วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2567

Book Review "ในนามของความมั่นคงภายใน: การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย" สรุปได้ครอบคลุมมาก


Puangthong Pawakapan
16 hours ago
·
อ่านเร็วและสรุปได้ครอบคลุมมาก ขอบคุณมากค่ะ

กับแกล้มแนมประวัติสาด
6 days ago
·
Book Review
"ในนามของความมั่นคงภายใน: การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย" โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
พิมพ์โดย ฟ้าเดียวกัน
หนังสือเล่มนี้พยายามที่จะอธิบายว่า นิยามคำว่า "ความมั่นคง" ของกองทัพไทยนั้นมันกินความหมายกว้างกว่าที่เราเข้าใจมากมาย ซึ่งหน้าที่ที่ต้องป้องกันภัยคุกคามจากภายนอกมันน้อยไปสำหรับพวกเขา
ความมั่นคงภายในนี่แหละที่อาจจะเป็นพันธกิจตลอดกาลนานและตลอดไปของพวกเขาก็เป็นได้
..
ซึ่งนอกจากอำนาจดิบ ๆ ที่สามารถใช้ได้ ไม่ว่าการทำรัฐประหาร, การปราบปรามประชาชนด้วยอาวุธ ฯลฯ แล้ว ยังมีการพยายามที่จะ shape up สังคมหรือทำตัวเป็นผู้นำทางความคิด และเป็นผู้เล่นหรือผู้ปฏิบัติการทางการเมืองที่สำคัญ (soft power นี่แหละ) มาอยู่ตลอดเวลาก็ได้ (อันนี้หลายคนคงทราบแบบไม่ต้องบอก)
พระเอกของหนังสือคือ "กอ.รมน."
หน่วยงานที่มีหน้าที่คลุมเครือแต่คงอยู่มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น
แม้ภัยจาก พคท.จะจบแล้ว แต่เราจะยังคงอยู่ซะอย่างใครจะทำไม
ก็เพราะว่าคำว่า "ความมั่นคง" ของกองทัพมันจะจบลงแค่นั้นไม่ได้ มันได้สยายปีกกว้างไปกินหลายปริมณฑลไปหมด เช่น ความยากจน, สิ่งแวดล้อม, ยาเสพติด, ความขัดแย้งภายในการเมือง, ศาสนา-ชาติพันธุ์ ฯลฯ
ต้องเข้าไปยุ่งไปเกี่ยวและเที่ยวประกาศบอกชาวบ้านถึงหน้าที่อันกว้างขวาง (บอกดัง ๆ บ้าง หรือบางทีก็แอบ ๆ ทำบ้าง) เพื่อที่จะได้อธิบายความคงอยู่ของตัวเองได้โดยไม่ขัดเขิน
ความรู้-ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ มีจริงไหมก็ไม่รู้?
ความชอบธรรมจะมีไหมใครจะสน ก็ฉันต้องทำอะ!!
อะไรประมาณนั้น....
นี่ก็เป็นบทเกริ่นนำในหนังสือที่ผมจับใจความมาได้
***แต่...ผู้เขียนบอกไว้แต่ต้นเลยนะว่าไม่ได้เขียนเรื่อง 3 จว.ชายแดนใต้ เพราะเรื่องนี้มันใหญ่เกินกว่าขอบเขตวิจัย จนกลายเป็นอีกหนึ่งวิจัยได้เลยอะ แกเลยรอคนมาทำแยกดีกว่า ...อ.พวงทองแกว่างั้นนะ***
ทีนี้มาดูว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาโดยสังเขปว่ามีอะไรบ้าง
- ความเป็นมาของ กอ.รมน.
