King Bhumibol Adulyadej addresses to the crowd to mark his 85th birthday on the balcony of Ananta Samakhom Throne Hall in Bangkok, Thailand, on Dec. 5, 2012. (ภาพประกอบข่าวเอ็นบีซี) |
The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent
กฎหมายวายร้ายถูกใช้เป็นอาวุธปิดปากคนไทยที่เห็นต่าง
โดย ชาลี แคมป์เบลล์ นิตยสารไทม์ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
Thailand's lèse majesté laws are supposed to protect the
royal family from defamation, but in practice they are being used as a vicious
political tool
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยมีไว้สำหรับปกป้องราชวงศ์จากการว่าร้ายให้เสียชื่อเสียง
แต่ในทางปฏิบัติมันถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอันแสนเลว
Barefoot and shackled at the ankles, two Thai student
activists shuffled into court this week to plead guilty to insulting
the nation’s monarch by staging a play about an fictitious king.
เดินตีนเปล่ามีโซ่ล่ามที่ข้อเท้า
สองนักศึกษาไทยนักกิจกรรมถูกนำตัวไปขึ้นศาลเพื่อกล่าวคำรับสารภาพต่อข้อหาลบหลู่พระมหากษัตริย์ของชาติ
จากการเล่นละครเกี่ยวกับกษัตริย์จำลององค์หนึ่ง
Patiwat Saraiyaem, 23, and Pornthip Munkong, 25, face up
to 15 years in jail under Thailand’s lèse majesté laws, considered the
world’s harshest.
ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (แบงค์) วัย ๒๓ ปี กับพรทิพย์ มั่นคง (กอล์ฟ)
อายุ ๒๕ ปี เจอกับระวางโทษจำคุกถึง ๑๕ ปี ตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
ซึ่งเป็นโทษรุนแรงที่สุดในโลก
The law is ostensibly protect King Bhumibol Adulyadej and
the royal family from defamatory slurs, but is in practice used in vendettas
and as a political tool.
กฏหมายนี้ถูกนำมาอ้างอย่างไม่ตรงความจริงว่าจะใช้ปกป้องพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับพระบรมวงศานุวงศ์
จากการถูกก่นด่าให้เสื่อมเสียพระเกียรติ
แต่ในทางปฏิบัติกลับถูกใช้ไล่ล่าล้างแค้นและเป็นเครื่องมือทางการเมือง
The offending content of the play, The Wolf Bride,
has not been made public, but it was performed to commemorate the 40th
anniversary of a pro-democracy student protest at Thammasat University that was
brutally crushed by the then military government in October 1973.
เนื้อหาของละคร ‘เจ้าสาวหมาป่า’ ไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ
แต่ว่าแสดงในโอกาสครบรอบ ๔๐
ปีแห่งการประท้วงของนักศึกษาผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนตุลาคม
๒๕๑๖ ซึ่งถูกบดขยี้อย่างเหี้ยมโหดโดยรัฐบาลทหารขณะนั้น
“My boy did not intend to insult the monarchy, he is just
an actor,” Patiwat’s father Aiyakan Saraiyaem told news agency AFP outside the
court.
“ลูกของผมไม่ได้ตั้งใจเหยียดหยามสถาบันกษัตริย์
เขาแค่เป็นผู้แสดงคนหนึ่ง” อัยการ สาหร่ายแย้ม
บิดาของปฏิวัฒน์บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีข้างนอกศาล
Held in custody since their arrests, both students were
denied bail, and pleaded guilty in an attempt to avoid further jail-time.
นักศึกษาทั้งสองคนถูกควบคุมตัวไว้ตั้งแต่วันที่ถูกจับ
และถูกปฏิเสธขอปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งคู่ยอมรับสารภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการติดคุกมากไปกว่านี้
The case is indicative of spiraling political
prosecutions in Thailand exacted through lèse majesté, otherwise known
as Article 112. In recent years, a bevy of academics, politicians, journalists
and even a 61-year-old grandfather have fallen foul of this law. And it has
almost nothing to do with safeguarding the Thai monarchy.
