บีบีซีไทย - BBC Thai
14 hours ago
·
กอ.รมน. มีไว้ทำไม
.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขอความร่วมมือในการระงับการจำหน่ายหนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยอ้างว่า “มีข้อมูลในลักษณะที่เป็นเท็จ” ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทำให้สังคมเข้าใจผิด และกระทบภาพลักษณ์ขององค์กรหน่วยงาน
.
พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษก กอ.รมน. เป็นผู้ออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ (14 ก.ย.) โดยมีใจความสำคัญว่า กอ.รมน. ได้ทำการตรวจสอบ พบว่า ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวไม่ได้มีคุณวุฒิการศึกษาและไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงโดยตรง, ไม่มีผลงานทางวิชาการในด้านความมั่นคงปรากฎให้เห็น, ไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย แต่ใช้วิธีการเลือกนำข้อมูลเฉพาะที่สนับสนุนแนวคิดตนเองที่ตั้งไว้แล้วนำมาเป็นข้อสรุปขึ้นเอง, ไม่ได้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงาน เช่น กอ.รมน. หรือกองทัพโดยตรง “จึงเกิดเป็นข้อสรุปย่อยที่เป็นเท็จจำนวนมาก นำมาสู่ข้อสรุปในภาพรวมถึงการแทรกซึมของกองทัพ โดยมี กอ.รมน. เป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมสังคมไทย”
.
เขาบอกด้วยว่า จะประสานทางมหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้กรุณาพิจารณาเรื่องการละเมิดข้อบังคับจริยธรรมของมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง รวมถึงอาจจำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป
.
สำหรับหนังสือที่โฆษก กอ.รมน.อ้างถึง เป็นผลงานของ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับปรุงจากหนังสือภาษาอังกฤษชื่อ “Infiltrating Society: The Thai Military's Internal Security Affairs (การแทรกซึมสังคม: กิจการความมั่นคงภายในของทหารไทย) ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์” จากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้วย
.
ตลอดเวลาที่ผ่านมา กอ.รมน. ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานฝ่ายพลเรือนทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และลึกลงไปถึงระดับจังหวัด จนนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่าทำให้เกิดภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ"
.
ย้อนดูภารกิจ และบทบาท ตลอดจนงบประมาณที่เกี่ยวข้องขององค์กรนี้ ได้จากบทความนี้
https://bbc.in/3B4bOMZ
.....
ส่องภารกิจ กอ.รมน. เหตุใดถูกมองว่าทำให้เกิดภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ"
2 พฤศจิกายน 2023
กิจกรรมที่ กอ.รมน. มีส่วนร่วมกับภาคส่วนราชการใน จ.นครปฐม
2. การบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการฯ ในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสามารถอายัดทรัพย์สินผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถึง 1.1 หมื่นล้านบาท
3. การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ขยายผลจับกุมขบวนการผู้นำพา 2,626 คน และผู้ลักลอบเข้าเมือง 120,000 คน กำกับและติดตามผลการดำเนินคดี ปกป้องคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายจากขบวนการค้ามนุษย์ให้เข้าถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ และทำให้ยกระดับสถานการณ์เป็นระดับเทียร์สอง
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยจัดตั้งเครือข่ายประชาชนใน 17 จังหวัด
เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. จ.ปราจีนบุรี ร่วมตรวจสถานบันเทิงและร้านอาหาร ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566
5. การแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผลจากการจับกุมของทุกส่วนราชการที่คดีถึงที่สุดแล้วมีมูลค่าถึง 173 ล้านบาท ทำให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาประกาศให้ไทยยังคงอยู่ในสถานะจับตามอง
นอกจากนี้ยังมีภารกิจอื่น ๆ ด้วยที่ระบุในรายงานฉบับนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 3 หน้า ประกอบด้วย การพิทักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของชาติ, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, การพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงและช่วยเหลือประชาชน และการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน เป็นต้น
เวทีเสวนาหัวข้อ "พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่" ที่ จ.ปัตตานี เมื่อ 28 ก.ย. 2562 นำมาสู่การแจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 12 ราย
ส่วนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ว่า “ภาคใต้มีความสงบสุขร่มเย็น” ในรายงานได้เพียงระบุถึงสถิติการก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้น 18.51% ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น 16.7% มีชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคม พหุวัฒนธรรมในระดับตำบล เพิ่มขึ้น 15% และผลการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 2.29%
ทั้งนี้ รายงานนี้ได้ระบุถึงคะแนนที่สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ กอ.รมน. อยู่ในระดับดีมาก คือ 94.75%
11 ปี ใช้งบไปกว่า 1 แสนล้านบาท
ประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณของ กอ.รมน. ก็เป็นหนึ่งในข้อถกเถียงของบรรดานักวิชาการ สื่อมวลชน รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านเช่นกัน
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา เพจคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยงบประมาณของ กอ.รมน. ที่ได้รับการจัดสรรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา (2556-2566) รวมเป็นเงินมากกว่า 100,000 ล้านบาท
บีบีซีไทยตรวจสอบในรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในแต่ละปี กอ.รมน. ได้รับจัดสรรงบประมาณให้เป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท บางปีได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงกว่าหมื่นล้านบาทโดยเฉพาะในช่วงท้ายของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะถูกปรับลดลงมาเรื่อย ๆ ในยุครัฐบาลหลังการเลือกตั้งปี 2562
อย่างในปี 2560 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ กอ.รมน. ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดในรอบ 10 ปี 10,410 ล้านบาท แบ่งเป็น
นอกจากนี้ยังรายงานฉบับดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดไว้ค่อนข้างกว้าง และตัวชีวัดวัดผลได้ยาก และเสนอว่า กอ.รมน. ควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาที่เป็นภัยคุกคามภายในราชอาณาจักร สำหรับทำแผนการป้องกัน หรือดำเนินการระดับนโยบาย ระยะสั้น กลาง และยาว
ถอดโครงสร้าง "รัฐบาลคณะน้อย"
ปัจจุบันนายเศรษฐา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.)
