วันศุกร์, พฤศจิกายน 05, 2564

เห็นการคืนชีพโรงหนังเก่าในลอสแองเจิลลิส Apple Tower Theatre นึกถึง ความตายของสกาล่า ความเป็นปกติของสังคมไร้เทสต์


Reporter Journey
Yesterday at 10:23 AM ·

Apple Tower Theatre การคืนชีพโรงหนังเก่าในลอสแองเจิลลิส
คงตัวอาคารดั้งเดิมไม่ทุบทิ้ง เพิ่มพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์
.
แม้โลกของเทคโนโลยีจะก้าวเดินไปข้างหน้า และนับวันจะยิ่งก้าวเร็วขึ้นกว่าจนแทบจะตามทันได้ยาก แต่ในวันที่โลกกำลังหมุนไปเพื่อก่อเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมานั้น กลับยังคงมีความพยายามเก็บรักษามรดกจาก "อดีต" ที่มีความสวยงาม รุ่งเรือง และคลาสสิค ของหลายสิ่งที่ทรงคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ และเป็นดั่งเครื่องบันทึกความทรงจำแห่งกาลสมัยเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความสวยงามรุ่งเรืองในอดีต
.
ใครๆ ต่างก็รู้ว่า ‘Apple’ เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของโลกยุคนี้ แต่ในความล้ำสมัยนั้น กลับยังคงไม่ลืมเก็บรักษาสิ่งเก่าแก่ที่สวยงามเอาไว้ พร้อมปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
.
ดังเช่น ‘Apple Tower Theatre’ ซึ่งเป็นร้านค้าของ Apple ในนครลอสแองเจิลลิส ประเทศสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนให้โรงภาพยนตร์เก่าแก่อายุเกือบร้อยปี ที่เคยถูกทิ้งร้างจากการเสื่อมความนิยมเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ให้กลายมาเป็นร้านค้าของแบรนด์ที่มีความสวยงาม คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมดั้งเดิม เพิ่มเติมด้วยพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะแก่การค้าและการทำกิจกรรมของแบรนด์อีกด้วย
.
เดิมทีอาคารแห่งนี้มีชื่อว่า ‘The Tower Theatre’ เป็นโรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่ถูกออกแบบและก่อสร้างในปี 1927 หรือเมื่อ 94 ปีที่แล้ว โดย S. Charles Lee สถาปนิกโรงภาพยนตร์ชื่อดังของยุค ที่ต้องการสร้างออกมาในสไตล์ศิลปะฟื้นฟูบาโรก (Baroque) ซึ่งความสำคัญของโรงภาพยนตร์นี้ก็คือ เป็นแห่งแรกในลอสแองเจิลลิสที่ฉายภาพยนต์แบบมีเสียง และยังติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นที่แรกของเมืองนี้อีกด้วย
.
The Tower Theatre ได้เปิดให้บริการสร้างความสุขให้กับผู้คนมายาวนานถึง 61 ปี ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมลง เพราะเริ่มมีโรงภาพยนตร์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยกว่าเกิดขึ้นมากมาย สุดท้ายก็ต้องมีการปิดตัวลงในปี 1988 และถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ยาวนานโดยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลยถึง 33 ปี
.
ทั้งเจ้าของอาคารและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลอสแองเจิลลิส ก็ไม่ได้มีการทุบอาคารดังกล่าวทิ้งเพื่อเปิดทางให้สิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ แต่ทำสิ่งตรงกันข้ามก็คือ พวกเขาพยามรักษาโรงภาพยนตร์แห่งนี้เอาไว้ เพื่อหวังว่าวันหนึ่งจะมีผู้ที่เข้ามาฟื้นฟูให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
.
และการรอคอยการกลับมามีชีวิตก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2020 Apple ได้เข้ามาใช้อาคารดังกล่าวเพื่อเป็นร้านค้าของแบรนด์ รวมทั้งการเปิดพื้นที่สำหรับการแสดงดนตรี ศิลปะ และภาพยนตร์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบแก่ชาวเมืองอีกด้วย
.
ในการบูรณะอาคารนั้นได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ทำลายองค์ประกอบดั้งเดิม โดย Apple และ Foster + Partners บริษัทผู้รับหน้าที่ปรับปรับปรุงอาคารได้ร่วมมือกับสภาเมืองลอสแองเจลิสและผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์อาคารโบราณ ได้ออกแบบให้มีความสวยงามหรูหรา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก “Paris Opera House” ออกแบบโดย “Charles Garnier” ในประเทศฝรั่งเศส โดดเด่นด้วยห้องโถงทางเข้าอันโอ่อ่า พร้อมด้วยราวจับทองสัมฤทธิ์ และเสาหินอ่อนสไตล์โครินเธียน ที่ได้รับการบูรณะให้กลับมางดงาม
.
ผสานกับเทคโนโลยีอันทันสมัยด้วย Video Wall ขนาดใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์ที่ติดตั้งไว้กลางห้องโถง ซึ่งอยู่ภายใต้ซุ้มประตูที่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ล้อมรอบด้วยชั้นลอยแบบดั้งเดิมของโรงภาพยนตร์ พร้อมที่นั่งบุด้วยเบาะสีน้ำตาล ซึ่งบริเวณ Forum นี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม Today at Apple ที่เหล่าสาวกของ Apple รวมทั้งผู้คนในเมืองสามารถมาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นทุกวันในทุกๆ เซสชั่นได้แบบฟรีๆ อีกด้วย
.
นับว่าเป็นการนำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาผสมผสานกับความเก่าแก่และคลาสสิคอันสวยงามได้อย่างลงตัว ทำให้อาคารโบราณกลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ล้มหายตายจากหรือถูกทุบทำลายไปตามกาลเวลา
.
เพราะอาคารเก่าแก่ล้ำค่าเหล่านี้มีไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนเท่านั้น แต่มันคือการบันทึกช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของยุคสมัย ที่ให้คนในรุ่นต่อๆ ไปยังคงได้เรียนรู้ ควบคู่ไปกับโลกที่หนุนไปอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ทิ้งร่องรอยของความทรงจำของโลกอดีตให้เลือนหายไปตามกาลเวลา
.
แหล่งอ้างอิง
https://apple.co/3GNyPlB
https://lat.ms/3EKahYL
https://bit.ly/3CHtHwR
.....