- กาลเทศะที่เปลี่ยนไป ทำให้ความคงอยู่ของพวกเขาต้องเปลี่ยนตาม การปรับตัวเพื่ออยู่รอดนั้นมันแลกมาด้วยอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาของประชาธิปไตยแน่ ๆ แต่กองทัพอยู่ได้
- ยุคสมัยแรกก็มี lesson learned จากพี่เลี้ยงในยุคสงครามเย็น ที่สอนมาว่า "พัฒนาแต่อาวุธหรือใช้ความรุนแรงอย่างเดียวน่ะมันไม่ชนะหรอก ต้องน้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวกด้วยถึงจะดี" ผู้สอนนั่นก็คือ USA นั่นเอง
- จากนั้นมาแนวคิดเรื่องความมั่นคงของกองทัพก็ไม่ยึดติดกับยุทธวิธีทางสงครามอีกต่อไป แต่มีเรื่อง "การพัฒนาและการเมือง" มาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(แม้กองทัพในสมัยคณะราษฎรจะเคยทำก็เถอะ แต่ไม่เคยเป็นเอกภาพขนาดนี้มาก่อนจนเริ่มหลังรัฐประหารของสฤษดิ์ หลัง 2500)
- จากนั้นมา กิจการของกองทัพก็เริ่มเฟื่องฟู
- ในหนังสือจะเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองที่มีกองทัพมาเกี่ยวข้อง แล้วก็จบด้วยการสูญเสียของประชาชน และบางทีก็มีการถอยออกไปของกองทัพบ้าง (เช่น พ.ค.35) หรือบางทีก็แค่โบ้ยเรื่องตัวบุคคล แล้วกองทัพที่เหลือก็ยังรอด ไม่โดนอะไร (เช่นหลัง 14 ต.ค.16 ที่เอาสามทรราชย์ออกก็เป็นพอ เป็นความผิดตัวบุคคลเท่านั้น กองทัพที่เหลือไม่เกี่ยว)
- นักการเมืองก็ไม่เคยคิดจะทำอะไรในช่วงที่ว่านั้น ไม่มีทีท่าจะจัดการลดบทบาทของกองทัพเมื่อมีโอกาส เช่น รัฐบาลหลัง พ.ค.35 ที่กองทัพถอยแล้วแต่พวกตัวเองก็ทำเฉย ไม่ยอมปฏิรูปซะ แถมบางทียังไปเพิ่มบทบาทอื่นที่นอกจากเรื่องการจับอาวุธให้เขาอีกซะงั้น นี่ยิ่งสร้างความชอบธรรมที่จะเข้ามายุ่งกับการเมืองให้กองทัพชัด ๆ (แม้จะเข้ามายุ่งแต่ก็ต้องอยู่เงียบ ๆ ก่อนเพราะทำงามหน้าไว้เยอะตอนปราบประชาชนด้วยความรุนแรง แต่เป็นความเงียบแบบสะสมพลังรอวันกลับมานะ)
- แม้แต่สมัยทักษิณเองก็ยังอาศัยบทบาทและเครือข่ายของ กอ.รมน.ในการสนองนโยบายตัวเองในสมัยแรกเลย นั่นก็คือการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นการขยายปริมณฑลความชอบธรรมทางการเมืองของกองทัพเช่นกัน
- และคุณก็รู้ว่าใช่ไหมว่ากองทัพสนิทกับสถาบันใด
แน่นอนว่าคือ "สถาบันกษัตริย์"
- ยิ่งในช่วงรัชสมัย ร.9 ภาพธรรมราชาและกษัตริย์นักพัฒนานักยากจะลืม และกองทัพที่คอยติดตามช่วยโครงการหลวงก็จะต้องมีนามสกุล "ทหารนักพัฒนา" ติดมาด้วยให้ได้
- การอาศัยภาพพจน์ที่ดีของ ร.9 มาช่วยกลบภาพพจน์ที่แย่ของกองทัพเองนั้นก็เป็นแทคติคหนึ่งที่ไม่ทำให้ตัวเองหมดหน้าที่เหล่านี้ไป และหลายครั้งก็ได้รับการ endorse ของตัวกษัตริย์เอง ราวกับเป็นนายประกันรับรองแทนว่า กองทัพนั้นไว้ใจได้
- สิ่งที่ กอ.รมน.ทำแบบหนัก ๆ ก็คือ การสร้างความมั่นคงของอุดมการณ์และการคงอยู่ของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ นั่นแหละ (ใคร ๆ ก็น่าจะรู้) ฉะนั้น การทำหน้าที่ชี้ชวน, แสดงตนเป็นผู้นำทางอุดมการณ์ ด้วยการไปอบรม หรือคอยตาม "ปรับทัศนคติ" ผู้ที่คิดต่างนั้นคือ mission ของเขาแบบแบเบอร์
- และรู้ไหมว่าในช่วงเปลี่ยนรัชสมัย นักพูดปลุกใจคนหนึ่งที่มีวลีติดลมบนว่า "เกิดอีกสิบชาติก็ไม่เจอมหาราชที่ชื่อ...." นั้นก็คือโดนจ้างด้วย กอ.รมน.ไปพูดบรรยายบ่อยมาก ๆๆๆ
- วาทกรรม "การเมืองนำการทหาร" ที่ทหารปีกพิราบในยุคปลายสงครามเย็นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้น มันทำได้จริงเพราะพวกเขาเจ๋งจริง? หรือแค่ hype กันไปเอง? ในหนังสือมาวิเคราะห์ให้ฟังถึงปัจจัยภายนอกที่สำคัญมาก ๆ แล้วกองทัพค่อยมาใช้กระแสตามน้ำได้ประโยชน์ไปด้วย ..แต่ก็ถือว่าจับกระแสเก่งแหละนะ..
