โลกร้อน : ไม่มีไทยใน 105 ชาติ ลงนามยุติการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2030 ที่ COP26แล้วไอ่สัสนั่นบินไปทำเหี้ยไร . pic.twitter.com/LG4kYQYXyg
— noir . (@noirisaesthetic) November 5, 2021
2 พฤศจิกายน 2021
บีบีซีไทย
ผู้นำกว่า 100 ชาติลงนามในคำประกาศให้คำมั่นที่จะยุติการตัดไม้ทำลายป่า และฟื้นฟูป่าไม้ภายในปี 2030 ถือเป็นข้อตกลงใหญ่ข้อแรกที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26)
บราซิล ซึ่งครอบครองผืนป่าแอมะซอนที่กำลังถูกทำลายเป็นวงกว้างได้ร่วมลงนามในข้อตกลงที่มีขึ้นในวันนี้ (2 พ.ย.) ด้วย โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. ระบุว่า จะมีประเทศต่าง ๆ ร่วมลงนามทั้งสิ้น 105 ประเทศ อาทิ แคนาดา จีน อินโดนีเซีย รัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และเวียดนาม เป็นต้น แต่ไม่ปรากฏไทย กัมพูชา เมียนมา และลาว รวมอยู่ในรายชื่อนี้
ท่าที่ไทยในการประชุมลดโลกร้อน COP26 สัญญาหรือตั้งใจจริง
ประยุทธ์ บอกโลก "ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"
ผืนป่าแอมะซอนถูกทำลายขนาดเท่าสนามฟุตบอลในทุกหนึ่งนาที
ป่าฝนผืนใหญ่ที่สุดของเอเชียถูกเผาเอาพื้นที่ทำสวนปาล์มน้ำมัน
"ทุเรียนฟีเวอร์" สภาพอากาศที่แปรปรวนกระทบชาวสวนอย่างไร
การลงนามครั้งนี้มีขึ้นในวันที่ 2 ของการประชุม COP26 ที่จัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เดินทางมาร่วมการประชุม พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเนื้อความในตอนท้ายว่า
"ผมขอย้ำว่าเราทุกคนไม่มี 'แผนสอง' ในเรื่องของการรักษาเยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี 'โลกที่สอง' ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว"
ข้อตกลงนี้มีเนื้อหาอะไรบ้าง
พื้นที่ป่าหลายแห่งถูกแผ้วถาง เพื่อใช้พื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์รองรับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของชาวโลก
คำประกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำมั่นสัญญาทางเศรษฐกิจและการเมืองครั้งสำคัญในการยุติการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก โดยทั้ง 105 ประเทศที่ร่วมลงนาม เป็นเจ้าของผืนป่าที่ครอบคลุมเนื้อที่ราว 85% ของป่าไม้ทั่วโลก
ประเทศที่ร่วมลงนามได้ให้คำมั่นจะสมทบเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนเกือบ 14,000 ล้านปอนด์ (ราว 644,000 ล้านบาท ) เพื่อใช้แก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
โดยเงินส่วนหนึ่งจะมอบให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูผืนป่าที่ถูกทำลาย แก้ปัญหาไฟป่า และสนับสนุนชุมชนพื้นเมืองที่ต้องพึ่งพาป่าฝนในการดำรงชีพ ในจำนวนนี้ราว 1,100 ล้านปอนด์ จะใช้ในการปกป้องป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่อันดับสองของโลกบริเวณลุ่มน้ำคองโก ในแถบแอฟริกากลาง
นอกจากนี้ รัฐบาล 28 ประเทศยังให้คำมั่นจะขจัดการตัดไม้ทำลายป่าออกจากการค้าอาหารโลก และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และโกโก้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายป่า เพื่อเอาพื้นที่ไปใช้เลี้ยงปศุสัตว์ และปลูกพืชเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกันบริษัทการเงินรายใหญ่ของโลก เช่น เอวีว่า (Aviva) ชโรเดอร์ส (Schroders) และแอกซ่า (Axa) ได้ให้คำมั่นจะเลิกลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า
ป่าฝนผืนใหญ่ที่สุดของเอเชียถูกเผาเอาพื้นที่ทำสวนปาล์มน้ำมัน
นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน เจ้าภาพการประชุม COP26 กล่าวว่า "เราต้องหยุดยั้งการสูญเสียป่าไม้อย่างมากมายของพวกเรา...และยุติบทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้พิชิตธรรมชาติ แล้วเป็นมาเป็นผู้พิทักษ์ธรรมชาติแทน"
ศาสตราจารย์ไซมอน ลูอีส ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศและป่าไม้ จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่า นี่ถือเป็นข่าวดีที่มีการให้คำมั่นสัญญาทางการเมืองจากหลายประเทศ เพื่อยุติการตัดไม้ทำลายป่า และคำมั่นการให้เงินทุนสนับสนุนแผนการนี้