บีบีซีไทยเคยรายงานข่าวเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2562 โดยสรุปจากบทความเรื่อง "กิจการพลเรือนของทหารในยุคประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง : พัฒนาการและความชอบธรรม" โดย รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของหน่วยงานนี้ พบว่า กอ.รมน. ยุคใหม่ถูกนำเสนอภาพว่าเป็นการทำงานในลักษณะองค์กรผสม 3 ฝ่าย พลเรือน-ตำรวจ-ทหาร แต่โดยข้อเท็จจริง "ทหารยังมีบทบาทนำพลเรือน" โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนบริหาร มีหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหาร มีนายกฯ เป็น ผอ.รมน. ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็น รอง ผอ.รมน. และเสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็น เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ ลธ.รมน. และมีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งมีทั้งรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงร่วมด้วย จึงถูก ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงและการทหาร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกขานว่า "รัฐบาลคณะน้อย"
2. ส่วนอำนวยการ มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 สำนัก 2 กลุ่มงาน และ 1 ศูนย์
3. ส่วนประสานงาน มีหน้าที่บูรณาการการวางแผนอำนวยการ ประสานงาน และการปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ศูนย์ประสานการปฏิบัติ รับผิดชอบงาน 6 ด้าน ดังนี้
ทั้งนี้ หลังรัฐประหารปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการ "ขยายอำนาจและบทบาท" ของ กอ.รมน. ออกไปอย่างกว้างขวาง ด้วยการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดย "เข้าควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งระบบ" และให้ กอ.รมน. "กำหนดเองว่าสถานการณ์ใดที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัย" ซึ่ง ศ.ดร.สุรชาติชี้ว่าทำให้เกิดสภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ"
2 พฤศจิกายน 2023
บีบีซีไทย
การแสดงจุดยืนอย่างแข็งกร้าวของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่าจะไม่มีการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดประตูความพยายามของพรรคก้าวไกลที่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. "ยุบ กอ.รมน." เข้าสู่ที่ประชุมสภาไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา หรือไม่
หนึ่งในเนื้อหาสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว มีการระบุถึง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการพลเรือน ใน กอ.รมน. ไปเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยแทน จึงทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกวินิจฉัยตีความเป็น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 133 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำรับรอง เพื่อให้มีการพิจารณาต่อในสภาผู้แทนราษฎรได้
ท่าทีต่อเรื่องดังกล่าวของนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนายเศรษฐา โดยบอกผู้สื่อข่าวว่า จะไม่ยุบ กอ.รมน. แต่จะปรับภารกิจ ลดบทบาทและขนาดกำลังพล เพื่อให้สอดรับกับภารกิจใหม่ต่อภัยคุกคามใหม่ เช่น ความขัดแย้งของคนในประเทศ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม และความยากจน เป็นต้น
"ถ้าผู้นำประเทศใช้ กอ.รมน. เป็น กอ.รมน. จะเป็นประโยชน์ ถ้าใช้ไม่เป็นก็คือซ้ำซ้อนอยู่ที่คนใช้งาน อยู่ที่ผู้นำประเทศจะแอดไซน์ (จัดสรร) งานเป็นไหม" นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา
การแสดงจุดยืนอย่างแข็งกร้าวของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่าจะไม่มีการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดประตูความพยายามของพรรคก้าวไกลที่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. "ยุบ กอ.รมน." เข้าสู่ที่ประชุมสภาไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา หรือไม่
หนึ่งในเนื้อหาสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว มีการระบุถึง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการพลเรือน ใน กอ.รมน. ไปเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยแทน จึงทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกวินิจฉัยตีความเป็น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 133 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำรับรอง เพื่อให้มีการพิจารณาต่อในสภาผู้แทนราษฎรได้
ท่าทีต่อเรื่องดังกล่าวของนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนายเศรษฐา โดยบอกผู้สื่อข่าวว่า จะไม่ยุบ กอ.รมน. แต่จะปรับภารกิจ ลดบทบาทและขนาดกำลังพล เพื่อให้สอดรับกับภารกิจใหม่ต่อภัยคุกคามใหม่ เช่น ความขัดแย้งของคนในประเทศ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม และความยากจน เป็นต้น
"ถ้าผู้นำประเทศใช้ กอ.รมน. เป็น กอ.รมน. จะเป็นประโยชน์ ถ้าใช้ไม่เป็นก็คือซ้ำซ้อนอยู่ที่คนใช้งาน อยู่ที่ผู้นำประเทศจะแอดไซน์ (จัดสรร) งานเป็นไหม" นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา
"ถ้าผู้นำประเทศใช้ กอ.รมน. เป็น กอ.รมน. จะเป็นประโยชน์ ถ้าใช้ไม่เป็นก็คือซ้ำซ้อนอยู่ที่คนใช้งาน อยู่ที่ผู้นำประเทศจะแอดไซน์ (จัดสรร) งานเป็นไหม" นายสุทิน คลังแสง กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กอ.รมน. ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานฝ่ายพลเรือนทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และลึกลงไปถึงระดับจังหวัด จนนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่าทำให้เกิดภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ" ขณะที่ใช้งบประมาณในแต่ปีหลายพันล้านบาท
บีบีซีรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นภารกิจ และบทบาท ตลอดจนงบประมาณที่เกี่ยวข้องขององค์กรนี้
เปิดผลงาน-ภารกิจ กอ.รมน. ปี 2565
รายงานการสรุปผลการดำเนินการของ กอ.รมน. ในปี 2565 ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ระบุถึงภารกิจที่ได้ดำเนินการไปแล้วอย่างน้อย 11 หัวข้อ โดยบีบีซีไทยขอยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญมาดังนี้
1. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ โดยขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ/ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น การอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับปราชญ์เพื่อความมั่นคงและศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กอ.รมน. ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานฝ่ายพลเรือนทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และลึกลงไปถึงระดับจังหวัด จนนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่าทำให้เกิดภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ" ขณะที่ใช้งบประมาณในแต่ปีหลายพันล้านบาท
บีบีซีรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นภารกิจ และบทบาท ตลอดจนงบประมาณที่เกี่ยวข้องขององค์กรนี้
เปิดผลงาน-ภารกิจ กอ.รมน. ปี 2565
รายงานการสรุปผลการดำเนินการของ กอ.รมน. ในปี 2565 ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ระบุถึงภารกิจที่ได้ดำเนินการไปแล้วอย่างน้อย 11 หัวข้อ โดยบีบีซีไทยขอยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญมาดังนี้
1. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ โดยขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ/ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น การอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับปราชญ์เพื่อความมั่นคงและศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
กิจกรรมที่ กอ.รมน. มีส่วนร่วมกับภาคส่วนราชการใน จ.นครปฐม
2. การบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการฯ ในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสามารถอายัดทรัพย์สินผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถึง 1.1 หมื่นล้านบาท
3. การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ขยายผลจับกุมขบวนการผู้นำพา 2,626 คน และผู้ลักลอบเข้าเมือง 120,000 คน กำกับและติดตามผลการดำเนินคดี ปกป้องคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายจากขบวนการค้ามนุษย์ให้เข้าถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ และทำให้ยกระดับสถานการณ์เป็นระดับเทียร์สอง
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยจัดตั้งเครือข่ายประชาชนใน 17 จังหวัด
เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. จ.ปราจีนบุรี ร่วมตรวจสถานบันเทิงและร้านอาหาร ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566
5. การแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผลจากการจับกุมของทุกส่วนราชการที่คดีถึงที่สุดแล้วมีมูลค่าถึง 173 ล้านบาท ทำให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาประกาศให้ไทยยังคงอยู่ในสถานะจับตามอง
นอกจากนี้ยังมีภารกิจอื่น ๆ ด้วยที่ระบุในรายงานฉบับนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 3 หน้า ประกอบด้วย การพิทักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของชาติ, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, การพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงและช่วยเหลือประชาชน และการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน เป็นต้น
เวทีเสวนาหัวข้อ "พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่" ที่ จ.ปัตตานี เมื่อ 28 ก.ย. 2562 นำมาสู่การแจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 12 ราย
ส่วนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ว่า “ภาคใต้มีความสงบสุขร่มเย็น” ในรายงานได้เพียงระบุถึงสถิติการก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้น 18.51% ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น 16.7% มีชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคม พหุวัฒนธรรมในระดับตำบล เพิ่มขึ้น 15% และผลการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 2.29%