แต่ทีหลัง ๆ นี่เริ่มไม่ได้จับกระแสเก่งเหมือนแต่ก่อนแล้วนะ เพราะทำอะไรมันก็ดูบ้ง ๆ ล้าหลังไปหมด
- รัฐประหาร 49 นี่เป็นการยกระดับความมีอยู่ของ กอ.รมน. จากที่เคยอยู่ใต้ฝ่ายบริหารเท่านั้น และฝ่ายบริหารสามารถยุบได้เองโดยการโหวตใน ครม. กลายเป็นว่าความมีอยู่ของหน่วยงานนี้อยู่ใต้กฎหมายระดับ พ.ร.บ. ดังนั้นหากจะยกเลิกต้องผ่านรัฐสภา (หมายความว่าจะยกเลิกยากขึ้นละ เพราะนักการเมืองบางประเภท..ก็อย่างที่รู้ ๆ กันว่าไม่มีอุดมการณ์หรอก ขอแค่ไม่แตะชามข้าวตูพอ หรือไม่ก็แค่ไม่โดนรัฐประหารก็เป็นพอ)
- โครงการพัฒนาต่าง ๆ ภายใต้การนำของสองสถาบัน ไม่ว่า "กองทัพ" และ "สถาบันกษัตริย์" ต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งไม่สามารถวัดผลและตรวจสอบได้อย่างจริงจัง (ก็แค่ดูชื่อสถาบันสิ ใครจะกล้าไปตรวจสอบล่ะ ยิ่งบ้านเมืองไม่เป็น ปชต ขนาดนี้)
- หลายโครงการที่เคยได้ยินชื่อ ผมก็เพิ่งมารู้ที่มาที่ไปและจุดจบอันงง ๆ ของพวกมันบางอันผ่านหนังสือเล่มนี่แหละ เช่น โครงการอีสานเขียว, โครงการ คจก. เป็นต้น
- หรือบางอันก็ยังไม่จบ และเพิ่งมาออกฤทธิ์ในปัจจุบันนี่แหละ เช่น มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด!!!
- หนังสือยังเล่าถึงฉากทัศน์และแนวคิด+อุดมการณ์ที่แฝงฝังของกองทัพว่าเป็นแบบใด ผ่านช่วงเวลาที่พวกเขาครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ เช่น หลังรัฐประหาร
- กองทัพจะจัดระเบียบในสิ่งที่พวกเขาคิดเองว่าดี ...
...แต่มันดีกับใคร? (ส่วนมากชาวบ้านเดือดร้อน แต่นายทุนกระเป๋าฟู)
- ความวอดวายหลาย ๆ อย่างที่ยังสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ก็มาจากตอน คสช.นี่แหละ เช่นการจัดการคืนพื้นที่ป่า (สิ่งที่เกิดขึ้นกับบิลลี่ พอละจี ก็เป็นหนึ่งในผลของโครงการนี้)
- และแน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ลืมที่จะชำแหละโครงสร้างมวลชนที่กองทัพ (นำโดย กอ.รมน.) ไปจัดตั้งไว้ และยังคงมีเหลือสืบทอดมาจนทุกวันนี้
- ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำและที่ดื้อดึงจะคงไว้ เพราะแน่นอนว่ามันเกี่ยวกับ "งบประมาณ" แน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเอาหน้าที่ไหนไปขอเล่า จะรัฐประหารเพราะไม่พอใจบ่อย ๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวห่านไข่ทองคำจะตุยแล้วก็อดกินกันยาว ๆ นะซี่!!!
...
...
....
..
#########
เฮ้อ!! เหนื่อย!
ก็ที่อ่าน ๆ มาจับใจความได้ประมาณนี้ครับ ไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดใด ๆ ไปก็ถือซะว่าเป็นความผิดของผมแต่เพียงผู้เดียวนะครับ ผู้เขียนทำมาดีมาก ๆๆๆ แล้ว
แต่รับรองได้อย่างว่าหนังสือเล่มนี้อ่านสนุกและเพลิดเพลินมาก ควรหามาติดบ้านไว้เป็นยาสามัญประจำบ้านนะ สำหรับคอประวัติศาสตร์การเมืองไทย
แล้ววันหน้าจะมาทำคลิปเสวนาเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ รับรองว่าสนุกแน่นอน
ด้วยรักในงบประมาณแบบไม่อยากหารกับใคร
Ultra7_11
#กอรมน
#ฟ้าเดียวกัน