วันจันทร์, มกราคม 31, 2565

"ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย"


Noppakow Kongsuwan
6h ·

"ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย"
.
.
เราพูดแบบนี้ได้หรือไม่ ผมตอบทันทีเลยว่า "ได้"
.
ผลคะแนนเขต "หลักสี่-จตุจักร" บอกอะไรเราได้หลายอย่างพอสมควร แง่หนึ่งคือคะแนนนิยม "พรรคที่สมาทานหนุน พล.อ.ประยุทธ์" ในกรุงเทพมหานคร (อย่างน้อยก็ 2 เขตนี้) น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ความ "ไม่เอาประยุทธ์" ของคนกรุงเทพค่อนข้างรุนแรง หลายคนอาจจะเถียงว่า "เขตเดียวจะตัดสินอะไรได้" ไม่เชื่อลองจัด "เลือกตั้ง ส.ส." เฉพาะเขตกรุงเทพฯ อาทิตย์หน้าดูก็ได้ (ฮ่าๆ)
.
พรรคอันดับ 1 คือเพื่อไทย "ชนะขาด" ระดับเกือบหมื่นคะแนนในครั้งนี้ นั่นหมายถึงส่วนหนึ่ง ชนะด้วยตัวของ "สุรชาติ เทียนทอง" เจ้าของพื้นที่ ที่ปรากฎภาพตามข้อเท็จจริงของคนในพื้นที่ ว่าเขาลงพื้นที่ทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่เขาแพ้ และวันนี้เขาก็กลับมาชนะ และส่วนหนึ่งที่เชื่อว่ามีส่วนอยู่เหมือนกันคือ "การรีแบรนด์พรรค" สู่ยุค "พรุ่งนี้เพื่อไทย" โดยเฉพาะปรับการสื่อสารทางการเมือง แคมเปญรณรงค์ต่างๆที่ดูชัดเจนและมีทิศทางมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เลือกจำนวนหนึ่ง กลับมามั่นใจในการกลับมากาให้เพื่อไทย และเชื่อว่าถ้าเพื่อไทยยังเดิน Way นี้อยู่ เป้าหมาย "253+ ส.ส." หรือที่เรียกกันว่า "แลนด์สไลต์" ในการเลือกตั้งใหญ่ ก็อาจจะไม่เกินข้อเท็จจริงก็ได้
.
พรรคอันดับ 2 อย่างก้าวไกล ถือว่าได้คะแนะเยอะมาก ถึง 20,000 คะแนนต้นๆ (สูสีพรรคกล้าที่หลักร้อย ที่ตอนแรกจะเป็นเต็ง 2) นี่คือ "นัยยะสำคัญทางการเมือง" ที่น่าจับตาอย่างยิ่ง ว่าคะแนนิยมอนาคตใหม่ ต่อจากก้าวไกล ไม่ได้ลดไปขนาดนั้น คนจำนวนมาก ในเขตนี้ ยังเชื่อว่าแนวทางของอนาคตใหม่ สานต่อมาเป็นก้าวไกลนั้น จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ในอนาคต และมันก็อาจจะพิสูจน์ได้แล้วว่า "อนาคตใหม่ ยังคงฆ่าไม่ตาย" ในทางการเมืองจริงๆ
.
"พลังประชารัฐ" ถูกแยก เป็น 3 ร่าง โดยที่เพิ่มมา 2 คือ "ไทยภักดี-พรรคกล้า" ซึ่งช่วงเลือกตั้งใหญ่ หมอเหรียญทองก็มีคะแนนในพื้นที่ และเทให้สิระ กลุ่ม กปปส. ตอนอยู่พลังประชารัฐ ก็เทให้สิระ พอมีความขัดแย้งอย่างหนักในพรรครัฐบาล - คนจำนวนหนึ่งเชียร์รัฐบาลแต่ "ยี้" พลังประชารัฐ - วิกฤตธรรมนัสทำพรรคแตกย่อยยับ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะ "เอาคืน" ซึ่งเป็นการตัดคะแนนกันเองอย่างหนักของทั้ง 3 พรรคการเมืองดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ น่าจะเป็นเหตุให้พรรคที่ "หนุน พล.อ.ประยุทธ์" มีความ "ห่างไกล" จากคำว่าชัยชนะครั้งนี้
.
คะแนนของ "ไทยภักดี" มีกลุ่มก้อนที่ชัดเจนพอสมควร มาเป็นอันดับ 5 สูสีกับ "พลังประชารัฐ" นั่นหมายถึงยังมีคนจำนวนมาก ที่สมาทานอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ และสังคมต้องหาทางอยู่ร่วมกับกลุ่มคนที่ความคิดต่างอย่างหนักเช่นนี้ให้ได้ ในอนาคต ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยชนะ เราต้องดึงเขากลับสู่เกมการแข่งขันทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งให้ได้ แน่นอน ดึงเขามาแข่งกันแบบนี้ มันดีกว่าการไปหนุนรัฐประหารเป็นไหนๆ
.
จริงอยู่ ที่การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งซ่อมเพียงเขตเดียว คนออกมาใช้สิทธิ 53% แต่ด้วยผลการเลือกตั้งที่ฝ่ายหนุนรัฐบาล "แพ้ย่อยยับ" อย่างหนักขนาดนี้ ส่งผลอย่างแน่นอนต่อการตัดสินใจ "ปล่อย" ให้มีการเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม." ของผู้มีอำนาจ ถ้าคิดมากไปกว่านั้น "พรรคพลังประชารัฐ" น่าจะคิดหนัก ถ้าเกิดวิกฤตภายในพรรคร่วมจนต้องยอมกัดลิ้น "ยุบสภา" ภายในปีนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ก็แพ้ยับ ให้กับ "ประชาธิปัตย์" มาแล้ว ที่ภาคใต้
.
.
สุดท้าย นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ศึกนี้อีกยาวไกล (ถึงแม้ว่าติ่งของทั้งพรรคจะฟัดกันบ้าง แต่เป้าหมายใหญ่ยังคงสำคัญอยู่) และ "ปลายปากกา" ของท่านเท่านั้น ที่จะเป็น "จุดเริ่มต้น" ในการทวงประชาธิปไตย ในรูปแบบที่ควรจะเป็นกลับคืนมาสู่สังคมไทย
.
.
ป.ล. เราไม่ควรลืม "เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส" ที่ทำให้การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้เกิดขึ้น ด้วยการสืบค้นข้อมูลอย่างหนัก ในการยื่นตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ส. ของ "สิระ เจนจาคะ"