วันพุธ, มกราคม 26, 2565

เรื่องที่เขาเล่าว่า .. ถ้าไม่มีพยาน หลักฐาน ที่น่าเชื่อ เราไม่ควรเชื่อและต้องระวัง...


Law Inspiration
Yesterday at 1:31 AM ·

เรื่องที่เขาเล่าว่า .. ถ้าไม่มีพยาน หลักฐาน ที่น่าเชื่อ เราไม่ควรเชื่อเรื่องเหล่านั้นแล้วเอาไปพุดต่อ โดยทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสีย
นักกฎหมายต้องมีความหนักแน่น มีใจเป็นธรรม เรื่องไหนใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ไม่ใช่ดูที่ตัวบุคคล
@Harvey

โบราณนานมา
August 6, 2020 ·

มิใช่ “บลูไดมอนด์” ของซาอุฯ ตามคำกล่าวเท็จใส่ร้าย

วันนี้ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓ ครบรอบ ๓๑ ปีเหตุการณ์ “โจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย” เกิดขึ้นในปี ๒๕๓๒ แล้ววันนี้แอดมินเห็นคนบางกลุ่มกำลังพยายามบิดเบือนความจริงในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ นานาว่า เพชรที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสวมใส่ คือ “เพชรสีน้ำเงิน” หรือที่เรารู้จักในชื่อ “Blue Diamond” เป็นเพชรที่ถูกขโมยมาจากประเทศซาอุดิอารเบีย ซึ่งไม่เป็นความจริงตามคำกล่าวเท็จใส่ร้ายแต่ประกาศใด

ตามพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสวมสร้อยพระศอเป็น “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire)” ไม่ใช่ “เพชรสีน้ำเงิน (Blue Diamond)” ตามที่คนบางกลุ่มกำลังพยายามบิดเบือนกล่าวหาพระองค์

“สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire)” องค์นี้ ประดับเพชรโดยไพลินสีน้ำเงินเม็ดนี้มีขนาด ๑๐๙.๕๗ กะรัต จี้ไพลินสีน้ำเงินองค์นี้ เป็นฝีมือการออกแบบและประดิษฐ์จากบริษัทอัญมณี Van Cleef & Arpels จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ๒๕๐๖

ซึ่งพระองค์ทรงสวมสร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงินองค์นี้ มานานกว่า ๕๐ ปีแล้ว และทรงสวมในหลาย ๆ โอกาสอีกด้วย เช่น ในปี ๒๕๑๑ ทรงสวมสร้อยพระศอนี้ ในโอกาสที่สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๙ มกราคม ๒๕๑๑ (พระฉายาลักษณ์บนขวา) หรือในปี ๒๕๓๔ ทรงสวมสร้อยพระศอนี้ ในโอกาสที่สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๐ กันยายน ๒๕๓๔ (พระฉายาลักษณ์ล่างกลาง)

และเหตุการณ์ “โจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย” เกิดขึ้นในปี ๒๕๓๒ แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสวมสร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน มานาน ๕๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ เรื่อยมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระสร้อยศอนี้ จะเป็นเครื่องประดับที่ถูกโจรกรรมมาจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ในปี ๒๕๓๒

และในคดีโจรกรรมเครื่องเพชรนั้น ได้จบไปนานแล้ว ในยุคนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิด โคจา ได้แสดงความขอบคุณทางการไทยอย่างสุดซึ้ง แม้จะยังไม่ได้เพชรคืนทุกชิ้นก็ตาม แต่ได้มาเพียงเท่านี้เขาก็พอใจแล้ว แต่สิ่งที่ซาอุดิอาระเบียโกรธทางการไทยอย่างมากจนลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยลง มาจากสาเหตุเรื่องการอุ้มฆ่านักธุรกิจซาอุดิอาระเบีย ต่างหาก

