เกรียงไกร เตชะโม่ง แรงงานไทยชาวลำปาง คนงานในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ช่วงที่เจ้าชายไฟซาลเสด็จไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ เมื่อเดือน ส.ค. 2532
ทำไม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้รับเชิญไปเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ แม้ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเหินห่างกันมากว่า 30 ปี เนื่องจาก 3 เรื่องอื้อฉาวที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ได้แก่ กรณีเพชรที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย, การฆาตกรรมนักการทูต และอุ้มฆ่านักธุรกิจ ที่เกิดขึ้นในไทย ในช่วงปี 2532-2533
ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำตอบเรื่องนี้ว่า เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายในของผู้นำซาอุดีอาระเบียรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้ "ติดใจ" กับเรื่องในอดีต และ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030" (Saudi Vision 2030) ที่ต้องการสานสัมพันธ์กับทุกประเทศในโลก
"ถึงแม้ว่าทางการซาอุดีอาระเบีย จะติดใจบลูไดมอนด์ แต่มันก็ไม่ได้เป็น ข้อผิดพลาดของรัฐบาลไทย อันนี้ประการแรก และผมคิดว่าตอนหลังทางการซาอุดีอาระเบีย ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก" ดร.ศราวุฒิ กล่าวกับบีบีซีไทย
เพชรซาอุฯ : 30 ปี ของ เกรียงไกร เตชะโม่ง จากวังสู่เรือนจำ แก้กรรมในวัดก่อนกลับมาใช้ชีวิตในบ้านเกิด
ราชวงศ์ซาอุฯ: สามเจ้าชายผู้หายสาบสูญ
กษัตริย์ซาอุฯ สั่งจับเจ้าชายหลังต้องสงสัยเป็นคนในคลิปทุบตีผู้คน
กษัตริย์ซาอุดีอาระเบียตั้งพระราชโอรสเป็นมกุฎราชกุมาร
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังทางการไทยและซาอุดีอาระเบีย ต่างแถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีกำหนดการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการระหว่าง 25-26 ม.ค. นี้ ตามคำเชิญของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีช อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม ซาอุดีอาระเบีย
การฟื้นความสัมพันธ์มีขึ้นในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มีใครรู้ว่า "บลูไดมอนด์" อัญมณีชิ้นสำคัญในคดีโจรกรรมเพชรซาอุฯ ไปตกอยู่กับใคร คดีฆาตกรรมนักการทูต และคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ผู้ต้องหานายตำรวจระดับสูงที่พัวพันถูกยกฟ้องไปแล้วเมื่อปี 2562
ในทัศนะของ ผอ. ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า กรณีอุ้มฆ่านักธุรกิจเชื้อสายราชวงศ์ ทำให้ทางการซาอุฯ ไม่พอใจ จนถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดิอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด
เรื่องในอดีตจะทำเป็นลืมเลยหรือเปล่า
ดร.ศราวุฒิ มองว่า ทั้ง 3 กรณีที่ เป็นปัญหาระหว่างซาอุดีอาระเบียกับไทย ในกรณีของเพชรซาอุฯ คนที่โจรกรรมในขณะนั้นก็เป็นแรงงานไทย ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล และมองว่ามันก็เป็นการหละหลวมของทางการซาอุฯ เองด้วย ที่ทำให้เกิดการโจรกรรมดังกล่าว
ส่วนการสังหารนักการทูตในไทย ดร.ศราวุฒิ กล่าวว่า ทางการซาอุฯ ก็เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับซาอุดีอาระเบียในปี 1987 ที่ลุกลามเข้ามาในไทย โดยต้นตอมาจากเหตุการณ์ที่ซาอุฯ ปราบผู้ชุมนุมในพิธีฮัจญ์ ทำให้คนอิหร่านที่เข้าไปทำพิธีฮัจญ์กว่า 200 คน เสียชีวิต หลังจากนั้นก็เกิดการแก้แค้นตอบโต้กันไปมาในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่ไทย
