วันศุกร์, มิถุนายน 17, 2565
"แจกกัญชา 2 ต้นต่อครัวเรือน" โครงการส่งเสริม สนับสนุน การปลูกกัญชา 1 ล้านต้น มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง
"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
12h
ขอเคลียร์ๆอีกที , เมื่อรัฐเริ่มนโยบายแจกกัญชาบ้านละ 2 ต้น รวมแล้วแสนครัวเรือน "เพื่อรองรับประโยชน์ในครัวเรือนและการแพทย์"
ประเด็นคือ นี่คือการส่งกัญชาถึงบ้าน ไม่ใช่ชาวบ้านมารพ.เพื่อหาหมอปรึกษาคลินิกกัญชา
ดังนั้นเวลาคนจะใช้ เค้าอาจเด็ดผสมชงใช้เองเลย ไม่ได้ปรึกษาหมอเสมอไป
เราควรผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขแถลง'กรณีกัญชาการแพทย์'
เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนไม่เอาไปใช้ผิดๆ
====
รู้ว่ามีหลายราชวิทยาลัยเคยแถลงแล้วว่าใช้ได้ในโรคอะไรบ้าง แต่ชาวบ้านคงไม่ได้อ่านประกาศราชวิทยาลัยซักเท่าไหร่
ในเมื่อการแจกกัญชาไปตามบ้าน เป็นนโยบายสาธารณะของรัฐ
เมื่อรัฐมองว่ามีประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ ชั่งน้ำหนักแล้วมีคุณมากกว่าโทษในเชิง ‘การแพทย์’
สธ. จึงควรประกาศสาธารณะ บอกมาเลยมีกี่โรคที่ใช้กัญชาได้ เอาตามหลักฐานวิจัยทางการแพทย์ที่ได้ตีพิมพ์ มี methodology ได้การยอมรับ ไม่ใช่งานวิจัยที่ระดับความน่าเชื่อถือต่ำ
สธ.แถลงเลยว่า โรคนี้ อาการนี้ ควรใช้กัญชา , บ้านไหนเป็น ก็เอากัญชาที่ปลูกมาใช้ได้
และวิธีใช้คือใช้ยังไง (กรณีนี้อาจทิ้งเบอร์โทรของกระทรวงก็ได้ ถ้าวิธีใช้ซับซ้อน)
ไม่งั้นเดี๋ยวจะเห็นข่าวบ้านนี้ใช้กัญชามาชงเพื่อให้นอนหลับตามคำแนะนำของเฮียเอก , อีกบ้านไม่อยากกินยากลัวไตพัง เลยเอากัญชามารักษาเบาหวาน, บ้านโน้นบอกว่ากัญชารักษาซึมเศร้าได้เพราะอ่านเจอมา , บ้านข้างๆเจอหมอคนนึงแนะนำว่าออทิสติกกินกัญชาดี ก็เอามาบดให้เด็กเคี้ยว ฯลฯ
====
ส่วนตัวมองว่าการเปิดเสรีกัญชา แบบเสรีมากๆ แล้วชูประเด็น ‘กัญชาการแพทย์’ น่าเป็นห่วงกว่า ‘กัญชาสันทนาการ’
เชิงสันทนาการ , ถ้าให้ความรู้ที่มากพอ ก็เหมือนคนใช้เหล้า ใช้บุหรี่ คือคนใช้รู้อยู่แล้วว่าข้อดีคืออะไร ใช้ไปแล้วเสี่ยงอะไร คนส่วนใหญ่รู้ทั้งนั้นแหละว่าดื่มเหล้ามากแล้วตับแข็ง สูบบุหรี่เยอะแล้วถุงลมโป่งพอง ฯลฯ แต่คือเสรีที่เขาจะเลือกใช้ (ภายใต้กฎหมายอีกชั้นที่ควบคุม)
ถ้าผิดกฎหมาย ก็มีกฎหมายจัดการ
แต่ถ้าเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ใช้แล้วเสพติด ใช้แล้วหลอน , คือปัญหาที่เจ้าตัวเป็นผู้เลือกใช้เอง เลือกยอมรับผลเอง
