The Momentum
13 hours ago
·
“เลี้ยงกุ้งขาวกับกุ้งกุลาดำ เดือนหนึ่งจับได้ 2 ครั้ง เอาไปขายครั้งหนึ่งก็ได้เงินมาประมาณ 2-3 หมื่นบาท รวมๆ มีรายได้เดือนละ 5-6 หมื่นบาท ขนาดว่าเรามีที่ดินน้อยนะ บ้านไหนมีที่ดินทำบ่อประมงเยอะ ผ่านไปแค่คืนหนึ่งเขาก็ได้ 5-6 พันกว่าบาทแล้ว สมัยนั้นไม่ต้องกลัวเรื่องเงินหรอก คนเดินกันบนกลางทุ่งกลางนาเขากำเงินกันเป็นฟ่อนๆ
.
“ตอนไม่มีปลาหมอคางดำเราไม่ต้องกังวลอะไร ตื่นเช้าขึ้นมายังไงก็ได้เงิน
.
“กุ้งที่เราซื้อมา 3 แสนตัว หมดเงินไป 3.5 หมื่นบาท ปล่อยมาแล้ว 3 ปี 3 งวด เหลือขายได้เงินไม่ถึง 2 พันบาท เราก็ดูคนอื่น ถ้าเขาลงกุ้งแล้วได้กุ้ง เราก็ลองลงกุ้งแก้ตัวใหม่อีกรอบ ตอนนั้นมีเงินอยู่ 3-4 แสน เอาไปลงกับกุ้งหมด เหมือนคนทำนา งวดนี้ข้าวไม่ดีงวดหน้าเอาเงินไปลงใหม่ แต่กับเรา ทำไปทำมาไม่ได้กุ้งเลยสักตัว สุดท้ายเลยเลิกทำ
.
“ผมอยู่กัน 2 คน มีตากับยายและหลานมาอยู่ด้วยอีกคน พอเขามาอยู่ด้วยเราก็ต้องส่งเสียเขา ทั้งส่งเขาให้ได้ไปโรงเรียน จ่ายค่ารถ ค่าน้ำมัน ส่วนเราก็ต้องหาเงินมารับผิดชอบเขา
.
“ตอนเช้าไม่ค่อยร้อนเราก็ออกมาเดินเก็บ บางวันเดินๆ อยู่ข้างถนนแต่ไม่เจอเลยขวดสักขวด เราไม่ทันพวกรถซาเล้ง รถจักรยานที่เขามาเก็บกันแต่เช้า วันไหนคนกินแล้วทิ้งกันน้อยเราก็ได้น้อย หากกินมากเราก็ได้มาก ส่วนตัวไม่ได้คิดอะไรหรอก เขาทิ้งไปแล้วก็จริง แต่เรายังเห็นเป็นเงินก็เก็บมาสะสมไว้ อวนที่ไม่ได้ใช้ก็เอาล้อมขวดไป จะทำอย่างไรได้ อาชีพประมงของเรามันหายไปแล้ว”
.
“เอาปลาหมอคางดำมาปล่อยแล้วมาเอามันคืนไปเถอะ คนอย่างเราจะได้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง คนอื่นเขาผูกคอตายไปก็มี เพราะเป็นหนี้เป็นสินเขา มันก็เกิดจากปลาหมอคางดำนี่แหละ”
.
อ่านบทความ ขายบ้าน จำนองที่ สิ้นอาชีพประมง คำถามถึงรัฐ ทำไมไม่ประกาศพื้นที่ ‘ภัยพิบัติ’ เสียที หลังปลาหมอคางดำระบาดนานนับ 10 ปี ได้ทาง https://themomentum.co/feature-sarotherodon-melanotheron.../
.
เรื่อง: พิพัฒน์พงษ์ ศรีวิชัย
ภาพ: ธนดิษ ศรียานงค์