"เรื่องกรณีของการเสียชีวิตของนักการทูตเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ผมคิดว่าซาอุฯ เข้าใจเป็นอย่างดี แต่กรณีที่สำคัญที่สุด คือกรณีอุ้มฆ่า เขาติดใจมาก ๆ ทางซาอุฯ ไม่พอใจอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถทำอะไรได้แล้วในตอนนี้ เพราะว่า กรอบเวลาของการดำเนินคดี มันก็หมดไปเรียบร้อยแล้ว แล้วทางคนที่ถูกฟ้องก็ถูกยกฟ้องไปเรียบร้อย"
ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า ปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ ซาอุดีอาระเบีย มีผู้นำรุ่นใหม่นับตั้งแต่ปี 2015-2016 เป็นต้นมา เห็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการบริหารทางการเมืองของซาอุดีอาระเบียอย่างชัดเจน จากเดิมที่จะส่งมอบอำนาจให้กับผู้นำอาวุโสรุ่นเก่า
"คนรุ่นนี้ ผมเชื่อว่าเขาไม่ได้ติดใจเรื่องราวในอดีต แต่ว่าเขามองไปในอนาคต ด้วยเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ เมื่อเขาเชิญนายกรัฐมนตรีของไทยไปเยือน ผมคิดว่ากรณีในอดีตที่เคยติดค้างกัน เขาคงจะไม่นำขึ้นมาเป็นกรณีพบกันอีก เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์" ผอ. ศูนย์มุสลิมศึกษา จากจุฬาฯ ระบุ
ซาอุฯ สนใจอะไรของไทย
ดร.ศราวุฒิ ชี้ว่า ผลจากนโยบายวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030 การมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับไทย เป็นอุปสรรคปัญหาสำคัญสำหรับนโยบายเปิดให้ประเทศอื่นเข้าไปลงทุนทางการค้า
มุมมองของซาอุดีอาระเบีย ประเทศไทยเป็นครัวของโลกที่ผลิตอาหาร ขณะที่ประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งซาอุดีอาระเบียเอง เป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้น ซาอุดีอาระเบีย จึงให้ความสำคัญกับไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะหลัง ในฐานะกลุ่มประเทศที่ผลิตอาหารของโลก
"ผมคิดว่านักธุรกิจของซาอุฯ เขาเสียประโยชน์มาก เวลาที่ไม่สามารถเข้ามาในประเทศไทย"
ดร.ศราวุฒิ มองว่า จากวิสัยทัศน์ 2030 ของซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นโอกาสที่กระทรวงแรงงานต้องหาลู่ทางขยายตลาดแรงงานไทย เพราะซาอุดีอาระเบียกำลังมีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นใหม่ อีกทั้งนโยบายเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยว อาจเป็นช่องทางให้ไทยได้ฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจมากยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนาและความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ย้อนรอย 3 คดี ปมร้าวฉาน : ฆ่านักการทูต-ขโมยเพชร-อุ้มฆ่านักธุรกิจเชื้อสายราชวงศ์
หลังเกิดเหตุ ซาอุฯ ติดต่อทางการไทยหาตัวผู้ก่อเหตุและส่งของมีค่าทั้งหมดคืน
https://www.bbc.com/thai/thailand-60111503
ทำไม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้รับเชิญไปเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ แม้ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเหินห่างกันมากว่า 30 ปี เนื่องจาก 3 เรื่องอื้อฉาวที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ได้แก่ กรณีเพชรที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย, การฆาตกรรมนักการทูต และอุ้มฆ่านักธุรกิจ ที่เกิดขึ้นในไทย ในช่วงปี 2532-2533
ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำตอบเรื่องนี้ว่า เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายในของผู้นำซาอุดีอาระเบียรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้ "ติดใจ" กับเรื่องในอดีต และ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030" (Saudi Vision 2030) ที่ต้องการสานสัมพันธ์กับทุกประเทศในโลก
