เช็กความคืบหน้ากฎหมายสมรสเท่าเทียม จะประกาศใช้เมื่อไหร่
เมื่อ 9 ชั่วโมงที่แล้ว
บีบีซีไทย
อดีตกรรมาธิการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่อยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ยังอยู่ในกรอบเวลา 90 วัน ตามรัฐธรรมนูญ โดยยึดวันที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ในช่วงต้นเดือน ก.ค.
สถานภาพของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หรือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ปรากฏในรายงานสารบบกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ล่าสุดในวันนี้ (19 ก.ย.) อยู่ในสถานะ “ส่งร่าง พ.ร.บ. ให้คณะรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” หลังจากมีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ แชร์ภาพบันทึกหน้าจอของหน้าเว็บไซต์ว่า สถานภาพของร่างกฎหมาย “พ้น 90 วันพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง”
อดีตกรรมาธิการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียม ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่อยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ยังอยู่ในกรอบเวลา 90 วัน ตามรัฐธรรมนูญ โดยยึดวันที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ในช่วงต้นเดือน ก.ค.
สถานภาพของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หรือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ปรากฏในรายงานสารบบกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ล่าสุดในวันนี้ (19 ก.ย.) อยู่ในสถานะ “ส่งร่าง พ.ร.บ. ให้คณะรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย” หลังจากมีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ แชร์ภาพบันทึกหน้าจอของหน้าเว็บไซต์ว่า สถานภาพของร่างกฎหมาย “พ้น 90 วันพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง”
นัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎร กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ข้อมูลที่มีผู้ส่งต่อกันอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะตามขั้นตอนมีหนังสือที่แจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดที่นายกฯ กราบบังคมทูล ร่างกฎหมาย ไปเมื่อวันที่ 2 ก.ค. และหากนับในวันที่ 2 ก.ค. ก็ยังอยู่ในกระบวนการ 90 วัน จึงน่าจะเป็นความเข้าใจผิดของผู้ที่เผยแพร่ข้อมูล
“กฎหมายที่จะ (โปรดเกล้าฯ) ลงมาในไทม์ไลน์นี้ มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ ๆ ยืนยันว่ายังอยู่ในไทม์ไลน์” นัยนาบอก “แม้กฎหมายที่จะไม่ลงมาก็เคยมีอยู่ แต่ไม่ใช่กฎหมายลักษณะแบบนี้ที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน” นัยนากล่าว
บีบีซีไทยเข้าใจว่า สถานภาพที่ปรากฏอยู่บนระบบสารสนเทศของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร น่าจะเป็นความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ขณะเดียวกัน บีบีซีไทยยังอยู่ระหว่างติดต่อขอคำชี้แจงจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอคำชี้แจง
https://www.bbc.com/thai/articles/cz7jqllx7j4o