และราชวงศ์จักรี มีเครื่องประดับที่เป็นเพชรมากมาย ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงแล้ว หรือแม้แต่ในอดีต ตามบันทึกในหนังสือ “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสนั้นเสด็จเยือนแคนาดา เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๐ และเสด็จไปในงานเลี้ยงรับรองสำคัญ ซึ่งในงานจะมีบุคคลสำคัญในวงการราชการและธุรกิจ คืนนั้นพระองค์ได้โดยในหนังสือเล่มดังกล่าวมีการระบุความตอนหนึ่งว่า

“...คืนนั้น ข้าพเจ้าได้สวมสร้อยพระศอเพชร ซึ่งเป็นของเก่าของสมเด็จพระพันปีหลวง…”

หมายเหตุ “สมเด็จพระพันปีหลวง” ในบทความนี้ หมายถึง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในบันทึกยังบอกอีกว่า สร้อยพระศอเพชรเส้นนี้เอง ทำให้เกิดเหตุการณ์อย่างหนึ่งในงานนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นเมื่อแขกคนสำคัญคนหนึ่งถามหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ซึ่งทำหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ แล้วไปในงานวันนั้นด้วยว่า

“...เอ้อ…สร้อยพระศอที่พระราชินีของท่านทรงอยู่นั้น คงเพิ่งซื้อใหม่จากปารีสกระมัง...”

หม่อมเจ้าวิภาวดี ทรงตอบว่า

“...เอ๊ะ ! นี่ท่านไม่รู้หรอกหรือ ว่าเมืองไทยของฉันมีอายุกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีแล้ว พระราชวงศ์จักรีก็มีมาตั้งเกือบสองศตวรรษ เราจึงมีเครื่องเพชรประจำพระราชวงศ์บ้าง ไม่เห็นจะต้องซื้อของใหม่ราคาแพงมาใช้เลย...”

จากบันทึกในหนังสือ “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ” ของพระองค์ ทำให้เห็นได้ว่า เครื่องเพชรที่พระองค์ประดับอยู่ หลาย ๆ ชิ้น ตลอดการเดินทางนั้น ล้วนเป็น เครื่องเพชรประจำพระราชวงศ์ทั้งนั้น รวมถึงสร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน นั้นก็เช่นกัน

สุดท้ายนี้ แอดมินหวังว่าท่านที่ไปฟังเขาเล่ามาว่าแบบนั้นแบบนี้ อยากให้เข้าใจเสียใหม่ และหลังจากนี้ ก็หวังอีกว่าคงไม่มีใครจะกล่าวเท็จใส่ร้ายพระองค์อีก
...
เอกชัย หงส์กังวาน
21h ·

กรณี Blue Diamond เกิดขึ้นในช่วงที่ผมกำลังเรียนอยู่ในชั้น ม.ปลาย หลังจากที่ไทยแพ้ในสงครามร่มเกล้าไม่นาน
.
- สลิ่มพยายามอ้าง Blue Diamond ไม่มีจริง เพราะไม่เคยมีการนำเสนอภาพถ่ายของเพชรนี้ แต่ผมจำได้ตอนนั้นสื่อมวลชนนำเสนอข่าวการตามหาเครื่องเพชรซาอุฯก็ไม่เคยแสดงภาพถ่ายของเครื่องเพชรเหล่านั้นแม้แต่ชิ้นเดียว มีเพียงแค่ภาพสเก็ตซึ่งอาจเป็นเพราะตำรวจไม่ต้องการเปิดเผย ไม่ใช่ไม่มีภาพถ่ายก็ได้
- สลิ่มพยายามแก้ตัวกรณีสร้อยคอของราชินีไม่ใช่ Blue Diamond เพราะสร้อยคอเส้นนี้สวมมาก่อนเหตุการณ์นี้นานนับ 10 ปี ผมจำได้ตอนนั้นมีกระแสข่าวลือเรื่องที่อยู่ของเพชรนี้ แต่ไม่เคยได้ยินกรณีสร้อยคอที่ราชินีสวมก่อนหน้านี้
.
Blue Diamond หายเป็นเรื่องจริง ไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลซาอุฯจะต้องตอแหล ส่วนเพชรนี้จะอยู่ที่ใครผมไม่รู้ แต่ป่านนี้คงถูกเจียระไนเปลี่ยนรูปไปแล้ว