ประชาไท Prachatai.com
2h
1.50 น ผู้สื่อข่าวตรวจสอบป้ายชื่อ "สะพานพิบูลสงคราม" (ภาพบน) ใกล้แยกเกียกกาย (รัฐสภา) พบเปลี่ยนชื่อเป็น "สะพานท่าราบ" พร้อม พ.ศ.2565 (ภาพล่าง)
สำหรับ 'ท่าราบ' นั้น พ้องกับนามสกุลของ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม “ดิ่น ท่าราบ" แกนนำกบฏบวรเดชเมื่อปี 2476 ที่พยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นพ่อของ อัมโภชน์ ท่าราบ มารดา ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานท์ องคมนตรี
เมื่อ ต.ค.62 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นประธานพิธีเปิดห้องศรีสิทธิสงคราม และห้องบวรเดช ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ โดยระบุว่าเป็นชื่อของนายทหารผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน
.....
สถานีรถไฟหินลับ
จุดสิ้นชีวิต พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) กบฏบวรเดช สถานีรถไฟหินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
จุดสิ้นชีวิต พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) กบฏบวรเดช สถานีรถไฟหินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
Aug 2, 2018
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
จุดสิ้นชีวิมาตามรอยรถไฟสายสงครามกลางเมืองครั้งแรกของประเทศไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2476 ต้นกำเนิดความคิดทางการเมืองเสื้อแดงเสื้อเหลือง ภาพกบฏบวรเดช ของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 ถึงจุดสิ้นชีวิตของพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) นายทหารเสนาธิการฝั่งคณะเจ้า ท่านเป็นนักเรียนนายร้อยเยอรมนี เป็นเพื่อนรักของพลเอกพระยาพหลฯ และ พันเอกพระยาทรงสุรเดช ซึ่งทั้งสามเป็นนักเรียนนายร้อยเยอรมนีด้วยกัน แต่ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองทำให้เพื่อนรัก พลเอกพระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะราษฎร ต้องต่อสู้ไล่ล่าเพื่อนรัก พันเอกพระยาศรีซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้าม
จุดที่สิ้นชีพของพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามใกล้สถานีรถไฟบ้านหินลับ มีป้ายปักบอกตำแหน่งไว้เป็นบอกแต่ในการเรียนประวัติศาสตร์ไทยในระบบกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มีการเรียนการสอนเรื่องสงครามกลางเมืองของไทย เหมือนกับสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1861-1865 ซึ่งอยู่ในสมัยของประธานาธิบดี อับราฮัม ลิงคอร์น
ผมได้ไปแนวทางการการสืบค้นจากหนังสือ เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ เขียนโดย นายหนหวย ถึงตอนที่พันเอกพระยาศรีฯ ถูกยิงที่สถานีรถไฟบ้านหินลับ 23 ตุลาคม 2476
หมายเหตุ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นคุณตาของ ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี
การทำคลิปขึนมาเพื่อวัตุประสงค์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองการสร้างประชาธิปไตยของประเทศไทย มิได้มีเจตนาลบหลู่ ซึ่งเหตุการณ์ก็ได้ผ่านไปแล้วและทั้งหมดก็เป็นเหมือนละครบทหนึ่งของชีวิตที่ได้สอนใจผู้อ่านและผู้ชม ขอบคุณเจ้าหน้าที่การรถไฟ สถานีบ้านหินลับที่พาไปดูสถานที่ครับ
บันทึก พฤหัสบดี 2 สิงหาคม 2561
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
จุดสิ้นชีวิมาตามรอยรถไฟสายสงครามกลางเมืองครั้งแรกของประเทศไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2476 ต้นกำเนิดความคิดทางการเมืองเสื้อแดงเสื้อเหลือง ภาพกบฏบวรเดช ของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 ถึงจุดสิ้นชีวิตของพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) นายทหารเสนาธิการฝั่งคณะเจ้า ท่านเป็นนักเรียนนายร้อยเยอรมนี เป็นเพื่อนรักของพลเอกพระยาพหลฯ และ พันเอกพระยาทรงสุรเดช ซึ่งทั้งสามเป็นนักเรียนนายร้อยเยอรมนีด้วยกัน แต่ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองทำให้เพื่อนรัก พลเอกพระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะราษฎร ต้องต่อสู้ไล่ล่าเพื่อนรัก พันเอกพระยาศรีซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้าม
จุดที่สิ้นชีพของพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามใกล้สถานีรถไฟบ้านหินลับ มีป้ายปักบอกตำแหน่งไว้เป็นบอกแต่ในการเรียนประวัติศาสตร์ไทยในระบบกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มีการเรียนการสอนเรื่องสงครามกลางเมืองของไทย เหมือนกับสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1861-1865 ซึ่งอยู่ในสมัยของประธานาธิบดี อับราฮัม ลิงคอร์น
ผมได้ไปแนวทางการการสืบค้นจากหนังสือ เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ เขียนโดย นายหนหวย ถึงตอนที่พันเอกพระยาศรีฯ ถูกยิงที่สถานีรถไฟบ้านหินลับ 23 ตุลาคม 2476
หมายเหตุ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นคุณตาของ ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี
การทำคลิปขึนมาเพื่อวัตุประสงค์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองการสร้างประชาธิปไตยของประเทศไทย มิได้มีเจตนาลบหลู่ ซึ่งเหตุการณ์ก็ได้ผ่านไปแล้วและทั้งหมดก็เป็นเหมือนละครบทหนึ่งของชีวิตที่ได้สอนใจผู้อ่านและผู้ชม ขอบคุณเจ้าหน้าที่การรถไฟ สถานีบ้านหินลับที่พาไปดูสถานที่ครับ
บันทึก พฤหัสบดี 2 สิงหาคม 2561
ชีพธรรม คำวิเศษณ์