วันอาทิตย์, กันยายน 08, 2567

พระนางมารีย์ อ็องตัวเนตต์ จากออสเตรียถึงสยาม น่าสนใจอยู่เหมือนกันที่มหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 26 เริ่มต้นเทศกาลโดย “บัลเลต์สมัยใหม่สะท้อนชีวิตในพระราชวังแวร์ซายของพระนางมารีย์ อ็องตัวเนตต์” งานศิลปะหลายชิ้นชวนให้ผู้ชมรู้สึกสยดสยอง อยากรู้เหมือนกัน ว่าจะมีใครได้เรียนรู้อะไรจากพระนางบ้าง


Suddan Wisudthiluck is at ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย|Thailand Cultural Center.
6 hours ago
· Bangkok, Thailand ·

พระนางมารีย์ อ็องตัวเนตต์ จากออสเตรียถึงสยาม
น่าสนใจอยู่เหมือนกันที่มหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 26 เริ่มต้นเทศกาลโดย “บัลเลต์สมัยใหม่สะท้อนชีวิตในพระราชวังแวร์ซายของพระนางมารีย์ อ็องตัวเนตต์” ซึ่งบรรเลงดนตรีสดโดยวงออร์เคสตราส่งตรงมาจากแวร์ซาย
https://youtu.be/8lSgtI1wGRs?feature=shared
แน่นอนว่าพิธีเปิดโอลิมปิกที่ปารีส ที่ทำให้คนทั้งโลกหันมาให้ความสนใจกับชีวิตของพระนางกันอีกหน- นับว่ามหกรรมฯ เริ่มต้นดีทีเดียว
แปลกใจเหมือนกันที่งานวันนี้คนเกือบเต็มหอประชุม และประหลาดใจอยู่บ้างที่มีราชวงศ์เสด็จมาร่วมชมด้วย
ในแง่การแสดง ต้องนับว่าสมกับเป็นการเปิดเทศกาล ทั้งฉาก ผู้แสดงและดนตรี
เปิดมาด้วยฉากแต่งงานวัยเด็กของพระนาง ด้วยความสดใส ก่อนที่จะดำเนินเรื่องไปสู่ความหรูหรา และปิดท้ายลงด้วยความหายนะตามสูตร
แน่นอนว่า ช่วงความฟุ้งเฟ้อโอ่อ่าที่ดูน่าตื่นใจในตอนแรก เมื่อบ่อยครั้งยืดยาวก็ชวนให้ง่วงนอน แต่เมื่อฉากเปลี่ยนเป็นสีดำในฉับพลัน ก็ทำให้ผู้ชมตาสว่าง
ท่วงท่าและทิศทางการเต้นดูตื่นใจ หวาดกลัว ทุรนทุราย และปิดท้ายด้วยแสงส้มสีหมากสุกสาดลงมา ขณะที่พระนางยืนนิ่งขึงเงยพระพักตร์ขึ้นรับแสงที่ส่องลงมาจากเบื้องบนนั้น ต้องนับเป็นฉากจบที่กินใจ
ก่อนมาดูบัลเลต์เรื่องราวชีวิตของราชินีผู้โด่งดังในอดีต เลยคว้าหนังสือประกอบนิทรรศการ มารีย์ อ็องตัวเนตต์ ภาพลักษณ์อันผันเปลี่ยน (Marie Antoinette Métamorphoses d’unme Image) ที่จัดขึ้นเมื่อปลายปี 2019 ณ กองเซียจเจอรี หรือสถานที่คุมขังพระนางก่อนนำไปประหารด้วยกิโยติน (ขอขอบคุณท่านที่กรุณาแบกหนังสือข้ามฟ้ามาให้)
พบว่าภาพลักษณ์ของพระนางผันแปรไปอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่นความเป็นหญิงต่างชาติ ราชินีแสนสวย นางมารร้าย ไปจนถึงสตรีที่เป็นเหยื่อของประวัติศาสตร์และยังคงได้รับความสนใจจากผู้คนที่หลากหลายมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพของพระนางยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้กับงานวิชาการ งานศิลปะ ไปจนถึงการ์ตูนมังงะญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรือนร่างของพระนาง นับตั้งแต่ศรีษะ ทรวงอก ไปจนถึงอื่นๆ
บางทีเราก็เห็นภาพนกกระจอกเทศเป็นตัวแทนถึงพระนางด้วย (พระนางเป็นคนออสเตรีย-Autrichienne ออกเสียงคล้ายๆ กับคำนกกระจอกเทศในภาษาฝรั่งเศส(Autruche) ) งานศิลปะบางชิ้นจึงใช้ขนนกกระจอกเทศเป็นส่วนประกอบของงาน
น่าสนใจว่างานศิลปะหลายชิ้นชวนให้ผู้ชมรู้สึกสยดสยอง อยากรู้เหมือนกัน ว่าจะมีใครได้เรียนรู้อะไรจากพระนางบ้าง
ประมูลเครื่องเพชร มารี อองตัวเนต
https://www.facebook.com/share/v/RzUJLmjGBeiuRQpx/?mibextid=YpDZO8