===========
แต่การอ้างเชิงการแพทย์
ที่ให้ประชาชนใช้เชิงการแพทย์เองที่บ้าน
=============
คนที่เลือกใช้ ถ้าไม่มีข้อมูลมากพอ
- หลงเข้าใจผิดว่ามีประโยชน์ระดับ A แต่จริงๆแล้ว ‘ประโยชน์ไม่ได้ดีจริงตามที่เข้าใจ หรือประโยชน์ยังน่าเชื่อถือแค่เกรด D หรือไม่มีประโยชน์กับโรคนั้นๆเลย ที่ดีก็แค่ placebo effect ’
- ยินยอม ‘เสี่ยงอันตราย’ แต่เข้าใจความเสี่ยงผิดๆ คือนึกว่าปลอดภัยเกินกว่าโทษจริงของกัญชา
คนใช้กัญชาการแพทย์ก็จะชั่งน้ำหนัก risk/benefit ผิด แล้วจะซวยกว่าคนที่ใช้เชิงสันทนาการ
เสี่ยงใช้หวังมีประโยชน์ , ใช้เพื่อหวังบำบัดโรค , ใช้อย่างมั่นใจปลอดภัย
แต่สุดท้ายโรคเก่าไม่หาย แล้วอาจได้โรคใหม่เพิ่มขึ้นมา
==
ปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ตัวกัญชา
ปัญหาก็ไม่ได้อยู่ที่นโยบายกัญชาเสรี
ปัญหาอยู่ที่ความตรงไปตรงมา + มาตรการรองรับ
จะเปิดเสรีเพื่อเน้นเศรษฐกิจกับสันทนาการ ก็เปิดเลย พร้อมนโยบายกับกฎหมายรองรับ เช่น โซนไหนใช้ได้ แต่ละบ้านที่จะปลูกต้องเข้ามาลงทะเบียน มีการตรวจสอบ ควบคุมการโฆษณาตาเยิ้มยิ้มหวานหน้าบ้าน จำกัดอายุ ฯลฯ
ในแง่เศรษฐกิจ ถ้าชั่งน้ำหนักว่าเปิดเสรี มีประโยชน์คุ้มมากกว่าโทษก็ว่ากันได้ หลายๆประเทศก็ทำกัน
====
แต่ถ้ายก ‘กัญชาการแพทย์’
ก็ควรมี consensus ชัดเจนว่า สาธารณสุขประเทศไทยจะใช้กัญชาสำหรับรักษาโรคอะไรบ้าง
แต่ก่อนใช้ในรพ. หมอในคลินิกกัญชาต้องรู้ แต่ถ้าเปิดแบบส่งตามบ้าน ประชาชนก็ต้องรู้ในระดับเดียวกัน
ควรยึดเกณฑ์ใช้ตามหลักการแพทย์ เหมือนกับหลักสูตรแพทย์ที่เรียนมา
- เราไม่จ่ายยาเพียงเพราะหมอคนนั้น คนนี้บอกว่าดี
- เราไม่จ่ายยาเพียงเพราะการทดลองหรือวิจัยที่ได้ผลบวก แต่ไม่มี peer review ไม่มี methodology มาตรฐาน
- เราไม่จ่ายยาเพียงประสบการณ์ว่าเคยใช้แล้วดี ก็เลยบอกว่า งั้นลองใช้ได้เลย
วิธีจ่ายยาแบบข้างต้นคือชาวบ้านใช้กัน
แต่เมื่อมาจากแพทย์ก็ควรยึดตามมาตรฐานหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีหลักฐานหนักแน่นพอ
- ให้ความรู้ชัดเจนว่ารักษาโรคอะไร ใช้อย่างไร ข้างเคียงคืออะไร ฯลฯ
- มุ่งเน้นมารักษาโดยผ่านคำแนะนำของหมอมากกว่าจะใช้เองตามบ้าน
====
สายน้ำเส้นนี้ไม่ไหลกลับแล้ว สิ่งที่ทำตอนนี้ได้ดีที่สุดคือควบคุมผลที่กำลังจะตามมาให้เสียหายน้อยสุด เกิดประโยชน์สูงสุด
เพราะการปล่อยทิ้งทำเบลอ ทำเนียนในระยะยาว ไม่ชี้ชัดเรื่องการแพทย์ จะสร้างความเข้าใจผิดแบบส่งต่อๆกันไป
จะกลายเป็นกัญชารักษาได้ทุกโรคเหมือนที่หลายคนแซวกัน