Thapanee Eadsrichai
19 hours ago
·
ต้องยกระดับการฟื้นฟูแม่สาย-เชียงราย
เหมือนฟื้นฟูสึนามิ และต้องเร่งด่วน
กลับมาแม่สาย-เชียงราย หลังจากน้ำลดผ่านมา 6 วัน
ยังเห็นสภาพความเสียหายที่เรียกได้ว่า ล่มสลายทั้งเมือง
ไม่เพียงพื้นที่ที่น้ำท่วม บ้านเรือนยังเต็มไปด้วยดินโคลน
แต่ทั้งเมืองยังเต็มไปด้วยฝุ่น และ ซากปรักหักพัง
อย่างที่ได้เสนอในข่าวไแล้ว
ในเมืองเชียงราย ภาพข่าวไม่ได้ปรากฏไปมากเท่าแม่สาย
แต่ชุมชนริมแม่น้ำกก ในตัวเมืองเชียงราย เสียหายหนักมาก
เช่นที่ ชุมชนเกาะลอย เขตเทศบาลเมืองเชียงราย
สภาพเหมือนถูกน้ำป่าซัดกระหน่ำไม่ต่างจากแม่สาย
บ้านเรือนยังจมกองโคลน และขยะเต็มเมือง
การจัดการขยะ และล้างเมือง
น่าจะเกินศักยภาพของเทศบาล
ต้องระดมกำลังอุปกรณ์มาช่วยกู้เมืองโดยเร็ว
เพราะทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยฝุ่นโคลนด้วย
ไม่นับรวมถึงถนน บ้านเรือนที่พังเสียหาย
หลังจากทำความสะอาดแล้วต้องซ่อมแซมกันหนัก
ส่วนแม่สาย ก็หนักกว่า
เพราะสภาพหลายหมู่บ้านที่จมดินโคลนกว่า 2 เมตร
กว่าจะกู้โคลนออกหมด ก็เกินกว่าชาวบ้านจะทำกันเอง
มีกำลังทหาร ตำรวจ กู้ภัย จิตอาสามาช่วยกัน
แต่พื้นที่เสียหายมีมาก
รถตักโคลน ขนดินเข้ามาแล้ว
มีการขนออกไปทิ้งตามจุดต่างๆ
ระหว่างเห็นรถขนดินบรรทุกไปตามถนน
ดินโคลนที่ตกลงมาบนถนนก็กลายเป็นฝุ่นทั้งเมือง
พอข้ามไปฝั่งท่าขี้เหล็กเพื่อนบ้านในเมียนมา
ก็เสียหายหนักเช่นเดียวกัน
ในฝั่งเมียนมา ก็มีแต่ดินโคลน
มันเป็นความเสียหายข้ามพรมแดน
อ.แม่สาย เป็นเมืองการค้าชายแดน
พี่ติ๋ม ประธานหอการค้าแม่สาย
บอกว่าความเสียหายน่าจะไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท
ไม่น่าจะเกินเลยไปจากนี้
เอาแค่ในแม่สาย ไม่น่าจะต่ำกว่า 3 พันล้านบาท
ส่วนท่าขี้เหล็กก็ประมาณน้ำ
เมื่อคิดถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ที่สร้างเงินปีละ 5 หมื่นล้านบาท
การฟื้นฟูที่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือน
กว่าจะฟื้นตัว ความเสียหายนี้ไม่เกินเลยไปหรอก
มีเสียงสะท้อนจากหลายภาคส่วนว่า
จนถึงเวลานี้ รัฐบาลต้องทำอะไรมากกว่านี้
ควรตั้งวอร์รูมมาวางแผนฟื้นฟู
เช่นประกาศว่า ใน 1 สัปดาห์จากนี้ต้องกู้เมืองให้สำเร็จ
ควรจัดโซนนิ่ง แบ่งงานกันให้ชัดเจน
ระดมกำลังหลายภาคส่วน แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ
เพราะมีหลายหมู่บ้าน ต้องรีบกู้จริงๆ
หลังทำความสะอาด ถนน ขยะ ล้างบ้านแล้ว
จากนั้น ต้องวางแผนในการช่วยซ่อมแซมบ้าน
ขณะเดียวกันต้องมีศูนย์ช่วยเหลือร้านค้า
ผู้ประกอบการต่างๆหมดตัว
จะมีช่องทางเงินกู้เร่งด่วนให้พวกเขาไหม
จริงๆเรื่องเหล่านี้ทำง่ายและเร็วมาก
เสียงสะท้อนจากในพื้นที่ยังมีหลากหลาย
แม้แต่เรื่องง่ายๆ เช่นการสนับสนุนองค์กรต่างๆ
ที่มาฟื้นฟูช่วยเหลือ
เช่นการควบคุมราคาเครื่องบิน
ไม่ให้ราคาสูงเกินเหตุ
ในยามที่ผู้คนเดือดร้อนลดราคาลงบ้างก็ดี
ให้กำลังใจทุกคนค่ะ
น้ำใจคนไทยโคตรจะยิ่งใหญ่ในทุกยาม
แต่เราจะจัดการปัญหาอย่างไร
บางเรื่องมันก็เกินอำนาจประชาชนคนธรรมดา
บ่นไปเรื่อยค่ะ
#บันทึกนักข่าว
เห็นพี่กูบ่นมาหลายวันแล้วเลยมาช่วยมันบ่นหน่อย
555 Paskorn Jumlongrach
ติดตามสรุปข่าวเหล่านี้ที่ The Reporters
.....
.....
Kidnukorn Suebsakun
22 hours ago
·
ทำไมเราต้องจัดการขยะในเวลากลางคืน
รูปนี้เป็นเวลา 22.32 น. ของวันที่ 20 กันยายน 2567 นับเป็นวันที่ 10 ของเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ตัวเมืองเชียงราย โดยมีปัญหากองขยะจำนวนมากที่ยังคงค้างให้จัดการ ผมเสนอเอาไว้ว่าในการ #ล้างบ้านฟื้นฟูชุมชนและเมืองเชียงราย ต้องทำทั้งกลางวันและกลางคืน หรือที่เรียกว่า 24 Hours Chiang Rai Big Cleaning ทั้งนี้การจัดการขยะน้ำท่วมควรทำในเวลากลางคืน ซึ่งผมมีแนวคิดสำคัญการทำงานคือ Flow โดยมีคำอธิบายสนับสนุนดังนี้
ผมพบว่าเวลากลางวันการตักและขนขยะออกไปจากชุมชนทำได้ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังคงมีช่องว่างในทางปฏิบัตินั่นคือเราต้องปิดกั้นถนนช่วงที่มีการทำงานของรถตักขนาดใหญ่และรถบรรทุก 6 ล้อหลายคัน ทำให้ต้องมีการปิดเส้นทางการจราจรในช่วงที่มีการตักและขนขยะ ส่งผลถึงการเดินทางสัญจรและส่งต่อความช่วยเหลือในชุมชนติดขัดตามไปด้วย
นอกจากนี้บรรดารถตักและขนขยะทั้งหมดทำงานในเวลากลางวัน ตามระบบเวลาทำงานปกติ เช่น เข้า 8 โมงเช้า ออก 4 โมงเย็นเป็นต้น แต่เมื่อถึงเวลากลางคืนแน่นอนว่าเป็นเวลพักผ่อน ผมพบว่าชาวชุมชนเกาะลอยจำนวนไม่น้อยได้ออกไปพักข้างนอก เนื่องจากไม่สามารถนอนในตัวบ้านที่เสียหาได้ ดังนั้นเวลากลางคืนจึงมีความเหมาะสมในการทำงานเก็บขยะ เนื่องจากเสียงดังจากรถถึงแม้จะดังแต่ก็ยังรบกวนผู้คนน้อยตามไปด้วย
อีกเห็นผลประการหนึ่งซึ่งเป็นข้อดีคือเมื่อประชชนตื่นขึ้นมาหรือเดินทางกลับเข้ามาในชุมชนในตอนเช้าของวันใหม่ สิ่งพวกเขาได้พบเห็นคือถนนหน้าบ้านหรือซอยโล่ง สะอาดผิดจากวันก่อนมากขึ้น ถึงแม้มันจะไม่สะอาดเอี่ยมอ่องเหมือนก่อนน้ำท่วม แต่มันทำให้พวกเขารู้สึกเบาใจและเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความรู้สึก Flow มากขึ้น
ดั้งนั้นเหตุผลข้างต้นที่ผมกล่าวมาจึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ผมร่วมมือกับชุมชนและผู้สนับสนุนทำการจัดการขยะน้ำท่วมในเวลากลางคืนครับ
ปล.รูปข้างล่างถ่ายเมื่อเวลา 6.42 น. วันที่ 21 กันยายน 2567 ที่ไม่มีขยะแล้ว