"ถึงแม้ว่าทางการซาอุดีอาระเบีย จะติดใจบลูไดมอนด์ แต่มันก็ไม่ได้เป็น ข้อผิดพลาดของรัฐบาลไทย อันนี้ประการแรก และผมคิดว่าตอนหลังทางการซาอุดีอาระเบีย ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก" ดร.ศราวุฒิ กล่าวกับบีบีซีไทย
เพชรซาอุฯ : 30 ปี ของ เกรียงไกร เตชะโม่ง จากวังสู่เรือนจำ แก้กรรมในวัดก่อนกลับมาใช้ชีวิตในบ้านเกิด
ราชวงศ์ซาอุฯ: สามเจ้าชายผู้หายสาบสูญ
กษัตริย์ซาอุฯ สั่งจับเจ้าชายหลังต้องสงสัยเป็นคนในคลิปทุบตีผู้คน
กษัตริย์ซาอุดีอาระเบียตั้งพระราชโอรสเป็นมกุฎราชกุมาร
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังทางการไทยและซาอุดีอาระเบีย ต่างแถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีกำหนดการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการระหว่าง 25-26 ม.ค. นี้ ตามคำเชิญของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีช อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม ซาอุดีอาระเบีย
การฟื้นความสัมพันธ์มีขึ้นในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มีใครรู้ว่า "บลูไดมอนด์" อัญมณีชิ้นสำคัญในคดีโจรกรรมเพชรซาอุฯ ไปตกอยู่กับใคร คดีฆาตกรรมนักการทูต และคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ผู้ต้องหานายตำรวจระดับสูงที่พัวพันถูกยกฟ้องไปแล้วเมื่อปี 2562
ในทัศนะของ ผอ. ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า กรณีอุ้มฆ่านักธุรกิจเชื้อสายราชวงศ์ ทำให้ทางการซาอุฯ ไม่พอใจ จนถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดิอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด
เรื่องในอดีตจะทำเป็นลืมเลยหรือเปล่า
ดร.ศราวุฒิ มองว่า ทั้ง 3 กรณีที่ เป็นปัญหาระหว่างซาอุดีอาระเบียกับไทย ในกรณีของเพชรซาอุฯ คนที่โจรกรรมในขณะนั้นก็เป็นแรงงานไทย ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล และมองว่ามันก็เป็นการหละหลวมของทางการซาอุฯ เองด้วย ที่ทำให้เกิดการโจรกรรมดังกล่าว
ส่วนการสังหารนักการทูตในไทย ดร.ศราวุฒิ กล่าวว่า ทางการซาอุฯ ก็เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับซาอุดีอาระเบียในปี 1987 ที่ลุกลามเข้ามาในไทย โดยต้นตอมาจากเหตุการณ์ที่ซาอุฯ ปราบผู้ชุมนุมในพิธีฮัจญ์ ทำให้คนอิหร่านที่เข้าไปทำพิธีฮัจญ์กว่า 200 คน เสียชีวิต หลังจากนั้นก็เกิดการแก้แค้นตอบโต้กันไปมาในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่ไทย
"เรื่องกรณีของการเสียชีวิตของนักการทูตเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ผมคิดว่าซาอุฯ เข้าใจเป็นอย่างดี แต่กรณีที่สำคัญที่สุด คือกรณีอุ้มฆ่า เขาติดใจมาก ๆ ทางซาอุฯ ไม่พอใจอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถทำอะไรได้แล้วในตอนนี้ เพราะว่า กรอบเวลาของการดำเนินคดี มันก็หมดไปเรียบร้อยแล้ว แล้วทางคนที่ถูกฟ้องก็ถูกยกฟ้องไปเรียบร้อย"
ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า ปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ ซาอุดีอาระเบีย มีผู้นำรุ่นใหม่นับตั้งแต่ปี 2015-2016 เป็นต้นมา เห็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการบริหารทางการเมืองของซาอุดีอาระเบียอย่างชัดเจน จากเดิมที่จะส่งมอบอำนาจให้กับผู้นำอาวุโสรุ่นเก่า
"คนรุ่นนี้ ผมเชื่อว่าเขาไม่ได้ติดใจเรื่องราวในอดีต แต่ว่าเขามองไปในอนาคต ด้วยเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ เมื่อเขาเชิญนายกรัฐมนตรีของไทยไปเยือน ผมคิดว่ากรณีในอดีตที่เคยติดค้างกัน เขาคงจะไม่นำขึ้นมาเป็นกรณีพบกันอีก เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์" ผอ. ศูนย์มุสลิมศึกษา จากจุฬาฯ ระบุ
ซาอุฯ สนใจอะไรของไทย
ดร.ศราวุฒิ ชี้ว่า ผลจากนโยบายวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030 การมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับไทย เป็นอุปสรรคปัญหาสำคัญสำหรับนโยบายเปิดให้ประเทศอื่นเข้าไปลงทุนทางการค้า