อย่างไรก็ตาม เขาบอกกับบีบีซีว่า ที่ผ่านมาโลกได้เคยเห็นคำประกาศแบบนี้มาแล้วในปี 2014 ในการประชุมที่นครนิวยอร์ก แต่ก็ไม่สามารถชะลอปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าได้เลยแม้แต่น้อย
ขณะที่ ดร.ไนเจล ไซเซอร์ นักนิเวศวิทยา ระบุว่านี่เป็น "ข้อตกลงสำคัญ" แต่ชี้ว่าบางคนอาจรู้สึกว่าการตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี 2030 เป็นเรื่องน่าผิดหวัง
"เรากำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นการให้เวลาตัวเองอีก 10 ปีในการแก้ปัญหานี้ จึงดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกันนัก"
"แต่นี่อาจสอดคล้องกับความเป็นจริง และสิ่งที่เราจะบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด" ดร.ไซเซอร์ กล่าว
ข้อตกลงนี้ต่างจากอดีตอย่างไร
ภาพมุมสูงเผยให้เห็นการเผาพื้นที่ป่าในจังหวัดกาลีมันตันใต้ ของอินโดนีเซีย เพื่อเอาพื้นที่ไปทำสวนปาล์มน้ำมัน
การลงนามในคำประกาศนี้มีประเทศที่เป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ปัญหาเข้าร่วมด้วยหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก ทว่าอุตสาหกรรมนี้ คือสาเหตุสำคัญของการทำลายป่าไม้ และถิ่นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง
ส่วนรัสเซีย ก็มีผืนป่าธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีต้นไม้กว่า 1 ใน 5 ของต้นไม้ทั้งหมดบนโลก และช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละกว่า 1,500 ล้านตัน
ขณะที่บราซิล ก็มีป่าแอมะซอน ซึ่งเป็นป่าฝนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และต้องเผชิญปัญหาการตัดไม้รุนแรงที่สุดในรอบ 12 ปี เมื่อปี 2020 ภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีชาอีร์ โบลโซนาโร
นายจอร์จ ยูสทิส รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร ระบุว่า คำประกาศยุติการตัดไม้ทำลายป่าครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่มีประเทศสำคัญ ๆ เข้าร่วมด้วย
"ครั้งก่อน (ปี 2014) เคยมีความพยายามในการขอคำมั่นสัญญาเรื่องป่าไม้ แต่บราซิลไม่ได้เข้าร่วมด้วย เช่นเดียวกับรัสเซีย และจีน"
"บราซิลเข้ามามีส่วนร่วมกับเราอย่างมากในเรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวใหญ่สำหรับพวกเขา" นายยูสทิสกล่าว พร้อมยอมรับว่าข้อตกลงนี้เป็นการให้ความร่วมมือโดยสมัครใจของแต่ละประเทศ และไม่มีกลไกการบังคับใช้แต่อย่างใด
ป่าแอมะซอนเผชิญปัญหาการแผ้วถางตัดไม้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ด้าน ดร.ไซเซอร์ นักนิเวศวิทยา ระบุว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการตัดไม้ทำลายป่าในบราซิลคือ การนำพื้นที่ไปปลูกถั่วเหลือง ซึ่งผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน และยุโรป เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น หมู และไก่
"พวกเราต่างก็บริโภคอาหารเหล่านี้ นอกเสียจากเราจะเป็นคนรับประทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด หรือไม่รับประทานถั่วเหลืองเลย นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่มากที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน" ดร.ไซเซอร์ กล่าว
ต้นไม้คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อสู้กับภาวะโลกร้อน เพราะทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (carbon sinks) ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศโลก โดยดูดซับก๊าซชนิดนี้ได้ราว 1 ใน 3 ของปริมาณที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกปล่อยออกมาในแต่ละปี
ทว่าปัจจุบันโลกกำลังสูญเสียป่าไม้ไปอย่างรวดเร็ว คือมีพื้นที่ประมาณ 27 สนามฟุตบอลถูกทำลายลงในทุก 1 นาที
นอกจากนี้ ป่าไม้ที่ถูกทำลายไปจนเสื่อมโทรมยังเริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย บรรดานักวิทยาศาสตร์จึงกังวลว่าโลกจะเข้าสู่จุดพลิกผันที่จะเกิดวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศขึ้นอย่างฉับพลันและไม่สามารถคาดการณ์ได้
Carbon Copy pic.twitter.com/uL75pNb4sM
— uninspired by current events (@UninspiredBy) November 4, 2021