ยกเลิกมาตรา 112 เสียงที่ดังขึ้นทุกขณะ
ความเคลื่อนไหว 112 เมื่อกว่า 1 ทศวรรษที่แล้ว
ความพยายามแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ใช่เพิ่งเกิดในยุคนี้ แต่มีมาตั้งปี 2551 เป็นอย่างน้อย เวลานั้นสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟได้ออกแถลงการณ์ ‘การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ’ โดยในข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปศาลมีข้อเสนอให้ ‘ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังและคลั่งชาติ’
นักศึกษา-แรงงาน เสนอการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระจาก "พันธมิตร" ปฏิรูปเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ
"ใจ อึ๊งภากรณ์" เผยประชาชน 1,000 กว่าคนร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก "ยกเลิกกฎหมายหมิ่น"
เปิดตัว 'เครือข่ายประชาธิปไตย' เดินเครื่องกิจกรรมยกเลิก ม.112-คืนเสรีภาพผู้ต้องโทษ กม.หมิ่นฯ
ปี 2552 ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการรวบรวมรายชื่อได้ประมาณ 1,000 กว่ารายชื่อเพื่อให้ยกเลิกมาตรา 112
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (แฟ้มภาพ)
ต้นปี 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็เสนอ ‘ข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์’ ประกอบด้วย
1. ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เพิ่มมาตราในลักษณะเดียวกับรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 (สภาพิจารณาความผิดของกษัตริย์)
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
3. ยกเลิกองคมนตรี
4. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491
5. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์ การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันทั้งหมด
6. ยกเลิกพระราชอำนาจ ในการแสดงความเห็นทางการเมืองทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในเรื่องโครงการหลวงทั้งหมด
8. ยกเลิกการบริจาค/รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด
ล่วงเลยถึงช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2554 เครือข่ายประชาธิปไตย หรือ คปต. และ กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ก็เคลื่อนไหวรวบรวมรายชื่อให้มีการยกเลิกมาตรา 112 อีกครั้ง
ปี 2555 มีการก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ขึ้น นำโดยนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่ทำการศึกษาและเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 โดยมีประชาชนร่วมลงชื่อด้วยจำนวน 26,968 รายชื่อ
ข้อเรียกร้อง ณ เวลานั้นคือ 1. ลดอัตราโทษลง เนื่องจากมีอัตราโทษที่สูงเกินไป 2. นำออกจากหมวดว่าด้วยความมั่นคงและให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องแทนที่จะเป็นใครก็ได้ และ 3. แยกความผิดเกี่ยวกับมาตรานี้ออกจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต
นอกจากนี้ ก่อนหน้า ครก.112 กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ธีระ สุธีวรางกูร สาวตรี สุขศรี และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ก็มีข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เช่นกัน
29 พฤษภาคม 2555 ครก.112 ได้นำรายชื่อยื่นแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภา ผลก็คือถูกตีตกตั้งแต่ยังไม่เข้าสภาและเงียบหายไปในที่สุด
ยกเลิก 112 เสียงที่ดังขึ้นทุกขณะ
เทียบกับปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่าประเด็นมาตรา 112 ขยับไปไกลกว่าเมื่อ 10 กว่าปีก่อนมาก การยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ในอดีตไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสาธารณะ ผิดกับปัจจุบันที่การเรียกร้องขยายตัว ปรากฏชัด และถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อตรวจสอบการลงชื่อให้ยกเลิกมาตรา 112 ทางเว็บไซต์ no112.org ณ วันที่ 5 มกราคม 2565 พบว่ามีผู้ลงรายชื่อถึง 237,589 รายชื่อ
