง-ใบปอ พูดถึงเจตจำนงต่อ #การอดอาหารประท้วง ขณะอดอาหาร 48 วันจนอาการวิกฤตหลายครั้ง และจับตาศาลจะมีคำสั่งให้ประกันหรือไม่ ครั้งที่ 7
.
อ่านบทสัมภาษณ์บุ้ง: https://tlhr2014.com/archives/44709
อ่านบทสัมภาษณ์ใบปอ: https://tlhr2014.com/archives/44591
.....

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
15h

ชวนย้อนทำความเข้าใจ “กลไกการทำงานของการอดอาหารประท้วง” ขณะมีผู้ต้องคดีการเมืองอดอาหารประท้วง 3 ราย ได้แก่ บุ้ง ใบปอ และธีรวิทย์ ทะลุแก๊ส
.
เมื่อเปรียบเทียบกับยุทธวิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องทั้งหลาย แม้การอดอาหารประท้วงจะมีชื่อเสียงในฐานะปฏิบัติการไร้ความรุนแรง แต่ตัวมันเองนั้นกลับไม่อาจขาดซึ่งองค์ประกอบของการทำร้ายทำลาย
.
อย่างไรก็ดี แทนที่การอดอาหารประท้วงจะมุ่งทิศทางการทำร้ายทำลายไปยังฝ่ายตรงข้าม ผู้อดอาหารกลับหันเหทิศทางความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกลับเข้ามาที่ตนเอง ความกลับตาลปัตรดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามที่ว่า
.
การแบกรับความทุกข์ของผู้อดอาหารประท้วง จะทำให้พวกเขาได้รับการตอบสนองข้อเรียกร้องได้อย่างไร? มันมีกลไกการทำงานอย่างไร? และเพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ผู้อดอาหารประท้วงได้อย่างไร?
.
ความหิวโหย ประสบการณ์ร่วมเพียงไม่กี่อย่างของมนุษย์
.
ย้อนกลับไปที่ความเข้าใจพื้นฐานที่สุดในช่วงต้นของบทความ “#ความหิวโหย” เป็นประสบการณ์ร่วมเพียงไม่กี่อย่างที่มนุษย์มีแนวโน้มจะมีร่วมกัน
.
เมื่อมีใครสักคนหนึ่งกำลังทนทุกข์ พวกเขาสามารถจินตนาการถึงมันได้โดยไม่จำเป็นต้องประจักษ์กับตา ผู้อดอาหารประท้วงเปลี่ยนเรือนร่างที่ซีดเซียวของตนให้กลายเป็นข้อความ (Textualisal) มันทำหน้าที่ในการสื่อสารแทนคำพูดและดึงดูดความสนใจของผู้ที่ถูกเรียกร้องรวมทั้งสาธารณชน
.
เมื่อกลไกของประสบการณ์ร่วมทำงาน การอดอาหารประท้วงได้กระทุ้งมโนสำนึกความเป็นมนุษย์ที่อยู่ภายในของผู้ชม การสวมบทบาทและความเห็นอกเห็นใจอาจทำให้ผู้ที่ถูกเรียกร้องยอมเปลี่ยนท่าทีและโอนอ่อนผ่อนตาม
.
กระนั้นก็ดี แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้ถูกเรียกร้องทุกคนจะเปลี่ยนใจเมื่อถูกกระทุ้งมโนสำนึก มันจึงไม่ใช่กลไกเดียวที่ทรงพลังของการอดอาหารประท้วง
.
การอดอาหารประท้วงวางอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า #รัฐสมัยใหม่ทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้การอดอาหารประท้วงเกิดขึ้นเป็นเวลานาน
.
เนื่องจากรัฐมีพันธะทางกฎหมายระหว่างประเทศในการดูแลสุขภาพและการมีชีวิตอยู่ของพลเมือง ซึ่งรวมไปถึงผู้ต้องขัง การที่รัฐไม่อาจปฏิบัติตามพันธะดังกล่าว ย่อมส่งผลให้รัฐเสี่ยงต่อความอับอาย รวมถึงอาจถูกประณามจากนานาอารยประเทศ
.
นอกจากนี้ หากการอดอาหารประท้วงเกิดขึ้นในเรือนจำ มันย่อมส่งผลบั่นทอนสมรรถภาพในดำเนินการต่างๆ รัฐต้องทุ่มเททรัพยากรสูงขึ้นเพื่อการบริหารจัดการ
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้อดอาหารประท้วงมีจำนวนมาก ซึ่งนั่นจะส่งผลให้เกิดการชะงักงันในเรือนจำ และแน่นอนว่าทั้งหมดนี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อรัฐ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เพื่อยุติการอดอาหารประท้วง การเปิดพื้นที่การเจรจาหรือการยอมตอบสนองข้อเรียกร้องจึงอาจเกิดขึ้น
.
อย่างไรก็ดี กลไกการทำงานของการอดอาหารประท้วงไม่เพียงเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง #ผู้อดอาหารประท้วง กับ #ผู้ที่ถูกเรียกร้อง เท่านั้น การอดอาหารประท้วงยังส่งอิทธิพลต่อผู้ชม ทั้งฝ่ายผู้สนับสนุน และฝ่ายที่สาม (Third Party) เนื่องจากในการอดอาหารประท้วงจำนวนมาก นักเคลื่อนไหวผู้หิวโหยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่กว้างขวางออกไป
.
ในแง่นี้ การเคลื่อนไหวของพวกเขาจึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว มันไม่ใช่เพียงการต่อต้านที่หยุดอยู่ที่ตัวผู้อดอาหารประท้วง แต่มันเกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวอื่นที่ดำรงอยู่โดยรอบ ดังนั้นอิทธิพลจากการอดอาหารประท้วงจึงถูกส่งไปยังฝ่ายเดียวกัน โดยเป็นการกดดันให้พวกเขาจำเป็นต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อเพิ่มแรงกดดันไปยังเป้าหมาย
.
การอดอาหารคือการเรียกร้องมากกว่าระดับปัจเจก แต่เป็นพันธกิจของทุกคน
.
นอกจากนี้ การอดอาหารประท้วงยังส่งผลกระตุ้นสำนึกความเป็นพวกพ้องและเพิ่มความสามัคคีในฝ่ายเดียวกัน ซึ่งรวมไปถึงในหมู่ผู้ที่มีสายสัมพันธ์ร่วมกัน มันทำให้พวกเขาตระหนักว่า ผู้ที่กำลังอดอาหารประท้วงอยู่ เขาคือหนึ่งในพวกเรา ดังนั้นการเรียกร้องจึงไม่ใช่เพียงการกระทำของปัจเจก แต่มันคือพันธกิจของคนที่อยู่รอบตัวพวกเขา
.
ยิ่งไปกว่านั้น การอดอาหารประท้วงไม่เพียงส่งอิทธิพลไปยังฝ่ายเดียวกัน การอดอาหารยังสามารถส่งผลโน้มน้าวชักจูง กระตุ้นมโนสำนึกความเป็นมนุษย์ของฝ่ายที่สาม ทำให้พวกเขาเกิดความเห็นอกเห็นใจ และอาจหันมาร่วมส่งแรงกดดันไปยังผู้ที่ถูกเรียกร้อง
.
ในแง่นี้ ความสัมพันธ์ในกลไกของการอดอาหารประท้วงจึงไม่ใช่เพียงปฏิสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างผู้ประท้วงกับเป้าหมาย แต่ปฏิสัมพันธ์ในกลไกการอดอาหารมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ 3 ฝ่าย ได้แก่
.
1. ระหว่างตัวแสดงหลัก (The Primary Actors)
2. เป้าหมายหลัก (The Primary Targets)
3. และเครือข่ายภายนอก หรือผู้สังเกตการณ์หลัก (The Primary Observers)
.
ซึ่งอย่างหลังถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มแรงกดดันไปยังเป้าหมายของการอดอาหารประท้วง
.
“อำนาจกดดันจากการอดอาหารประท้วงจะทรงพลังอย่างยิ่ง เมื่อผู้อดอาหารประท้วงเข้าใกล้สภาวะวิกฤต”
.
เนื่องจากในด้านหนึ่ง มันส่งผลให้เครือข่ายผู้สนับสนุนจำเป็นต้องพยายามใช้ทุกวิถีทางที่พวกเขาสามารถกระทำได้ในการเร่งเร้าแรงกดดันให้ถึงขีดสุด เพื่อให้แน่ใจว่าผู้อดอาหารประท้วงจะได้รับการตอบสนองข้อเรียกร้อง และสามารถยุติการอดอาหารประท้วงก่อนที่ลมหายใจสุดท้ายจะมาถึง
.
ในอีกด้านหนึ่ง วิกฤตของผู้อดอาหารประท้วง จะผลักผู้มีอำนาจตัดสินใจให้เข้าสู่ ‘#สภาวะทางแยกที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก’ (Dilemma) ซึ่งพวกเขามีทางเลือกไม่มากระหว่างการตัดสินใจให้ในสิ่งที่ผู้อดอาหารต้องการ หรือปล่อยให้ผู้อดอาหารประท้วงเสียชีวิต หรือใช้กำลังยุติผ่านการบังคับป้อนอาหาร (Force Feeding)
.
แม้โดยทั่วไป อาจไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลสำหรับรัฐ หากจะมีใครสักคนถูกบังคับคุกคามหรือเสียชีวิตในเรือนจำ แต่นั่นไม่ใช่กับการอดอาหารประท้วงซึ่งอยู่ในสายตาสาธารณชน รัฐตระหนักดีว่าการปล่อยให้ผู้อดอาหารประท้วงเสียชีวิตหรือใช้กำลังรุนแรง อาจส่งผลตีกลับที่ไม่พึงปรารถนา (Backfire) อาจก่อให้เกิดโทสะทางศีลธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดการลุกฮือของประชาชน
.
บนทางแยกที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ผู้มีอำนาจจะเข้าสู่กระบวนการประเมินผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของผู้อดอาหาร รวมถึงการยุติด้วยกำลัง หากผู้มีอำนาจประเมินว่า ทางเลือกดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงที่จะก่อให้เกิดการปะทุของโทสะทางศีลธรรมในหมู่ผู้สนับสนุนและฝ่ายที่ 3 พวกเขาย่อมเลือกที่จะยอมประนีประนอมข้อเรียกร้อง ดีกว่าที่จะเสี่ยงกับการลุกฮือ
.
แต่ในทางกลับกันหากผู้มีอำนาจประเมินว่า ภายหลังการเสียชีวิตหรือการยุติด้วยกำลัง จะไม่เพิ่มการปะทุของแรงกดดันในหมู่ผู้สนับสนุนและฝ่ายที่ 3 พวกเขาย่อมมีแนวโน้มจะไม่ประนีประนอม
.
“ภายใต้กระบวนการประเมินดังกล่าว บทบาทของฝ่ายผู้สนับสนุนมีความสำคัญอย่างยิ่ง”
.
เนื่องจากหากพวกเขาสามารถสร้างแรงกดดันในพื้นที่สาธารณะจนทำให้ผู้มีอำนาจเชื่อว่า การตัดสินใจที่ผิดพลาดจะก่อให้เกิดผลตีกลับที่ไม่พึงปรารถนา ผู้มีอำนาจย่อมมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงมัน ด้วยการยอมประนีประนอมข้อเรียกร้องกับผู้อดอาหารประท้วงเพื่อหลีกเลี่ยงทางเลือกที่เลวร้ายยิ่งกว่า
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/44370