คดีนี้ส่อให้เห็นถึงการดำเนินคดีทางการเมืองในประเทศไทยที่เป็นอยู่ไม่หยุดยั้งผ่านทางการบังคับใช้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
หรือที่รู้จักกันในนามมาตรา ๑๑๒ ตลอดหลายปีที่เพิ่งผ่านมานี้ นักวิชาการ
นักการเมือง นักหนังสือพิมพื แม้แต่คุณตาอายุ ๖๑ ปีก็ตกเป็นเหยื่อความโหดร้ายของกฎหมายนี้
โดยเกือบที่จะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ไทยเสียด้วย
It is “political weaponry in the guise of a legal
system,” says Jakrapob Penkair, a former Minister to the Prime Minister’s Office,
who was accused of lèse majesté over a speech he gave at Thailand’s
Foreign Correspondent’s Club that rebuked the nation’s culture of royal
patronage. “It encourages people to go berserk.”
“มันเป็นอาวุธทางการเมืองจำแลงมาในรูปของระบบกฏหมาย” จักรภพ
เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ผู้ซึ่งโดนข้อหาหมิ่นฯ กษัตริย์
ด้วยตนเองจากการไปปาฐกถาที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แสดงการคัดค้านธรรมเนียมของการอยู่ใต้พระบรมราชูปถัมภ์
เขาว่า “มันทำให้ผู้คนบ้าคลั่ง”
This is because lèse majesté cases can be brought
by any Thai citizen — no matter what country they reside in, and at any time,
against any other individual, Thai or foreign. (Criminal cases, by contrast,
are typically brought by a department of public prosecutions.)
ทั้งนี้เนื่องจากคดีหมิ่นฯ กษัตริย์ สามารถยื่นฟ้องโดยพลเมืองไทยคนใดก็ได้
ไม่เกี่ยงว่าเขาจะอาศัยอยู่ในประเทศใด หรือฟ้องใคร คนไทยหรือต่างชาติก็ตามแต่ ในเวลาไหนไม่แคร์
(ส่วนคดีอาญานั้นกลับตรงข้ามที่ต้องยื่นฟ้องโดยสำนักงานอัยการเป็นสำคัญ)
This Orwellian culture is fostered by the state. During
the tenure of former Democrat Party Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who was
in power from 2008 to 2011, he appeared on huge billboards asking citizens to
“protect the monarchy” by reporting those whom defamed the institution.
วัฒนธรรมของการใช้อำนาจป่าเถื่อนเช่นนี้ถูกชุบเลี้ยงโดยรัฐ
ระหว่างยุคที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีช่วงปี
๒๕๕๑ ถึง ๒๕๕๔ มีรูปของเขาขึ้นบิลบอร์ดขนาดยักษ์เรียกร้องให้พลเมืองออกมา ‘ปกป้องสถาบันกษัตริย์’ ด้วยการช่วยกันรายงานผู้ที่ทำให้สถาบันฯ
เสื่อมเสีย
And so the vast majority of lèse majesté cases are
brazenly political or spurred by personal grudges. Last week, for example, the
Democrat Party’s legal advisor filed lèse majesté charges
against Suda Rangkupan, a former Chulalongkorn University lecturer and
supporter of ousted Prime Minister Yingluck Shinawatra, for wearing the color
black during December, the month of King Bhumibol’s birth. (Thais traditionally
wear his birthday color of yellow out of respect.)
ดังนั้นคดีหมิ่นฯ กษัตริย์ส่วนใหญ่จึงแปดเปื้อนไปด้วยการเมืองหรือเป็นเรื่องเกิดจากความไม่พอใจกันเป็นส่วนตัวทั้งนั้น
ตัวอย่างเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่ปรึกษากฏหมายพรรคประชาธิปัตย์ยื่นฟ้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อสุดา รังกุพันธุ์ อดีตอาจารย์ผู้บรรยายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสนับสนุนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเธอสวมใส่เสื้อผ้าสีดำในเดือนธันวาคม อันเป็นเดือนพระราชสมภพของพระเจ้าอยู่หัวฯ (ธรรมเนียมไทยจะสวมใส่สีเหลือง สีประจำวันเกิดของพระองค์ เพื่อแสดงความจงรักภักดี)
ตัวอย่างเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่ปรึกษากฏหมายพรรคประชาธิปัตย์ยื่นฟ้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อสุดา รังกุพันธุ์ อดีตอาจารย์ผู้บรรยายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสนับสนุนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเธอสวมใส่เสื้อผ้าสีดำในเดือนธันวาคม อันเป็นเดือนพระราชสมภพของพระเจ้าอยู่หัวฯ (ธรรมเนียมไทยจะสวมใส่สีเหลือง สีประจำวันเกิดของพระองค์ เพื่อแสดงความจงรักภักดี)
Preposterous as these charges plainly are, most Thais are
afraid of, and conditioned against, speaking out. Thai journalists cannot
report on cases freely without putting themselves at risk of prosecution, while
courtiers appears to be immune.