ทั้งนี้ รายงานนี้ได้ระบุถึงคะแนนที่สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ กอ.รมน. อยู่ในระดับดีมาก คือ 94.75%
11 ปี ใช้งบไปกว่า 1 แสนล้านบาท
ประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณของ กอ.รมน. ก็เป็นหนึ่งในข้อถกเถียงของบรรดานักวิชาการ สื่อมวลชน รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านเช่นกัน
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา เพจคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยงบประมาณของ กอ.รมน. ที่ได้รับการจัดสรรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา (2556-2566) รวมเป็นเงินมากกว่า 100,000 ล้านบาท
บีบีซีไทยตรวจสอบในรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในแต่ละปี กอ.รมน. ได้รับจัดสรรงบประมาณให้เป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท บางปีได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงกว่าหมื่นล้านบาทโดยเฉพาะในช่วงท้ายของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะถูกปรับลดลงมาเรื่อย ๆ ในยุครัฐบาลหลังการเลือกตั้งปี 2562
อย่างในปี 2560 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ กอ.รมน. ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดในรอบ 10 ปี 10,410 ล้านบาท แบ่งเป็น
- แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ 5,222 ล้านบาท
- แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ 3,554 ล้านบาท
- แผนงานบุคลากรภาครัฐ 1,035 ล้านบาท
- แผนงานบูรณาการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ 290 ล้านบาท
- แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 204 ล้านบาท
- แผนงานยุทธศาสตร์อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ 99 ล้านบาท
- แผนงานบูรณาการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ 3.55 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังรายงานฉบับดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดไว้ค่อนข้างกว้าง และตัวชีวัดวัดผลได้ยาก และเสนอว่า กอ.รมน. ควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาที่เป็นภัยคุกคามภายในราชอาณาจักร สำหรับทำแผนการป้องกัน หรือดำเนินการระดับนโยบาย ระยะสั้น กลาง และยาว
ถอดโครงสร้าง "รัฐบาลคณะน้อย"
ปัจจุบันนายเศรษฐา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.)
บีบีซีไทยเคยรายงานข่าวเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2562 โดยสรุปจากบทความเรื่อง "กิจการพลเรือนของทหารในยุคประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง : พัฒนาการและความชอบธรรม" โดย รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของหน่วยงานนี้ พบว่า กอ.รมน. ยุคใหม่ถูกนำเสนอภาพว่าเป็นการทำงานในลักษณะองค์กรผสม 3 ฝ่าย พลเรือน-ตำรวจ-ทหาร แต่โดยข้อเท็จจริง "ทหารยังมีบทบาทนำพลเรือน" โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนบริหาร มีหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหาร มีนายกฯ เป็น ผอ.รมน. ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็น รอง ผอ.รมน. และเสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็น เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ ลธ.รมน. และมีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งมีทั้งรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงร่วมด้วย จึงถูก ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงและการทหาร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกขานว่า "รัฐบาลคณะน้อย"
2. ส่วนอำนวยการ มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 สำนัก 2 กลุ่มงาน และ 1 ศูนย์
3. ส่วนประสานงาน มีหน้าที่บูรณาการการวางแผนอำนวยการ ประสานงาน และการปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ศูนย์ประสานการปฏิบัติ รับผิดชอบงาน 6 ด้าน ดังนี้
- ศูนย์ 1 รับผิดชอบด้านยาเสพติด
- ศูนย์ 2 แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
- ศูนย์ 3 การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
- ศูนย์ 4 ด้านความมั่นคงพิเศษ อาทิ ชาวม้งลาว, การค้ามนุษย์, การฟอกเงิน, บุกรุกป่าไม้, ภัยพิบัติระดับชาติ ฯลฯ
- ศูนย์ 5 ด้านความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ คือจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ศูนย์ 6 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและการส่งเสริมสถาบัน
ทั้งนี้ หลังรัฐประหารปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการ "ขยายอำนาจและบทบาท" ของ กอ.รมน. ออกไปอย่างกว้างขวาง ด้วยการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดย "เข้าควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งระบบ" และให้ กอ.รมน. "กำหนดเองว่าสถานการณ์ใดที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัย" ซึ่ง ศ.ดร.สุรชาติชี้ว่าทำให้เกิดสภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ"
- คลิกอ่านบทความนี้ "จากยุคสงครามเย็น สู่ ไทยแลนด์ 4.0 หน่วยงานความมั่นคงนี้ มีไว้ทำอะไร" เพื่ออ่านที่มาของ กอ.รมน.