มุมมองของซาอุดีอาระเบีย ประเทศไทยเป็นครัวของโลกที่ผลิตอาหาร ขณะที่ประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งซาอุดีอาระเบียเอง เป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้น ซาอุดีอาระเบีย จึงให้ความสำคัญกับไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะหลัง ในฐานะกลุ่มประเทศที่ผลิตอาหารของโลก
"ผมคิดว่านักธุรกิจของซาอุฯ เขาเสียประโยชน์มาก เวลาที่ไม่สามารถเข้ามาในประเทศไทย"
ดร.ศราวุฒิ มองว่า จากวิสัยทัศน์ 2030 ของซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นโอกาสที่กระทรวงแรงงานต้องหาลู่ทางขยายตลาดแรงงานไทย เพราะซาอุดีอาระเบียกำลังมีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นใหม่ อีกทั้งนโยบายเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยว อาจเป็นช่องทางให้ไทยได้ฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจมากยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนาและความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ย้อนรอย 3 คดี ปมร้าวฉาน : ฆ่านักการทูต-ขโมยเพชร-อุ้มฆ่านักธุรกิจเชื้อสายราชวงศ์
- ม.ค. 2532 เจ้าหน้าที่ทูตซาอุดิอาระเบียถูกลอบสังหารกลางกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ตำรวจไทยไม่สามารถที่จะสืบสวนจับผู้ลงมือมาดำเนินคดีได้
- ส.ค. 2532 เกรียงไกร เตชะโม่ง แรงงานไทยชาวลำปาง คนงานในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ช่วงที่เจ้าชายไฟซาลเสด็จไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ
หลังเกิดเหตุ ซาอุฯ ติดต่อทางการไทยหาตัวผู้ก่อเหตุและส่งของมีค่าทั้งหมดคืน
- ปี 2533 พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ หัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวน จับ เกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ เกรียงไกรให้การรับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี หลังจากนั้นทางการซาอุฯ พบว่าของที่ส่งคืนมานั้น กว่าครึ่งเป็นของปลอม และไม่ได้ส่งบลูไดมอนด์มาด้วย ทำให้ พล.ต.ท.ชลอ เริ่มต้นตามหาเพชรที่หายไปอีกครั้ง โดยมุ่งเป้าไปที่นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พ่อค้าเพชรย่านสะพานเหล็กในกรุงเทพฯ
- ก.พ. 2533 นักการทูตซาอุฯ 3 คนถูกลอบสังหารในกรุงเทพฯ ในเดือนเดียวกัน นายมูฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบียและเป็นสมาชิกราชวงศ์ หายตัวไป
- ก.ค. 2537 ชุดปฏิบัติการนำโดย พล.ต.ท. ชลอ ลักพาตัวและเรียกค่าไถ่สองแม่ลูก "ศรีธนะขัณฑ์" เพื่อบีบให้นายสันตินำเพชรมาคืน และได้ฆ่าปิดปากเหยื่อทั้งสองโดยจัดฉากให้ดูเป็นอุบัติเหตุ
- ปี 2552 ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำตัดสินศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ
- ปี 2553 มีความคืบหน้าคดีอุ้มฆ่าอัลรูไวลี่ ในเดือน ม.ค. ก่อนหมดอายุคดีความเพียง 1 เดือน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา ได้แก่ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภาค 5 และพวกอีก 4 คน ในคดีร่วมกันฆ่านายอัลรูไวลี่ ที่หายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
- ปี 2556 ชลอได้รับการปล่อยตัว หลังติดคุกมานานกว่า 19 ปี และเปลี่ยนชื่อเป็นธัชพล เกิดเทศ
- ปี 2562 ในเดือน มี.ค. ศาลอาญา ยกฟ้องในชั้นฎีกา พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ และอดีต ผบช.ภ.5 กับพวกในคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ชี้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อย นับเป็นการสิ้นสุดคดี
https://www.bbc.com/thai/thailand-60111503