ถึงแม้ข้อกล่าวหาอย่างนี้จะงี่เง่าเพียงใด
คนไทยส่วนใหญ่จะหวาดกลัว และระวังตัวไม่กล้าพูดโต้แย้ง นักหนังสือพิมพ์ไทยก็ไม่อาจรายงานรูปคดีอย่างเสรีโดยไม่เสี่ยงนำตัวเองเข้าไปติดร่างแหถูกกล่าวหาด้วย
ขณะที่พวกรับสนองก็จะได้รับการปกป้องอย่างดี
“Rational Thais who respect the monarchy no less than the
rest are becoming more aware that lèse majesté law is enforced to
protect a few privileged commoners lurking around the palace at the expense of
the institution itself,” Verapat Pariyawong, a Harvard-trained Thai lawyer who
is currently a visiting scholar at the University of London, tells TIME.
“คนไทยที่มีเหตุมีผลซึ่งจงรักภักดีต่อกษัตริย์ไม่น้อยไปกว่าคนอื่นๆ
ชักจะเริ่มรู้สึกไม่ชอบมาพากลกันแล้วว่า กฎหมายหมิ่นฯ
กษัตริย์ใช้บังคับเพื่อปกป้องคนธรรมดาที่ได้รับสิทธิพิเศษ
ซึ่งรายล้อมราชสำนักเพียงไม่กี่คนเท่านั้น โดยที่ความเสียหายไปตกอยู่กับสถาบันฯ
กษัตริย์เสียเอง” วีรพัฒน์ ปริยะวงศ์ นักกฎหมายไทยซึ่งผ่านการฝึกฝนจากฮาวาร์ด
ผู้ที่ปัจจุบันเป็นนักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวกับไทม์
Sometimes, an indirect connection with the cause of
offense is sufficient. When Ekachai Hongkangwan was arrested in 2012 for
peddling pirated copies of an Australian documentary about the Thai monarchy,
the fact that that the material was essentially accurate, and that he had no
part in its creation, was no defense.
บางครั้ง
แม้การเกี่ยวโยงโดยทางอ้อมก็เพียงพอใช้อ้างเป็นความผิดได้แล้ว เมื่อเอกชัย
หงส์กังวาล ถูกจับกุมในปี ๒๕๕๕
ข้อหาแจกจ่ายหนังสือสารคดีจากออสเตรเลียเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย บนข้อเท็จจริงที่ว่าเนื้อหาในหนังสือนั้นถูกต้อง
และตัวเขาไม่มีส่วนในการสร้างสรรค์หนังสือเล่มนี้ก็ตาม
ศาลก็ยังไม่รับเป็นเหตุผลข้อต่อสู้
“Because,” Judge Aphisit Veeramitchai explained to
the court, “if it is true, it is more defamatory; and if it isn’t true, then
it’s super defamatory.” Ekachai was jailed for
three and a half years.
“ทั้งนี้เพราะ” ผู้พิพากษา อภิสิทธิ์ วีระมิตรชัย อธิบายต่อศาลว่า
“ถ้ามันเป็นความจริง ก็ยิ่งหมิ่นประมาทมากขึ้น และถ้าหากไม่เป็นจริง นั่นถึงขั้นอภิมหาหมิ่นประมาทเลยละ”
เอกชัยจึงถูกสั่งจำคุกไปสามปีครึ่ง
“ถ้ามันเป็นความจริง ก็ยิ่งหมิ่นประมาทมากขึ้น และถ้าหากไม่เป็นจริง นั่นถึงขั้นอภิมหาหมิ่นประมาทเลยละ”
เอกชัยจึงถูกสั่งจำคุกไปสามปีครึ่ง
Little wonder most people accused of Article 112 either
apologize or meekly claim to be misunderstood, rather than attack the lèse
majesté laws in the first place. This ensures that there is no public
debate on the law.