นอกจากนี้ ยังมีพรรคการเมืองในสภา อย่างพรรคก้าวไกลที่เสนอให้แก้ไข มาตรา 112 ซึ่งเดิมทีไม่เคยมีพรรคการเมืองใดกล้าแตะมาก่อน ด้านพรรคกล้าที่มีจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112 ก็เสนอให้ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองคดี 112 แทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล
ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกฟ้องโดยมาตรา 112 ก็สูงขึ้นมากอย่างแทบไม่เคยปรากฏ นับตั้งแต่เริ่มมีการเผยแพร่รายชื่อผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 พฤษจิกายน 2563 ถึง 3 มกราคม 2565 ซึ่งรวบรวมโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 166 คน ใน 171 คดี
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (แฟ้มภาพ)
ในหลายคดีทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมจึงเข้าข่ายมาตรา 112 มุมมองของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในผู้ร่วมลงนามให้แก้ไข มาตรา 112 กับ ครก.112 เมื่อ 10 ปีก่อน เห็นว่ามันมีการขยายขอบเขตออกไปจนเลยกรอบกฎหมาย
“ผมมองว่าเป็นความแตกต่างทางด้านนโยบายระดับสูง เมื่อ 10 ปีที่แล้วในยุค ครก.112 ผมเข้าใจว่ายังไม่มีนโยบายในระดับสูงที่กำหนดท่าทีที่ชัดเจนต่อเรื่องนี้ คือนี้เรื่องขึ้นมาทีหนึ่งก็ว่ากันไปทีหนึ่ง ยังไม่มีแนวทางรวมเป็นหลักและยังไม่มีการประสานร่วมมือกันระหว่างส่วนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เนื่องจากในยุคนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ยังไม่กว้างขวาง แต่ทุกวันนี้จะเห็นได้ชัดว่ามีแนวทางที่ชัดเจนจากการเมืองระดับสูงเข้ามากำหนดว่าถ้าเป็นเรื่องแบบนี้คดีแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างนี้”
อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือมีการใช้มาตรา 112 กระทั่งเลยขอบเขตกฎหมาย พิชิตเรียกว่ามีลักษณะเหวี่ยงแห
“ในปัจจุบันการใช้มาตรา 112 เห็นได้ชัดเจนว่ามีการขยายขอบข่ายออกไปไกลมาก การแต่งกายบางอย่างซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่าส่อเจตนาอะไรก็เข้าข่ายแล้ว อย่างเช่นคนหนึ่งที่แต่งชุดไทยไปในม็อบก็ถูกมาตรา 112 ซึ่งเราไม่เข้าใจว่าโดนเข้าไปได้อย่างไร ให้ประกันบ้าง ไม่ให้ประกันบ้าง”
สถานะกษัตริย์กับประชาธิปไตย ผลักประเด็น 112 ขยายวง
“สถานการณ์ตอนนั้นกับตอนนี้ต่างกันมาก เพราะเมื่อ 10 ปีก่อนมันอยู่ในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่แล้ว ปัญหาการใช้กฎหมายมาตรา 112 อย่างกว้างขวางก็ยังไม่มากถึงขนาดนี้” พิชิต กล่าว “ในช่วงนั้นมีคดีดังๆ อยู่หลายคดี คดีที่ดังมากๆ และมีผลกระทบอย่างมากคือคดีของอากง (อำพล ตั้งนพกุล) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความเอสเอ็มเอส แล้วในที่สุดก็เสียชีวิตในคุกซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างมากในทางการเมืองทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ แต่ก็ยังไม่กว้างเท่ากับทุกวันนี้”
อีกทั้งการเคลื่อนไหวในยุค ครก.112 แม้จะมีแรงต่อต้าน แต่ก็ไม่ถือว่ารุนแรงมากเท่ากับปัจจุบัน เนื่องจากเวลานั้นอยู่ในยุคของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและไม่มีการใช้กฎหมายพิเศษ ผิดกับปัจจุบันที่รุนแรงกว่า ซึ่งอาจพูดได้ว่าเป็นปฏิกิริยาโต้กลับไปมาระหว่างกลุ่มที่ต้องการให้ยกเลิกและกลุ่มที่ต้องการให้คงไว้โดยไม่แก้ไขใดๆ
พิชิตวิเคราะห์ว่ากระแสการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 เวลานี้แตกต่างจากในอดีต เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นรัชสมัย การเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงสองสามปีที่ผลักเพดานการพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อีกทั้งประเด็นการถกเถียงก็วนเวียนถึงที่ทางและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นผลจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏให้เห็น ช่วยไม่ได้ที่ มาตรา 112 จะกลายเป็นประเด็นสาธารณะ
