วันศุกร์, มกราคม 28, 2565

รัฐบาลไทยหวังหากินกับส่งแรงงานไทยไปซาอุ แต่แรงงานไทยไม่พอ กรูขำ ยังอิมพอร์ท ลาว พม่า เขมร



รู้จักกับแรงงานต่างด้าว MOU

19 ธ.ค. 2564
ที่มา jobsworkerservice.com

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการอาจกำลังประสบปัญหาแรงงานชาวไทยไม่เพียงพอ ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นายจ้างหลายคนอาจกังวลถึงขั้นตอนการจัดหาแรงงานที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่รู้ไหมว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งขั้นตอนการนำเข้าแรงงานนั้นจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง MOU ที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ โดยนายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่านบริษัทตัวแทนที่ได้รับการรับรอง ซึ่งจะช่วยให้นายจ้างจะไม่ต้องวุ่นวายกับขั้นตอนที่ซับซ้อน หมดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ เราไปทำความรู้จักกับแรงงานต่างด้าว MOU ให้มากขึ้นกันดีกว่า

แรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร ?

ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่า MOU คืออะไร MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้นนายจ้างจะต้องยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนแรงงานและระบุสัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการให้ชัดเจน ขั้นตอนต่อไปกระทรวงแรงงานจะประสานงานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ช่วยประกาศรับสมัครคนงาน เมื่อได้คนงานแล้ว ประเทศต้นทางจึงจะส่งรายชื่อ (Name List) มาให้ทางไทยอนุมัติต่อไป

นำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ดีอย่างไร ?

การนำเข้าแรงงานภายใต้ข้อตกลง MOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้ พร้อมทั้งยังช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ ได้อีกด้วย โดยนำเข้าแรงงาน MOU มีข้อดีดังนี้
  1. แรงงานที่เข้ามาทำงาน เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย
  2. สามารถนำเข้ามาได้จำนวนมาก
  3. นายจ้างสามารถกำหนดจำนวนแรงงานที่ต้องการได้
  4. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
  5. ไม่มีความเสี่ยง
ขั้นตอนการนำเข้าแรงงาน MOU

การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU สามารถทำได้ 2 วิธี คือ นายจ้างดำเนินการด้วยตัวเองหรือให้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการ การนำเข้าแรงงานผ่านบริษัทตัวเเทนจะสามารถทำได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งกว่า และรับรองได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน เพราะดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ที่จะช่วยลดขั้นตอนอันแสนยุ่งยาก โดยนายจ้างมีหน้าที่เพียงแค่เตรียมเอกสารเท่านั้น เอกสารที่นายจ้างจะต้องเตรียมสำหรับการยื่นเรื่องขอนำเข้าแรงงานมีดังนี้

กรณีผู้ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นบุคคลธรรมดา
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้างหรือสำเนาใบอนุญาตทำงานกรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง
  3. หลักฐานแสดงความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว เช่น เอกสารหลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจ ทะเบียนพาณิชย์ สัญญาเช่า โฉนดที่ดิน ทะเบียนเรือ เป็นต้น
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
  5. รูปถ่ายของกิจการและสถานประกอบการ
  6. หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาทำแทน ต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท
กรณีผู้ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว เป็นนิติบุคคล
  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้างหรือสำเนาใบอนุญาตทำงานกรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าวของกรรมการผู้จัดการหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจลงนาม
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจลงนาม
  4. หลักฐานแสดงความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว เช่น เอกสารหลักฐานการประกอบธุรกิจ หนังสือรับรองบริษัท หนังสือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทะเบียนพาณิชย์ สัญญาเช่า โฉนดที่ดินทะเบียนเรือ เป็นต้น
  5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
  6. รูปถ่ายของกิจการและสถานประกอบการ
  7. สำเนาใบภาษี (ภพ.01) และสำเนาใบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) หรือเลขทะเบียนผู้เสียภาษีนิติบุคคล
  8. หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท
เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว นายจ้างสามารถติดต่อบริษัทตัวแทนได้เลย จากนั้นบริษัทตัวแทนจะทำหน้าที่ยื่นเอกสารต่าง ๆ แทนนายจ้างทั้งหมด ถือว่าเป็นบริการที่ถูกกฎหมายและสะดวกสบาย ช่วยให้นายจ้างมีเวลามากขึ้นในการดูแลกิจการ ตัดปัญหาความยุ่งยากในการดำเนินการไปได้เลย

แรงงานต่างด้าว MOU เปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่

เมื่อเข้ามาทำงานในประเทศแล้ว แรงงานต่างด้าว MOU ทั้ง 3 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้
  1. นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต
  2. นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง
  3. นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้างหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  4. นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว
  5. สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานอาจจะมีอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัยหรือชีวิตของลูกจ้าง
  6. นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเก่า
หากแรงงานประสงค์จะขอเปลี่ยนนายจ้างโดยมีเหตุผลสอดคล้องกับด้านบน ลูกจ้างสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยต้องมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิมและให้นายจ้างใหม่ดำเนินการแจ้งเข้าทำงานภายใน 15 วัน 

อ่านต่อที่ jobsworkerservice.com