ไม่น่าแปลกใจเลยว่าคนส่วนใหญ่ที่โดนข้อหามาตรา ๑๑๒
ถ้าไม่ขอโทษ หรือสยบยอมด้วยข้ออ้างว่าเข้าใจผิด แทนที่จะฮึดสู้กับกฎหมายหมิ่นฯ นี้เลยแต่แรก
เช่นนี้เองจึงกลายเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการถกเถียงเรื่องความเหมาะสมของกฏหมายนี้ในทางสาธารณะ
The scope of lèse majesté has also flourished
contrary to the expressed wishes of King Bhumibol. During his birthday speech
in 2005, the monarch said,
“Actually, I must also be criticized. I am not afraid if the criticism concerns
what I do wrong, because then I know. Because if you say the king cannot be
criticized, it means that the king is not human. If the king can do no wrong,
it is akin to looking down upon him because the king is not being treated as a
human being. But the king can do wrong.”
ขอบข่ายของกฎหมายหมิ่นฯ กษัตริย์นี้ยังแผ่ขยายไปอย่างตรงข้ามกับพระราชดำรัสของกษัตริย์ภูมิพล
ซึ่งทรงตรัสไว้ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปี ๒๕๔๘ พระองค์ตรัสว่า “ที่จริงแล้ว
ข้าพเจ้าต้องถูกวิจารณ์ได้ ข้าพเจ้าไม่กลัวกับคำวิจารณ์ในสิ่งที่ข้าพเจ้าทำผิดพลาด
เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ เพราะถ้าหากบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้
ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่คน ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทำผิดไม่ได้ ก็เท่ากับดูถูกพระองค์
เพราะไม่ได้ปฏิบัติต่อพระองค์อย่างคน แต่ว่าพระเจ้าอยู่หัวน่ะทำผิดได้”
(หมายเหตุ ถ้อยคำในพระราชดำรัสตามที่บันทึกโดย http://kanchanapisek.or.th/speeches/2005/1204.th.html ในตอนนี้ระบุว่า “ความจริง The King can do no wrong คือ การดูถูกเดอะคิงอย่างมาก เพราะว่าเดอะคิงทำไม can do no
wrong ไม่ได้ do wrong แสดงให้เห็นว่าเดอะคิงไม่ใช่คน
แต่เดอะคิงทำ wrong ได้")
Article 112 is typically deployed with politically
expedient timing, rather than at the time of the supposed offense. The former
minister Jakrapob made his offending speech eight months before charges were
laid; students Patiwat and Pornthip performed their play in October 2013, but
were only arrested this past August.
มาตรา ๑๑๒ มักนำมาใช้กันตามความสะดวกของจังหวะทางการเมือง
แทนที่จะเป็นตามช่วงเวลาที่เกิดการละเมิด
อดีตรัฐมนตรีจักรภพแสดงปาฐกถาอันเป็นเหตุให้เขาถูกกล่าวหาละเมิดเมื่อ ๘
เดือนก่อนหน้าเขาถูกดำเนินคดี
สองนักศึกษาปฏิวัฒน์กับพรทิพย์นั้นแสดงละครเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๖
แต่เพิ่งมาถูกจับเมื่อเดือนสิงหาคมนี่เอง
“It’s not about your action, it’s about the timing,” says
Jakrapob. “They wait until the moment when you seem most vulnerable.”
“มันไม่ใช่เรื่องการกระทำหรอก มันเป็นเรื่องของจังหวะเวลา”
จักรภพว่า “เขาจะรอจนกระทั่งถึงนาฑีที่คุณดูเหมือนอ่อนแรงที่สุดแล้วจึงเข้าจัดการ”
So why are students being targeted now? Since Thailand’s
latest military coup of May 22, opposition to the new junta government has been
brutally quashed. Yet, in recent months, students have become emboldened as
public dissatisfaction grows over a slew of scandals, and have displayed great
daring by even publicly heckling
dictator Prayuth Chan-Ocha.
แล้วทำไมพวกนักศึกษาจึงตกเป็นเป้ากระทำในขณะนี้ นับแต่รัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อ
๒๒ พฤษภาคม การต่อต้านคณะผู้ปกครองของทหารถูกบดขยี้ยับเยิน
แต่กระนั้นในช่วงที่ผ่านมานี้นักศึกษากลับแกร่งกล้าขึ้น
ขณะที่สาธารณะชนเริ่มไม่พอใจกับเรื่องอื้อฉาวต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น
แล้วก็แสดงออกอย่างท้าทาย แม้ในการตะโกนก่นว่าต่อหน้าผู้เผด็จการประยุทธ์
จันทร์โอชา ในที่สาธารณะ
“They are using the youngsters as an example,” says
Jakrapob of the latest charges, “to say that regardless of your age or social
background, we will not hesitate.”