“ความคิดที่ต้องการตีกรอบขีดเส้นให้ชัดเจนมันก่อให้เกิดการถกเถียงและการตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมเป็นเวลาห้าสิบปีหกสิบปีก็จะรู้สึกว่าการตั้งคำถามหรือการเรียกร้องการเสนอให้ตีกรอบ มันเป็นการคุกคาม เป็นภัย เป็นหนทางที่นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพตามแต่ที่เขาจะคิด มันก็เกิดแรงโต้กลับ อาวุธหนึ่งที่หยิบมาใช้ก็คือมาตรา 112 คือมองว่าการถกเถียงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ไม่ใช่การถกเถียงเพื่อหาทางออก
“แต่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการท้าทาย มีความต้องการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เมื่อเกิดความรู้สึกความเข้าใจหรือความเชื่อแบบนี้ขึ้นมา การจะมานั่งถกเถียงกันด้วยเหตุด้วยผลมันก็ยาก เพราะคนที่ไม่ยอมรับฟังจะรู้สึกว่าสิ่งที่เสนอมาคือภัยคุกคาม มันจึงเกิดสถานการณ์อย่างที่เราเจอในทุกวันนี้”
ยกเลิก 112 ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผล
ในส่วนของพรรคการเมือง พิชิตแสดงทัศนะว่าพรรคการเมืองที่มีท่าทีเข้าใกล้เรื่องนี้มากที่สุดคือพรรคก้าวไกล ส่วนการแสดงท่าทีของพรรคเพื่อไทยที่ปรากฏออกมาครั้งหนึ่งนั้นไม่มีความหมาย เขากล่าวว่า
“ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ท่าทีของพรรคเพื่อไทยไม่เคยเปลี่ยนคือจะไม่แตะสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพเด็ดขาด งบประมาณกองทัพเขาก็ไม่เคยแตะต้อง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์หรือกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นจุดยืนที่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วเป็นจุดยืนของเถ้าแก่เจ้าของพรรคซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ที่ตรงนี้ คือจะต้องประสานผลประโยชน์และความสัมพันธ์กับสถาบันและกองทัพให้จงได้ ส่วนแถลงการที่ออกมาและฮือฮากันอยู่วันเดียวถ้ากลับไปอ่านให้ดีจากวันนี้ เขาบอกแต่เพียงว่าจะพิจารณาเรื่องนี้ ไม่ได้บอกเลยว่าจะร่วมมือแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งหลังจากนั้นไม่กี่วันคุณโทนี่ (ทักษิณ ชินวัตร) ก็ออกมาเบรก หลังจากนั้นพรรคเพื่อไทยก็เงียบไปเลย”
ถึงสถานการณ์ที่แวดล้อมมาตรา 112 จะมาไกลกว่าเมื่อ 10 กว่าปีก่อนมาก แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เพราะข้อเท็จจริงหนึ่งที่เห็นได้คือตัวเลขการลงชื่อในเว็บไซต์ no112.org ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกก็เริ่มนิ่งอยู่ที่ตัวเลข 2 แสนกว่ามาพักใหญ่ๆ แล้ว
อย่างไรก็ตาม พิชิต กล่าวว่า
“การรับรู้ของคน การตั้งคำถามมันมาถึงจุดนี้ ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะพยายามห้าม ปิดกั้นอย่างไรก็ทำไม่ได้ เขื่อนมันพังทลายแล้ว ฝ้าเพดานมันถูกรื้อออกแล้ว มีแต่ทำยังไงไม่ให้การรับรู้ที่เกิดขึ้นกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงจริง”
2022-01-06
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน
ประชาไท
มีความพยายามเมื่อ 10 กว่าปีก่อนของหลายองค์กรเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 แต่ก็เงียบหายไป ปัจจุบัน เสียงเรียกร้องที่ดังขึ้นทุกขณะค่อนไปทางให้ยกเลิก พลวัตของความเปลี่ยนแปลงนี้มีที่มาหลายปัจจัย ทั้งจำนวนคดี การชุมนุมทางการเมือง และสถานะของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน
ประชาไท
มีความพยายามเมื่อ 10 กว่าปีก่อนของหลายองค์กรเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 แต่ก็เงียบหายไป ปัจจุบัน เสียงเรียกร้องที่ดังขึ้นทุกขณะค่อนไปทางให้ยกเลิก พลวัตของความเปลี่ยนแปลงนี้มีที่มาหลายปัจจัย ทั้งจำนวนคดี การชุมนุมทางการเมือง และสถานะของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ภาพการชุมนุมคณะราษฎรยกเลิกมาตรา 112 เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.64 ที่แยกราชประสงค์
การเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2564 เริ่มซาลงเมื่อเข้าสู่ปลายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาพที่ปรากฏในสื่อเป็นการเคลื่อนไหวขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะการชูป้ายแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ
จากข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่ปรากฏในการชุมนุมทางการเมืองก่อนหน้านี้ซึ่งประกอบด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องให้ประยุทธ์ จันทร์โอชาลาออกจากตำแหน่ง และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จึงพลอยเบาลงไป ถึงกระนั้นข้อเรียกร้องที่ยังคงเห็นบ่อยครั้งและเป็นสัญญาณที่น่าสนใจคือการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112
การเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2564 เริ่มซาลงเมื่อเข้าสู่ปลายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาพที่ปรากฏในสื่อเป็นการเคลื่อนไหวขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะการชูป้ายแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ
จากข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่ปรากฏในการชุมนุมทางการเมืองก่อนหน้านี้ซึ่งประกอบด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องให้ประยุทธ์ จันทร์โอชาลาออกจากตำแหน่ง และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จึงพลอยเบาลงไป ถึงกระนั้นข้อเรียกร้องที่ยังคงเห็นบ่อยครั้งและเป็นสัญญาณที่น่าสนใจคือการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112
ความเคลื่อนไหว 112 เมื่อกว่า 1 ทศวรรษที่แล้ว
ความพยายามแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ใช่เพิ่งเกิดในยุคนี้ แต่มีมาตั้งปี 2551 เป็นอย่างน้อย เวลานั้นสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟได้ออกแถลงการณ์ ‘การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ’ โดยในข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปศาลมีข้อเสนอให้ ‘ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังและคลั่งชาติ’
นักศึกษา-แรงงาน เสนอการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระจาก "พันธมิตร" ปฏิรูปเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ
"ใจ อึ๊งภากรณ์" เผยประชาชน 1,000 กว่าคนร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก "ยกเลิกกฎหมายหมิ่น"
เปิดตัว 'เครือข่ายประชาธิปไตย' เดินเครื่องกิจกรรมยกเลิก ม.112-คืนเสรีภาพผู้ต้องโทษ กม.หมิ่นฯ
ปี 2552 ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการรวบรวมรายชื่อได้ประมาณ 1,000 กว่ารายชื่อเพื่อให้ยกเลิกมาตรา 112
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (แฟ้มภาพ)
ต้นปี 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็เสนอ ‘ข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์’ ประกอบด้วย
1. ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เพิ่มมาตราในลักษณะเดียวกับรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 (สภาพิจารณาความผิดของกษัตริย์)
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
3. ยกเลิกองคมนตรี
4. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491
5. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์ การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันทั้งหมด
6. ยกเลิกพระราชอำนาจ ในการแสดงความเห็นทางการเมืองทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในเรื่องโครงการหลวงทั้งหมด
8. ยกเลิกการบริจาค/รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด
ล่วงเลยถึงช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2554 เครือข่ายประชาธิปไตย หรือ คปต. และ กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ก็เคลื่อนไหวรวบรวมรายชื่อให้มีการยกเลิกมาตรา 112 อีกครั้ง
ปี 2555 มีการก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ขึ้น นำโดยนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่ทำการศึกษาและเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 โดยมีประชาชนร่วมลงชื่อด้วยจำนวน 26,968 รายชื่อ