The MATTER
Yesterday at 6:00 AM ·

“ที่ผ่านมาเราคิดอยู่แค่ 2 ตัวเลือกคือ เก็บหรือรื้อทั้งหมด แต่ปัญหาคือคนที่เรียกร้องให้อนุรักษ์พยายามพูดถึงทางเลือกที่ 3,4 และ 5 ที่ทำให้การพัฒนาสมัยใหม่อยู่กับโครงสร้างเก่าบางส่วนที่มีคุณค่าได้ เพียงแต่การจะเลือกทางเลือกนี้จำเป็นต้องเสียงบประมาณมากขึ้น”
.
"ผมคิดว่ามันมีทางเลือกมากที่จะทำได้โดยไม่ขาดทุน ดังน้ัน การทุบสกาลาจึงทำให้หลายคนเลยโมโหมาก เพราะมันเป็นการตัดสินใจที่พุ่งเป้าสู่กำไรสูงสุด คำถามสำคัญคือ พื้นที่ที่สถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นเจ้าของเนี่ย ควรไหมที่จะพุ่งเป้าสู่กำไรสูงสุด ซึ่งในมุมของผมมันไม่ควรแน่นอน"
.
ภาพของรถแบลโฮสีส้มเคลื่อนเข้าไปในซากปรักหักพังที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนต์สกาลาทำให้หลายคนใจหายอยู่ไม่น้อย ถึงแม้ทุกคนคงเคยได้ยินว่าสกาล่าจวนเจียนเต็มทีแล้วที่จะต้องปิดตัวลงเพราะขาดทุน แต่เมื่อถึงคราจริงๆ การจากลาก็ไม่เคยง่ายเช่นนั้น
.
ยิ่งก่อนหน้านี้ ที่สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจเเผยคำกล่าวขอวแหล่งข่าวในบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (ผู้ชนะประมูล) ที่เปิดเผยว่าทางบริษัท “จะพยายามรักษาโครงสร้างเก่า (สกาลา) ไว้ให้มากที่สุด” ดังนั้น การตัดสินใจทุบทิ้งชนิดเหี้ยนเตียนทั้งโรงหนังและอาคารพานิชย์ 79 คูหาบริเวณนี้จึงยิ่งสร้างความตกใจให้ถึงที่สุด และทำให้ ชาตรี ประกิตนนทการ ศาตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรสะท้อนถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า
.
“นี่คือภาพสะท้อนของสังคมไทยที่พ่ายแพ้ต่อทุนนิยม แต่มันไม่ใช่แค่นั้น มันยังสะท้อนถึงความพ่ายแพ้ของประวัติศาสตร์สังคมต่อประวัติศาสตร์มหาบุรุษ และเป็นความพ่ายแพ้ของสุนทรียภาพสมัยใหม่ต่อสุนทรียภาพแบบก่อนศตวรรษที่ 20 ด้วย”
.
The MATTER พูดคุยกับชาตรีถึงสิ่งที่เกิดขึ้นโรงหนังอายุมากกว่า 50 ปีแห่งนี้ ผ่านสายตาเขาคุณค่าที่แท้จริงของสกาลาคืออะไร ทั้งในฐานะสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่ง ในฐานะสถานที่บรรจุความทรงจำ และในฐานะหลักทางบรรจุประวัติศาสตร์ของสามัญชนคนธรรมดาที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ปี 2512 และอีกคำถามสำคัญที่สุดว่า..
.
ถ้าสกาลาขาดทุน มันจะไม่มีคุณค่าอะไรเลยหรือ ?
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ได้ที่
https://thematter.co/.../interview-chatri.../159392