“เขาใช้เด็กหนุ่มสาวเป็นเหยื่อเชือด”
จักรภพกล่าวถึงการดำเนินคดีหลังสุด “เพื่อจะบอกว่าเรื่องอายุอานามหรือว่าภูมิหลังทางสังคมนั้นเราไม่ยี่หระ
ไม่ต้องฉุกคิดแต่อย่างใดเลย”
And so as protests increase, lèse majesté has
followed suit. A study
published November by the Paris-based International Federation for Human Rights
noted 18 cases since the generals seized power, usually tried through
fast-track kangaroo courts. These include a radio show host jailed for five
years, and a 24-year-old student jailed for two-and-a-half years for posting a
Facebook message under a pseudonym. On Wednesday, Internet providers were granted
sweeping new powers to remove any content verging on lèse majesté. The
junta even pursues those
who have fled overseas.
เช่นนั้นเมื่อมีการประท้วงเพิ่มขึ้น คดีหมิ่นฯ กษัตริย์ก็ตามมา
รายงานการศึกษาปัญหาที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน
โดยสหภาพสิทธิมนุษยชนนานาชาติซึ่งมีฐานอยุ่ในกรุงปารีสระบุว่า มีคนถูกดำเนินคดีหมิ่นฯ
กษัตริย์ ๑๘ รายนับแต่พวกนายพลยึดอำนาจมา
คดีเหล่านี้มักจะพิจารณาอย่างรวดเร็วในศาลจิงโจ้ของไทย คนเหล่านี้รวมทั้งนักจัดรายการวิทยุถูกสั่งจำคุก
๕ ปี นักศึกษาวัย ๒๔ ติดคุกสองปีครึ่งสำหรับการไปลงข้อความบนเฟชบุ๊คโดยใช้นามแฝง
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตได้รับอำนาจเบ็ดเสร็จใหม่
ที่จะลบเนื้อหาข้อความใดที่เห็นว่าเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นฯ กษัตริย์
พวกคณะทหารผู้ปกครองยังได้ไล่ล่าคนที่ลี้หนีภัยไปอยู่ต่างประเทศด้วย
It appears the Thai establishment wants to silence
dissent before the delicate time of succession approaches. King Bhumibol is the
world’s richest monarch, worth an estimated $30
billion, but is 87 years old and ailing. Many ascribe Thailand’s festering
political travails to the wrangling for control of this vast fortune before
Bhumibol passes on the crown.
ดูเหมือนว่าพวกอำมาตย์ของไทยต้องการปิดปากพวกต่อต้านให้เสร็จสรรพเสียก่อนสถานการณ์เปลี่ยนผ่านรัชกาลอันเปราะบางจะมาถึง
กษัตริย์ภูมิพลทรงเป็นองค์ราชันย์ที่มั่งคั่งที่สุดในโลก
พระราชทรัพย์ประเมินได้ราว ๓๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ขณะนี้พระองค์มีพระชนมายุ ๘๗ ชันษา สุขภาพถดถอย
หลายคนให้อัตถาธิบายสภาพการเมืองระส่ำระสายไม่รู้จบสิ้นในประเทศไทยว่าเป็นการฟัดเหวี่ยงช่วงชิงกันเข้าควบคุมศฤงคารมหาศาลนี้ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลจะทรงส่งผ่านราชบัลลังก์
This has already been reflected in the purges of
powerful policemen connected to the recently jilted wife of Crown Prince Maha
Vajiralongkorn, using, among other charges, lèse majesté. The military
must maintain a vice-like grip on power to ensure the succession takes place as
its powerful backers wish.
เช่นนี้สะท้อนให้เห็นจากการกวาดล้างกลุ่มอิทธิพลตำรวจซึ่งเกี่ยวดองกับพระวรชายาในองค์มกุฏราชกุมาร
มหาวชิราลงกรณ์ ซึ่งเพิ่งสละบรรดาศักดิ์ไป ทั้งนี้ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
นอกเหนือจากข้อหาอื่น
คนในกองทัพจำต้องกำอำนาจไว้ให้เหนียวแน่นเพื่อเป็นหลักประกันว่า
การเปลี่ยนผ่านเป็นไปในแนวทางที่ผู้สนับสนุนอันทรงอิทธิพลเบื้องหลังพวกตนมุ่งหมาย
“At this very delicate time of transition, they cannot
afford to give an inch to anyone,” says Jakrapob, “and the young people worry them.”