ข้อเรียกร้อง ณ เวลานั้นคือ 1. ลดอัตราโทษลง เนื่องจากมีอัตราโทษที่สูงเกินไป 2. นำออกจากหมวดว่าด้วยความมั่นคงและให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องแทนที่จะเป็นใครก็ได้ และ 3. แยกความผิดเกี่ยวกับมาตรานี้ออกจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต
นอกจากนี้ ก่อนหน้า ครก.112 กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ธีระ สุธีวรางกูร สาวตรี สุขศรี และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ก็มีข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เช่นกัน
29 พฤษภาคม 2555 ครก.112 ได้นำรายชื่อยื่นแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภา ผลก็คือถูกตีตกตั้งแต่ยังไม่เข้าสภาและเงียบหายไปในที่สุด
ยกเลิก 112 เสียงที่ดังขึ้นทุกขณะ
เทียบกับปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่าประเด็นมาตรา 112 ขยับไปไกลกว่าเมื่อ 10 กว่าปีก่อนมาก การยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ในอดีตไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสาธารณะ ผิดกับปัจจุบันที่การเรียกร้องขยายตัว ปรากฏชัด และถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อตรวจสอบการลงชื่อให้ยกเลิกมาตรา 112 ทางเว็บไซต์ no112.org ณ วันที่ 5 มกราคม 2565 พบว่ามีผู้ลงรายชื่อถึง 237,589 รายชื่อ
นอกจากนี้ ยังมีพรรคการเมืองในสภา อย่างพรรคก้าวไกลที่เสนอให้แก้ไข มาตรา 112 ซึ่งเดิมทีไม่เคยมีพรรคการเมืองใดกล้าแตะมาก่อน ด้านพรรคกล้าที่มีจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112 ก็เสนอให้ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองคดี 112 แทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล
ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ถูกฟ้องโดยมาตรา 112 ก็สูงขึ้นมากอย่างแทบไม่เคยปรากฏ นับตั้งแต่เริ่มมีการเผยแพร่รายชื่อผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 พฤษจิกายน 2563 ถึง 3 มกราคม 2565 ซึ่งรวบรวมโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 166 คน ใน 171 คดี
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (แฟ้มภาพ)
ในหลายคดีทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมจึงเข้าข่ายมาตรา 112 มุมมองของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในผู้ร่วมลงนามให้แก้ไข มาตรา 112 กับ ครก.112 เมื่อ 10 ปีก่อน เห็นว่ามันมีการขยายขอบเขตออกไปจนเลยกรอบกฎหมาย
“ผมมองว่าเป็นความแตกต่างทางด้านนโยบายระดับสูง เมื่อ 10 ปีที่แล้วในยุค ครก.112 ผมเข้าใจว่ายังไม่มีนโยบายในระดับสูงที่กำหนดท่าทีที่ชัดเจนต่อเรื่องนี้ คือนี้เรื่องขึ้นมาทีหนึ่งก็ว่ากันไปทีหนึ่ง ยังไม่มีแนวทางรวมเป็นหลักและยังไม่มีการประสานร่วมมือกันระหว่างส่วนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เนื่องจากในยุคนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ยังไม่กว้างขวาง แต่ทุกวันนี้จะเห็นได้ชัดว่ามีแนวทางที่ชัดเจนจากการเมืองระดับสูงเข้ามากำหนดว่าถ้าเป็นเรื่องแบบนี้คดีแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างนี้”
อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือมีการใช้มาตรา 112 กระทั่งเลยขอบเขตกฎหมาย พิชิตเรียกว่ามีลักษณะเหวี่ยงแห
“ในปัจจุบันการใช้มาตรา 112 เห็นได้ชัดเจนว่ามีการขยายขอบข่ายออกไปไกลมาก การแต่งกายบางอย่างซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่าส่อเจตนาอะไรก็เข้าข่ายแล้ว อย่างเช่นคนหนึ่งที่แต่งชุดไทยไปในม็อบก็ถูกมาตรา 112 ซึ่งเราไม่เข้าใจว่าโดนเข้าไปได้อย่างไร ให้ประกันบ้าง ไม่ให้ประกันบ้าง”
สถานะกษัตริย์กับประชาธิปไตย ผลักประเด็น 112 ขยายวง
“สถานการณ์ตอนนั้นกับตอนนี้ต่างกันมาก เพราะเมื่อ 10 ปีก่อนมันอยู่ในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่แล้ว ปัญหาการใช้กฎหมายมาตรา 112 อย่างกว้างขวางก็ยังไม่มากถึงขนาดนี้” พิชิต กล่าว “ในช่วงนั้นมีคดีดังๆ อยู่หลายคดี คดีที่ดังมากๆ และมีผลกระทบอย่างมากคือคดีของอากง (อำพล ตั้งนพกุล) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความเอสเอ็มเอส แล้วในที่สุดก็เสียชีวิตในคุกซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างมากในทางการเมืองทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ แต่ก็ยังไม่กว้างเท่ากับทุกวันนี้”