Illustrator By Kodchakorn Thammachart
Photograph from Facebook Chatri Prakitnonthakan
....
Kewi Chayanis
November 2 at 11:05 PM ·

ทุกวันนี้หล่อนอยากไปยุโรปเพราะอะไรหรอ ?
เพราะมันเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมใช่ไหมล่ะ
หล่อนอยากไปมิลาน ปราสาท เสพย์อาร์ตโน่นนั่นนี่ เพราะที่นั่นมันเก็บไว้ให้หล่อนดูใช่ไหมล่ะ ไม่งั้นหล่อนจะเอาอะไรดู
หล่อนทำทรงศิลป์เท่ๆ ไปถ่ายรูปแถวเมืองเก่า เยาวราช ไปรษณีย์กลาง หรือแม้กระทั่งที่จัด bkk design week หล่อนก็เลือกที่ที่มันมีกลิ่นอายประวัติศาสตร์ถูกไหม
สกาล่าก็เหมือนกัน แม่กับพ่อหล่อนอาจจะเคยดูหนังครั้งแรกกันที่นั่น ยายหล่อนอาจเคยเป็นช่างตัดผ้าตรงนั้น หรือแม้กระทั่งหล่อนเองก็เคยหนีเรียนมาดูหนังราคาถูกที่ในใจกลางเมืองแทบไม่เหลือ
เพราะมันอยู่ในชีวิต อยู่ในความทรงจำ และ มันทำอะไรได้มากกว่า รื้อ หรือ ทุบ ไง
หลายคอมเม้นตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “อยากอนุรักษ์มากก็ซื้อเก็บไว้เองสิ” ทั้งๆที่ไม่มีสมองคิดเลยว่า (1) ตรงนั้นมันซื้อไม่ได้ ถ้าซื้อได้พวกกูก็จะระดมเงินกันซื้อ (2)ต่อให้ซื้อเราก็ต้องทำความเข้าใจกันอยู่ดีว่า การรีโนเวทหรือที่แปลว่า การปรับปรุงให้ดีขึ้น นั้น มีมากกว่าการทุบแล้วสร้างใหม่ มันสามารถละเอียดอ่อนและเข้าใจพื้นที่ได้มากกว่านั้น ซึ่ง “ก็ต้องคุยก่อน” ไง กับ ผู้เชี่ยวชาญ กับท้องที่ กับคนที่เคยอยู่ นี่ไม่เลย ทุบไปซะอย่างนั้น
เธอไม่เบื่อหรอที่กรุงเทพมีแต่ห้าง … ฉันเบื่อมาก
ทุกวันนี้ที่เธอหาผัวหาเมียไม่ได้บางส่วนอาจจะเป็นเพราะเธอไม่มีที่ให้คุย ทำความรู้จัก หรือหายใจเฉย ๆ เพื่อมองกันก็ได้นะ …
ทุกวันนี้จะหาที่นั่งสยามสักทีก็ต้องหาร้านกาแฟนายทุนสักที่แล้วจ่ายเงินรอนะ …
ความหมายของสถาปัตยกรรม พื้นที่ ความหมายและความผูกพัน ต่อชุมชนมันมีมากกว่านั้นเยอะมาก ที่เราใฝ่ฝันจะไปยุโรปนั่นก็เพราะ ความเป็นรากที่ยังคงอยู่เสมอมาเหมือนกัน
แล้วยุคเธอล่ะ รากของสถาปัตยกรรมสมัยเธอ เหลืออะไรบ้างหรอ ? แทบไม่มี ยุคเธอจะมีดูแค่ในหนัง รักแห่งสยามหรอ ไม่เหลืออะไรให้จดจำตอนก่อนอัลไซเมอร์หรือเล่าให้หลานฟังเลยหรือไง?
อะหรือถ้าจะให้เห็นภาพใหญ่ มูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีเมื่อสกาล่าไม่ถูกทุบ แต่รีโนเวท เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เป็นพื้นที่ของศิลปะ อาจจะมากกว่าการเป็นห้าง หรือเป็นได้แม้กระทั่งอีกแลนด์มาร์คของ city travel หรือเปล่า?