“ในช่วงเวลาที่เปราะบางของการเปลี่ยนผ่านนี้
พวกเขาไม่อาจยอมให้กับใครที่ไหนได้เลยแม้แต่นิ้วเดียว” จักรภพว่า “แล้วบรรดาคนหนุ่มสาวนี่แหละที่ทำให้พวกเขากังวลใจ”
Analysis: Thailand's Political Crisis Could Hinge on Who's in the Palace
บทวิเคราะห์:
วิกฤตการเมืองไทยขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้ครอบครองวัง
By Ian Williams
โดย เอียน วิลเลียมส์
(หมายเหตุ: แปลตามตัวอักษร โดย “สถาบันประชาชน”)
BANGKOK — Seven months after seizing power, Thailand's military rulers
appear to be in no hurry to hand over political control. There is talk that
elections won't take place before 2016.
กรุงเทพมหานคร—เจ็ดเดือนหลังจากการยึดอำนาจ คณะทหารที่เข้าปกครองประเทศไทยดูเหมือนจะไม่ได้มีความเร่งรีบที่จะมอบคืนอำนาจ
ได้มีการพูดออกมาแล้วว่าการเลือกตั้งจะไม่มีขึ้นก่อนปี 2016
As they settle in for the long haul, Thailand's gaffe-prone generals have
been focused on their mission to "return happiness to the people."
Coup leader and now Prime Minister General Prayuth Chan-ocha has written a
sentimental ballad by that name and every Friday appears on his one-man
television show to remind Thais of their duties — which don't include deploying
a "Hunger Games" salute.
เมื่อได้ลงหลักปักฐานที่จะอยู่ยาว เหล่านายพลของไทยที่มักมีปัญหาด้านมารยาทสังคม
ได้เน้นไปที่ภารกิจ “คืนความสุขให้ประชาชน” หัวหน้าคณะรัฐประหาร และตอนนี้ก็มาเป็นนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ได้เอาชื่อภารกิจนั้นมาแต่งเพลงหวานซึ้ง และทุกวันศุกร์เขาก็จะปรากฏตัวในรายการทีวีของเขาที่มีเขาออกคนเดียว
เพื่อที่จะมาเตือนคนไทยให้รู้จักหน้าที่ของตัวเอง--โดยที่หน้าที่นั้นไม่ได้รวมถึงการชู
3 นิ้วคารวะแบบในหนัง “Hunger Games”
That three-fingered gesture — adopted from the popular films — has been
adopted by those protesting military rule. Students who've dared to flash it
have been detained and sent for "attitude adjustment."
ท่าชู 3 นิ้วจากหนังยอดนิยม ได้ถูกนำมาใช้แสดงการต่อต้านการเข้าปกครองของทหาร
นักศึกษาที่กล้าท้าทายออกมาแสดงสัญลักษณ์เพียงแวบหนึ่งก็ถูกจับ และถูกส่งไป “ปรับทัศนคติ”
However, as the year draws to a close, it is palace intrigue and not
Thailand's increasingly eccentric generals who are the talk of Bangkok — albeit
in hushed or oblique tones because of draconian laws that limit open discussion
of the monarchy.
อย่างไรก็ตามเมื่อนานวันเข้า เรื่องที่โจษขานกันทั่วกรุงกลับไม่ใช่เรื่องพวกนายพลที่ทำตัวพิลึกกึกกือมากขึ้นทุกที
แต่กลับกลายเป็นเรื่องลับลมคมในของฝ่ายวัง—แต่กระนั้นการโจษขานก็เป็นไปอย่างอ้อมๆ หรือแบบซุบซิบ เพราะมีกฎหมายอันโหดร้ายทารุณที่จำกัดการพูดคุยแบบเปิดเผยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
Among a number of senior police officers arrested in late November for
alleged corruption and defaming the monarchy were the uncle and three brothers
of Princess Srirasmi.
ในบรรดาตำรวจระดับสูงที่ถูกจับกุมในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
ในข้อหาฉ้อโกงและหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ มีอาและพี่น้องสามคนของเจ้าหญิงศรีรัศมิ์
Srirasmi — who was in line to be Queen of Thailand — was stripped of her
royal title and promptly divorced by her husband, Crown Prince Maha
Vajiralongkorn.
ศรีรัศม์ –ผู้ซึ่งอยู่ในคิวที่จะได้เป็นราชินีของประเทศไทย--ได้ถูกถอดออกจากยศศักดิ์ทางราชวงศ์
และถูกสามีของเธอหย่า ซึ่งก็คือเจ้าชายรัชทายาทมหาวชิราลงกรณ์
Thai
Princess Srirasmi, Crown Prince Maha Vajiralongkorn and their son Prince
Dipangkorn Rasmijoti on Dec. 5, 2011. (ภาพประกอบข่าวเอ็นบีซี)
|
The royal couple were married in 2001 and have one son. Now that
Vajiralongkorn has split from Srirasmi, his third wife, many suspect he will
soon wed his Munich-based mistress — with whom he has another son.
ทั้งคู่แต่งงานกันในปี 2001 และมีบุตรชายหนึ่งคน
ในตอนนี้ที่วชิราลงกรณ์ได้แยกทางแล้วกับศรีรัศมิ์ซึ่งเป็นภรรยาคนที่สาม
หลายคนตั้งข้อสงสัยกันว่าเขาจะแต่งงานใหม่ในไม่ช้ากับหม่อมที่ไปอยู่ด้วยกันที่เมืองมิวนิค
–ซึ่งกับคนนี้เขาก็มีลูกชายด้วยอีกคนหนึ่ง
The marital (and extra-marital) adventures of the Crown Prince might well
have been dismissed as nothing new if not for one thing: timing. Maneuvering
for Thailand's royal succession has been one of the key factors driving a
decade of political conflict in the southeast Asian nation — and now it appears
that succession may be imminent.
การสมรสของรัชทายาทคงจะถูกตีตกไปว่าไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร
ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะสิ่งหนึ่ง นั่นก็คือจังหวะเวลา
การบังคับทิศทางของการสืบราชบัลลังก์ของไทย จัดว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมืองในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ และเวลานี้เป็นที่ประจักษ์ว่าการสืบบัลลังก์น่าจะใกล้เข้ามาเต็มที
การบังคับทิศทางของการสืบราชบัลลังก์ของไทย จัดว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมืองในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ และเวลานี้เป็นที่ประจักษ์ว่าการสืบบัลลังก์น่าจะใกล้เข้ามาเต็มที
Thailand's King Bhumibol Adulyadej, the world's longest-serving monarch, is
87 years old and ailing. Earlier this month, he cancelled a public appearance
for his birthday on the advice of his doctors.
กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชของไทย ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก
ขณะนี้ อายุ 87 ปี และกำลังป่วย ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวานี้เอง
เขาได้ยกเลิกการปรากฏตัวต่อสาธารณะในวันเกิดของเขา ตามคำแนะนำของแพทย์ของเขา
The newly-divorced Vajiralongkorn is the heir apparent — but his often (Censors)
วชิราลงกรณ์ที่เพิ่งหย่าร้างใหม่ๆ เป็นทายาทตามที่ปรากฏรับรู้กัน
แต่ทว่า (-)
Vajiralongkorn has also been close to deposed former Prime Minister Thaksin
Shinawatra, who is now in self-imposed exile. Shinawatra has been banking on
the Crown Prince's ascent as a means to pave the way for his triumphant return
to Thailand — a prospect that horrifies the old elite which has spend most of
the last decade trying to keep Thaksin, his proxies and family out of power.
นอกจากนี้ วชิราลงกรณ์ยังมีความสนิทสนมกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
ชินวัตร ที่ขณะนี้หลบลี้หนีภัยอยู่นอกประเทศ ชินวัตรได้สนับสนุนเงินในการขึ้นครองบัลลังก์ของรัชทายาท
ซึ่งปูทางสู่การได้กลับประเทศไทยอย่างผู้ชนะของเขา
การวาดฝันอันบรรเจิดนี้ได้สร้างความสะพรึงกลัวให้กับพวกชนชั้นสูงหัวเก่า ที่ได้ลงทุนไปมากมายตลอด 10 ปีที่ผ่านมาในการกำจัดทักษิณ ตัวแทนของทักษิณและครอบครัวออกจากอำนาจ
การวาดฝันอันบรรเจิดนี้ได้สร้างความสะพรึงกลัวให้กับพวกชนชั้นสูงหัวเก่า ที่ได้ลงทุนไปมากมายตลอด 10 ปีที่ผ่านมาในการกำจัดทักษิณ ตัวแทนของทักษิณและครอบครัวออกจากอำนาจ