อีกทั้งการเคลื่อนไหวในยุค ครก.112 แม้จะมีแรงต่อต้าน แต่ก็ไม่ถือว่ารุนแรงมากเท่ากับปัจจุบัน เนื่องจากเวลานั้นอยู่ในยุคของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและไม่มีการใช้กฎหมายพิเศษ ผิดกับปัจจุบันที่รุนแรงกว่า ซึ่งอาจพูดได้ว่าเป็นปฏิกิริยาโต้กลับไปมาระหว่างกลุ่มที่ต้องการให้ยกเลิกและกลุ่มที่ต้องการให้คงไว้โดยไม่แก้ไขใดๆ
พิชิตวิเคราะห์ว่ากระแสการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 เวลานี้แตกต่างจากในอดีต เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นรัชสมัย การเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงสองสามปีที่ผลักเพดานการพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อีกทั้งประเด็นการถกเถียงก็วนเวียนถึงที่ทางและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นผลจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏให้เห็น ช่วยไม่ได้ที่ มาตรา 112 จะกลายเป็นประเด็นสาธารณะ
“ความคิดที่ต้องการตีกรอบขีดเส้นให้ชัดเจนมันก่อให้เกิดการถกเถียงและการตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมเป็นเวลาห้าสิบปีหกสิบปีก็จะรู้สึกว่าการตั้งคำถามหรือการเรียกร้องการเสนอให้ตีกรอบ มันเป็นการคุกคาม เป็นภัย เป็นหนทางที่นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพตามแต่ที่เขาจะคิด มันก็เกิดแรงโต้กลับ อาวุธหนึ่งที่หยิบมาใช้ก็คือมาตรา 112 คือมองว่าการถกเถียงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ไม่ใช่การถกเถียงเพื่อหาทางออก
“แต่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการท้าทาย มีความต้องการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เมื่อเกิดความรู้สึกความเข้าใจหรือความเชื่อแบบนี้ขึ้นมา การจะมานั่งถกเถียงกันด้วยเหตุด้วยผลมันก็ยาก เพราะคนที่ไม่ยอมรับฟังจะรู้สึกว่าสิ่งที่เสนอมาคือภัยคุกคาม มันจึงเกิดสถานการณ์อย่างที่เราเจอในทุกวันนี้”
ยกเลิก 112 ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผล
ในส่วนของพรรคการเมือง พิชิตแสดงทัศนะว่าพรรคการเมืองที่มีท่าทีเข้าใกล้เรื่องนี้มากที่สุดคือพรรคก้าวไกล ส่วนการแสดงท่าทีของพรรคเพื่อไทยที่ปรากฏออกมาครั้งหนึ่งนั้นไม่มีความหมาย เขากล่าวว่า
“ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ท่าทีของพรรคเพื่อไทยไม่เคยเปลี่ยนคือจะไม่แตะสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพเด็ดขาด งบประมาณกองทัพเขาก็ไม่เคยแตะต้อง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์หรือกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นจุดยืนที่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วเป็นจุดยืนของเถ้าแก่เจ้าของพรรคซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ที่ตรงนี้ คือจะต้องประสานผลประโยชน์และความสัมพันธ์กับสถาบันและกองทัพให้จงได้ ส่วนแถลงการที่ออกมาและฮือฮากันอยู่วันเดียวถ้ากลับไปอ่านให้ดีจากวันนี้ เขาบอกแต่เพียงว่าจะพิจารณาเรื่องนี้ ไม่ได้บอกเลยว่าจะร่วมมือแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งหลังจากนั้นไม่กี่วันคุณโทนี่ (ทักษิณ ชินวัตร) ก็ออกมาเบรก หลังจากนั้นพรรคเพื่อไทยก็เงียบไปเลย”
ถึงสถานการณ์ที่แวดล้อมมาตรา 112 จะมาไกลกว่าเมื่อ 10 กว่าปีก่อนมาก แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เพราะข้อเท็จจริงหนึ่งที่เห็นได้คือตัวเลขการลงชื่อในเว็บไซต์ no112.org ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกก็เริ่มนิ่งอยู่ที่ตัวเลข 2 แสนกว่ามาพักใหญ่ๆ แล้ว
อย่างไรก็ตาม พิชิต กล่าวว่า
“การรับรู้ของคน การตั้งคำถามมันมาถึงจุดนี้ ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะพยายามห้าม ปิดกั้นอย่างไรก็ทำไม่ได้ เขื่อนมันพังทลายแล้ว ฝ้าเพดานมันถูกรื้อออกแล้ว มีแต่ทำยังไงไม่ให้การรับรู้ที่เกิดขึ้นกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงจริง”