Pipob Udomittipong
18h
เข้าใจทั้งสองฝ่าย กรณีฉายหนังกลางแปลง #มนตร์รักทรานซิสเตอร์ อาจเป็นเพราะสังคมไทยทุกวันนี้อยู่ด้วย “ความกลัว”” มากกว่า “ความรัก” สถาบัน เอาแค่ว่าเวลาจะพูดถึง “กษัตริย์” เราก็มักพูดเลี่ยง ๆ ด้วยคำว่า “สถาบัน” เสมอ เพราะกลัวจะมีเรื่อง แล้วสถาบันกษัตริย์ที่อยู่ได้ด้วย “ความกลัว” สอดคล้องกับสมัยใหม่หรือไม่?
ตั้งแต่ในสภา การอภิปรายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ” สถาบัน” กลายเรื่องหมิ่นเหม่ บางคนบอกว่าอาจถึงขั้นยุบพรรค ในท้องถนน การทำโพลล์ถามว่า "คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่" อัยการมองว่ามี “เจตนาจะสื่อไปถึงสถาบันกษัตริย์ว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ” ทั้งที่การถามว่าเดือดร้อนจาก #ขบวนเสด็จ หรือไม่ แม้แต่คนที่บอกว่าเดือดร้อน เขาก็อาจไม่ได้ต้องการให้ยกเลิกขบวนเสด็จไป แต่อาจต้องการการปรับปรุงให้ดีขึ้น ปิดถนนให้น้อยลง กั้นเฉพาะเท่าที่จำเป็น ไม่ใช่กั้นเป็นชั่วโมงล่วงหน้า
ในทำนองเดียวกัน ในคำสั่งถอนประกัน #ทานตะวัน ศาลก็มองว่า การใส่ #เสื้อดำรับเสด็จ เป็นสิ่งที่ “ผิดวิสัย” “หากคุณใส่เสื้อดำไปร่วมงานแต่งงาน เขาจะให้คุณเข้างานไหม เขาคงไม่ให้คุณเข้างานหรอก เพราะมันไม่ปกติ” แต่เราเห็นนักเตะลิเวอร์พูล นักเตะแมนยูใส่เสื้อดำถวายบังคมที่สนามบิน อันนั้นไม่ “ผิดวิสัย” เหรอ?
ปัญหาจึงเกิดจากการตีความตามอัธยาศัยของบุคลากรในกระบวนการ “ยุติธรรม” ไม่มีมาตรฐานที่สม่ำเสมอ เน้นสร้างความกลัวอย่างเดียว #ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น แบบที่ผพษ.คนนั้นพูดไว้ ยิ่งโทษ #หมิ่นประมาทกษัตริย์ ไม่มีข้อยกเว้นเรื่องความจริงและประโยชน์สาธารณะ คนก็กลัวสิ เพราะมันไม่มีมาตรฐาน เพราะมันไม่เหมือนกม.หมิ่นประมาทของชาวบ้านทั่วไป คนจึงเกิดความกลัว
จำตอนที่ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ฟ้องสื่อฝรั่งเศส ที่พิมพ์ภาพ topless ขณะอาบแดดในบ้านหลายปีก่อนได้ไหม เขาฟ้องด้วยกม.หมิ่นประมาทเหมือนคนทั่วไป ไม่ใช่กม. #หมิ่นประมาทกษัตริย์ เพราะสถาบันกษัตริย์ของเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนความกลัว ไม่ต้องพูดว่าการใช้ความกลัวบังคับคนอื่น มันขัดหลักสิทธิมนุษยชน ยังไงก็ฟ้องไม่ชนะ
เข้าใจคนที่กลัวลูกโป่ง และเข้าใจคนที่อยากเอาลูกโป่งเข้าไปในงานด้วย แต่เราคงต้องตั้งคำถามและวิจารณ์กับเป้าหมายใหญ่ของเรา ไม่ใช่พวกเดียวกันเอง